+ ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีมีฝนตกหนักบริเวณ จ.ตราด (49 มม.) จ.พิษณุโลก (48 มม.) และ จ.ระยอง (46 มม.)
+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 35,120 ล้าน ลบ.ม. (61%) ขนาดใหญ่ 28,169 ล้าน ลบ.ม. (59%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง (เขื่อนแม่กวงฯ แม่งัด ภูมิพล แม่จาง และ สิริกิติ์)
+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน และแม่กลอง ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
+ พื้นที่เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำและพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง บริเวณภาคกลาง กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส
+ กอนช.ติดตามการบริหารจัดการน้ำโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่
กรมชลประทาน ได้ดำเนินโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธารา ซึ่งเป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่จ.เชียงใหม่และจ.ลำพูน ตามนโยบายของรัฐบาล โดยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)
โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ เป็นการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำช่วงที่ 1 จากลำน้ำแม่แตงไปเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล และก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำช่วงที่ 2 จากอ่างเก็บน้ำแม่งัดฯ ไปลงอ่างเก็บน้ำแม่กวงฯ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำแม่กวงฯ ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น อยู่ในเกณฑ์เพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้น้ำด้านท้ายตลอดทั้งปี โดยปริมาณน้ำที่ผันไปจากลำน้ำแม่แตงจะเป็นปริมาณน้ำส่วนเกินในช่วงฤดูฝน ที่มักจะก่อให้เกิดน้ำท่วมการนำน้ำส่วนเกินดังกล่าวไปใช้ ช่วยลดปัญหาน้ำท่วมในเขตเมืองเชียงใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ปัจจุบันการก่อสร้างโครงการฯมีความคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 66 หากก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งโครงการฯ จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำแม่กวงฯ ได้เฉลี่ยปีละประมาณ 160 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจะเป็นน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตร อุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม และรักษาระบบนิเวศในลุ่มน้ำกวง ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่โดยรอบนำไปสู่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน