รองพ่อเมืองศรีสะเกษ นำทัพ พช. ผนึกกำลัง “บวร” จัดกิจกรรมจิตอาสาเอามื้อสามัคคี ณ วัดพานทา อ.เมืองศรีสะเกษ

วันที่ 22 มกราคม 2565 เวลา 09.00 น. ณ แปลงพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” วัดพานทา หมู่ที่ 8 ตำบลโพธิ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ รองพ่อเมืองศรีสะเกษ นำทัพ พช. ผนึกกำลัง “บวร” จัดกิจกรรมจิตอาสาเอามื้อสามัคคี ณ วัดพานทา อ.เมืองศรีสะเกษ สนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบฯ โคก หนอง นา ใช้หลัก“พึ่งตน พึ่งธรรม” เป็นฐานของการพัฒนา มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันให้ทุกครัวเรือน ปรับตัวให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข มีอาชีพ สร้างรายได้ ท่ามกลางวิกฤติ Covid-19

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ มอบหมายให้ นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานกิจกรรมจิตอาสาเอามื้อสามัคคีโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” โดยมี นายจักรพงษ์ แสนสุข อัยการศาลสูงสุดจังหวัดศรีสะเกษ สอ.สิทธิศักดิ์ ดวงศรี ผู้แทนกองพันปฏิบัติการพิเศษรักษาพระองค์ จังหวัดลพบุรี นายธนกร หลอมทอง หัวหน้าฝ่ายสาธารณูปโภคเทศบาลเมืองศรีสะเกษพระอธิการกัญจน์ กนฺตธมฺโม, ดร. เจ้าอาวาสวัดพานทา อาจารย์สมผล รัตนวรรณ มรรคทายกวัดพานทา คุณชญาดา รักษาสิทธิ์ ผู้ริเริ่มโครงการ พร้อมผู้มีจิตศรัทธาสมทบทุนการทำโคกหนองนา พระสงฆ์และบุคลากรวัดพานทา ประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเอามื้อสามัคคี ร่วมปลูกต้นไม้ คลุมฟางห่มดิน ปุ๋ยหมักแห้ง น้ำหมักรสจืด ปลูกผักสวนครัว หญ้าแฝก ไม้ผล ไม้ยืนต้น คลุมฟางห่มดิน และพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณรอบพื้นที่ ณ วัดพานทา หมู่ที่ 8 ตำบลโพธิ์ อ.เมือง จังหวัดศรีสะเกษ

ในการนี้ นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ นำทีม ผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ พัฒนาการอำเภอฯ นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน เครือข่ายผู้นำอช. ร่วมกิจกรรมจิตอาสาเอามื้อสามัคคีฯ ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยเครือข่ายผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ได้สนับสนุนพันธุ์ไม้เพื่อพัฒนาเป็นฐานเรียนรู้ ป่า 5 ระดับ จำนวนกว่า 1,000 ต้น ประกอบด้วย มะม่วง มะพร้าวน้ำหอม ขนุน มะไฟ โกโก้ ฝรั่ง หมาก มะกรูด มะนาว ส้มเขียวหวาน มะยม ตะลิงปิง ชมพู่ สะเดา ไผ่ มะขามเทศ ต้นลำดวน ต้นพิกุลทอง ต้นมะแข่วน มะม่วงหาวมะนาวโห่ ต้นยอ ดีปลากั้ง ต้นผักติ้ว มะดัน แคขาว มัลเบอร์รี่ หวาย ย่านางแดง ทับทิม ละมุด ส้มโอ เป็นต้น และได้ร่วมกันวางแผนในการในระยะสั้น ระยะยาว เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ตามหลัก “บวร” หรือบ้าน วัด โรงเรียน ราชการ เป็นแหล่งเรียนรู้แนวทางการทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืนต่อไป

โอกาสนี้ นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้กล่าวพบปะและชื่นชมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ของจังหวัดศรีสะเกษ และมอบนโยบายแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่า การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน ตามกลไกการขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิรูปประเทศ โดยใช้หมู่บ้าน เป็นฐานของการพัฒนา มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันให้ทุกครัวเรือน และพัฒนาคนให้มีความรู้ และปรับตัวให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข มีอาชีพ สร้างรายได้ ท่ามกลางวิกฤตโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยการจัดทำโครงการที่ประยุกต์การใช้ศาสตร์พระราชาและน้อมนำเอาแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 40 ทฤษฎี ที่ทรงพระราชทานไว้ให้ในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์กับแนวคิดการพัฒนาพื้นที่และการออกแบบ เชิงภูมิสังคมไทยเพื่อการพึ่งตนเองและรองรับภัยพิบัติ ในรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” จึงเป็นทางรอดที่สำคัญที่พี่น้องชาวจังหวัดศรีสะเกษควรน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ซึ่งต่อยอดความสำเร็จไปสู่โครงการขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ที่มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เชื่อมโยงกับวาระแห่งชาติเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) หรือ BCG ทั้งในด้านการเกษตร การแปรรูป และการท่องเที่ยว ตามแต่ละบริบทของพื้นที่ โดยมีภาครัฐช่วยลงทุน ผู้เข้าร่วมโครงการมีหน้าที่ลงแรง และภาควิชาการ มีหน้าที่ลงความรู้และสนับสนุนการดำเนินงาน โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย เพราะฉะนั้นการประสานความร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชน ร่วมสืบสาน รักษา ต่อยอด และน้อมนำแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 สู่ยุคของในหลวงรัชกาลที่ 10

