ดนตรีกับความเจ็บป่วย

ดนตรีสามารถเบี่ยงเบนความสนใจจากผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดให้รู้สึกเจ็บปวดลดลง  ทนต่อความเจ็บปวดได้มาก วิตกกังวลและกลัวลดลง ใช้ยาน้อยลง  และสร้างแรงจูงใจในการเคลื่อนไหวได้  ในการบำบัดผู้ป่วยด้วยดนตรีนั้น  ควรทำตามขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการผ่อนคลาย  ดังนี้

1.ดูความพร้อมและความต้องการใช้ดนตรีบำบัด

2.สำรวจประสบการณ์ดนตรี  ได้แก่ ความสามารถทางดนตรี  แนวเพลงที่ชอบ เครื่องดนตรีที่คุ้นเคย ฯลฯ

3.เข้าสู่กระบวนการดนตรีบำบัด  แนะนำว่าควรฟังในเวลาที่ยาลดความเจ็บปวดกำลังออกฤทธิ์  และใช้เทคนิคผ่อนคลายร่วมกัน

  • ผู้ป่วยแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสบาย ไม่อึดอัด
  • จัดผู้ป่วยในท่าที่สบายที่สุด เจ็บปวดน้อยที่สุด ใช้หมอน ผ้าห่ม ช่วยพยุงปรับท่า
  • เลือกห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิเย็นสบาย ไม่มีเสียงรบกวน สะอาด แสงสีเย็นตา
  • ใช้เครื่องเสียงคุณภาพที่ใช้ได้ด้วยตนเองตามเวลาที่สะดวก

4.เลือกเพลงที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

  • เพลงบรรเลงที่ไม่มีเนื้อร้อง
  • เพลงที่มีเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงนก  น้ำตก ฯลฯ
  • จังหวะช้า มั่นคง  สม่ำเสมอ ขนาดช้าถึงปานกลางประมาณ 70-80 ครั้ง/นาที
  • ทำนองราบเรียบ นุ่มนวล ผ่อนคลายสดชื่น
  • ระดับเสียงปานกลาง-ต่ำ ไม่ควรเปิดดังมาก เพราะความดังของเสียง อาจไปกระตุ้นความเจ็บปวดให้เพิ่มมากขึ้นด้วย
  • ดนตรีที่นิยมใช้ เช่น พิณ เปียโน กีต้าร์ วงออร์เคสตร้า แจ๊ส  ป๊อป  คลาสสิค  เป็นต้น
  • ดนตรีที่ผู้ป่วยมีส่วนในการเลือก คุ้นเคย และชอบ

5.ประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วยก่อน-หลังทำ

6.ถ้ามีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือดูแล สอน ให้คำแนะนำ  ให้กำลังใจผู้ป่วย  ขณะที่ใช้วิธีดนตรีบำบัดร่วมกับเทคนิคการผ่อนคลายจะยิ่งได้ผลดี

***********************************************

ขอขอบคุณที่มา : https://www.thaihealth.or.th/