+ ประเทศไทยตอนบน อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.นครศรีธรรมราช (42 มม.) จ.สุราษฎร์ธานี (33 มม.) และ จ.ชุมพร (25 มม.)
+ เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ในช่วงวันที่ 9 -10 ม.ค. 65 ขอให้ติดตามและป้องกันผลกระทบจากระดับน้ำทะเลหนุนสูง ประมาณ 1.8 – 2.0 ม.รทก. ในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้าและบริเวณใกล้เคียง
+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 36,698 ล้าน ลบ.ม. (63%) ขนาดใหญ่ 29,520 ล้าน ลบ.ม. (62%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง (เขื่อนแม่กวงฯ แม่งัด ภูมิพล แม่จาง และ สิริกิติ์)
+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ค่าความเค็มบริเวณ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่กลอง ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนปริมาณออกซิเจนละลายน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
+ กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำ ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2564/65 ณ วันที่ 8 ม.ค. 65 ดังนี้
– แหล่งน้ำทุกขนาดทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวม 60,756 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 74 ของความจุ ปริมาณน้ำใช้การ 36,610 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 63 ของความจุใช้การ
– อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีปริมาณน้ำ 53,164 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 74 ปริมาณน้ำใช้การ 29,438 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 62 มากกว่าปี 2564 จำนวน 9,964 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 26.57 ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย 90.23 ล้าน ลบ.ม.
– 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) มีปริมาณน้ำรวม 13,858 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 56 ปริมาณน้ำใช้การ 7,162 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 39
– ผลการจัดสรรน้ำทั้งประเทศ ในช่วงฤดูแล้ง (อ่างฯ ใหญ่และอ่างฯ กลาง) ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.64 ถึงปัจจุบัน ใช้น้ำไปแล้ว 7,864 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 35 ของแผนจัดสรรน้ำ ส่วนในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใช้น้ำไปแล้ว 1,898 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 33 ของแผน
– ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง มีการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ทั้งประเทศ 4.05 ล้านไร่ (แผน 6.41 ล้านไร่) คิดเป็นร้อยละ 63.16 ของแผน โดยเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทำนาปรังแล้ว 2.80 ล้านไร่ (แผน 2.81 ล้านไร่) คิดเป็นร้อยละ 99 ของแผน
ทั้งนี้ กอนช. เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตาม 9 มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้ง บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามแผน พร้อมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำให้แก่ประชาชน เพื่อให้ทุกภาคส่วน และทุกพื้นที่ มีน้ำใช้เพียงพอในทุกกิจกรรมตลอดช่วงฤดูแล้งนี้