ด้าน นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษร่วมกับเครือข่ายผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมประชุมหารือแนวทางในการสนับสนุนและขับเคลื่อนโครงการพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ตามหลัก “บวร” หรือบ้าน วัด โรงเรียน ราชการ ดำเนินการปรับพื้นที่ตามแบบมาตรฐาน “โคก หนอง นา โมเดล” ซึ่งเป็นแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน “พึ่งตน พึ่งธรรม” วัดพานทา จังหวัดศรีสะเกษ จากความร่วมมือในการออกแบบพื้นที่และควบคุมโครงการ จากคุณรังสิมา ศิริพันธ์ ครูพาทำศูนย์กสิกรรมธรรมชาติกำแพงเพชร และครูพาทำจากกองพันปฏิบัติการพิเศษรักษาพระองค์ ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

กิจกรรมเอามื้อสามัคคีในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมสำคัญเพื่อต่อยอดการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ในการสร้างความสมบูรณ์ของแปลง/พื้นที่ต้นแบบ ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ เลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช มีลักษณะเช่นเดียวกับการลงแขก เป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน ให้ทุกคนได้ใช้หลักการทำงานแบบคนจน (เอาแรง เอาใจ มาช่วยเหลือกัน) มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และทำกิจกรรมร่วมกันในพื้นที่แปลงครัวเรือนต้นแบบ ขอขอบคุณ ผู้แทนจากกองพันปฏิบัติการพิเศษรักษาพระองค์ จังหวัดลพบุรี คุณรังสิมา ศิริพันธ์ อาจารย์ประจำโรงเรียนจิตอาสา 904 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ กรุงเทพมหานคร พัฒนาการอำเภอฯ นายกเทศมนตรีเมืองศรีสะเกษ ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ รวมไปถึงทุกภาคส่วน ที่ได้มีส่วนร่วมกันขับเคลื่อนให้การดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” วัดพานทา จังหวัดศรีสะเกษ บรรลุวัตถุประสงค์

ซึ่ง คุณรังสิมา ศิริพันธ์ ครูพาทำศูนย์กสิกรรมธรรมชาติกำแพงเพชร ได้อธิบายหลักการออกแบบพื้นที่ แปลงวัดพานทา ว่า เนื่องจากวัดพานทาเป็นศูนย์เรียนรู้ของคนในชุมชน จากการร่วมประชุมหารือแนวทางการออกแบบพื้นที่ สิ่งแรกที่นึกถึงคือ บทพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก หนึ่งในงานพระราชนิพนธ์ของ “ในหลวง” รัชกาลที่ 9 แนวคิดสำคัญของเรื่องคือ มุ่งสอนให้ผู้อ่านตระหนักถึงความเพียรเพื่อที่จะฝ่าฝันทุกอุปสรรคให้ผ่านพ้นให้เป็นเครื่องเตือนใจประชาชน เข้าถึงจิตใจผู้คน เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจประชาชนผู้มีจิตศรัทธา ให้เกิดความคิดในทางสร้างสรรค์ ถึงความเพียรเพื่อที่จะฝ่าฟันทุกอุปสรรคให้ผ่านพ้น และก่อให้เกิดสัมมาทัศนะในการดำเนินชีวิต ในทิศทางการพัฒนาประเทศ ทางวัดออกแบบ “หนอง” และมีน้ำตก ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความสวยงาม ยังเป็นการเติมอากาศให้กับน้ำ ที่จะดึงน้ำจาก “หนอง” ขึ้น “โคก” ผ่านน้ำตก โดยน้ำตกจะไหลไปตามคลองไส้ไก่ เป็นการพักน้ำตากแดด และเติมจุลินทรีย์ให้กับน้ำ น้ำตก 7 ชั้น มีนัยยะสำคัญ คือให้นึกถึงความเพียรพยายามของพระมหาชนกทรงว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรอยู่ 7 วัน ที่ต้องการให้คนที่เข้ามาศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ นึกถึง ส่วน “โคก” ทุกคนต้องมีเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐานก่อน (พออยู่ พอใช้ พอร่มเย็น) เมื่อสำเร็จขั้นพื้นฐานแล้วค่อยก้าวสู่ ขั้นก้าวหน้า ตามหลักบันได 9 ขั้น

ด้าน พระอธิการกัญจน์ กนฺตธมฺโม, ดร. เจ้าอาวาสวัดพานทา ได้กล่าวอำนวยอวยพรและแสดงการขอบคุณรองผู้ว่าราชการจังหวัด พัฒนาการจังหวัด รวมไปถึงที่ภาคีเครือข่ายในจังหวัศรีสะเกษ ที่ได้ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนมาโดยตลอดตามหลัก “บวร” นอกจากนั้นยังได้นำคณะฯ เยี่ยมชมพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ภายในวัดพานทา ทั้งนี้ ได้ปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด

พัฒนาชุมชนศรีสะเกษ : นครแห่งความสุข
กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน : รายงาน
#WorldSoilDay
#GlobalSoilPartnership
#CDD
#SEPtoSDGs
#SDGforAll@Kmitl
#กรมการพัฒนาชุมชน
#UNFAO
#Change for Good