วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๑.๐๐ น. เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (นายธสรณ์อัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์) พร้อมด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ สคบ. และสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายทองรูปพรรณ โดยมีนายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ ร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจำหน่ายทองรูปพรรณ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อทองในช่วงเทศกาลตรุษจีน บริเวณถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
นายธสรณ์อัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่าสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายทองรูปพรรณในการจัดทำฉลากของสินค้าประเภททองรูปพรรณให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอต่อการตัดสินใจซื้อทองรูปพรรณและเป็นการเฝ้าระวังการเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ จากการลงพื้นที่ได้มีการตรวจสอบร้านจำหน่ายทองรูปพรรณกว่า ๓๐ ร้าน พบว่าผู้ประกอบธุรกิจทั้งหมดได้ดำเนินการจัดทำฉลากทองรูปพรรณถูกต้องครบถ้วนตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก โดยในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปีประชาชนผู้บริโภคส่วนมากจะนิยมซื้อสินค้าประเภททองรูปพรรณจากร้านทองต่าง ๆ ซึ่งสินค้า ดังกล่าวจะต้องจัดทำฉลากให้ถูกต้องตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๔๔) เรื่องให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ ๒) โดยต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสินค้า ชื่อที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจ ปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณ น้ำหนักทองรูปพรรณ ค่าแรง หรือค่ากำเหน็จ ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณตามที่สมาคมค้าทองคำกำหนด
ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจไม่แสดงฉลากหรือการแสดงฉลากไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจหรือพบว่าทองรูปพรรณไม่มีการจัดทำฉลากหรือมีการจัดทำฉลากแต่ฉลากสินค้านั้นไม่ถูกต้อง สามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสไปยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคผ่านช่องทางต่าง ๆ หรือโทรสายด่วน สคบ.๑๑๖๖ ทางเว็บไซต์ www.ocpb.go.th และระบบร้องทุกข์ผู้บริโภค (OCPB Complaint