กรมเจ้าท่า ลุยขุดลอกร่องน้ำพื้นที่ภาคเหนือ เพิ่มพื้นที่รองรับน้ำ แก้ปัญหาภัยแล้งให้ประชาชน

จากนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ ดร.อธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้กรมเจ้าท่าดำเนินการขุดลอกแม่น้ำกก แม่น้ำลาว แม่น้ำลี้ แม่น้ำวัง แม่น้ำตุ๋ย และแม่น้ำยม เพิ่มประสิทธิภาพรองรับ การอุปโภค บริโภค และการเกษตรในฤดูแล้ง ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร และระบายน้ำในฤดู น้ำหลาก ซึ่งกรมเจ้าท่า โดยสำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 7 ได้ดำเนินงานขุดลอกร่องน้ำพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 6 แม่น้ำ ดังนี้

1. หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำกก ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ดำเนินการขุดลอกโดยรถขุด ชม.10 ระยะทาง 500 เมตร ความกว้างก้นร่องน้ำ 40 – 50 เมตร ระดับขุดลอกก้นร่องเท่ากับ 391.50 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ปริมาณวัสดุ ขุดลอก 44,000 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันดำเนินการขุดลอกได้ประมาณ 13, 216 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 30.04 ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 120 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 635 ไร่ เรือท่องเที่ยว ประมาณ 50 ลำ ได้ใช้ร่องน้ำทางเดินเรือได้อย่างสะดวก ปลอดภัย

2. หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำลาว ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ดำเนินการขุดลอกโดยรถขุด ชม.12 และ รถเช่าขุดตักดินเอกชน จำนวน 1 คัน ระยะทาง 2,050 เมตร ความกว้างก้นร่องน้ำ 20 – 30 เมตร ระดับขุดลอกก้นร่องเท่ากับ 491.50 – 493.50 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ปริมาณวัสดุขุดลอก 48,000 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันดำเนินการขุดลอกได้ประมาณ 26,980 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 56.21 ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 108 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 457 ไร่

3. หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำลี้ ตำบลศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ดำเนินการขุดลอกโดยรถขุด ชม.9 และ รถเช่าขุด ตักดินเอกชน จำนวน 1 คัน ระยะทาง 2,500 เมตร ความกว้างก้นร่องน้ำ 20 – 30 เมตร ระดับขุดลอกก้นร่องเท่ากับ 102.5 – 105.0 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ปริมาณวัสดุขุดลอก 48,000 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันดำเนินการขุดลอกได้ประมาณ 16,540 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 34.46 ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 624 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 548 ไร่

4. หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำวัง ตำบลวังทรายคำ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ดำเนินการขุดลอกโดยรถขุด ชม.8 และรถขุด ชม.11 ระยะทาง 2,700 เมตร ความกว้างก้นร่องน้ำ 20 – 40 เมตร ระดับขุดลอกก้นร่องเท่ากับ 394.00 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ปริมาณวัสดุขุดลอก 60,000 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันดำเนินการขุดลอกได้ประมาณ 31,120 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 51.86 ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 727 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 2,150 ไร่

5. หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำตุ๋ย ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ดำเนินการขุดลอกโดยรถขุด ชม.14 และรถเช่าขุดตักดินเอกชน จำนวน 1 คัน ระยะทาง 2,700 เมตร ความกว้างก้นร่องน้ำ 15 – 30 เมตร ระดับขุดลอกก้นร่องเท่ากับ 359.50 – 380.50 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ปริมาณวัสดุขุดลอก 48,000 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันดำเนินการขุดลอกได้ประมาณ 19,865 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 41.39 ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 954 ครัวเรือน พื้นที่ ทางการเกษตร ประมาณ 950 ไร่

6. หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำยม ตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ดำเนินการขุดลอกโดยรถขุด ชม.7 และ รถขุด ชม.13 ระยะทาง 1,650 เมตร ความกว้างก้นร่องน้ำ 55 – 70 เมตร ระดับขุดลอกก้นร่องเท่ากับ 164.50 – 164.75 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ปริมาณวัสดุขุดลอก 60,000 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันดำเนินขุดลอกได้ ประมาณ 28,510 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 47.52 มีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 500 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 1,450 ไร่

ทั้งนี้ กรมเจ้าท่า ได้ดำเนินการขุดลอกพัฒนาและบำรุงรักษาร่องน้ำตามแผน ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ พัฒนาคมนาคมขนส่งทางน้ำ ปรับภูมิทัศน์ ฟื้นฟูพื้นร่องน้ำที่มีสภาพตื้นเขินให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง รวมถึงการปล่อยพันธุ์ปลาท้องถิ่นภายหลังการขุดลอก เพื่อรักษาระบบนิเวศแม่น้ำ เป็นแหล่งอาหารและสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้อีกด้วย
———————————————