สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 23 ธ.ค. 64

+ ประเทศไทยตอนบน อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิสูงขึ้น ส่วนภาคใต้ตอนล่างฝนลดลง

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบริเวณ จ.นราธิวาส (21 มม.) จ.เชียงใหม่ (18 มม.) และ จ.สตูล (8 มม.)

+ สถานการณ์น้ำท่วมขัง ยังคงมีน้ำท่วมขัง บริเวณ จ.นราธิวาส รวม 4 อำเภอ 7 ตำบล 13 หมู่บ้าน 2.033 ครัวเรือน

+ เฝ้าระวังระดับน้ำทะเลหนุนสูงต่อเนื่อง อาจส่งผลให้เกิดน้ำเอ่อ ล้นตลิ่งเข้าท่วมขังบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ในช่วงวันที่ 23-27 ธ.ค. 64

+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 37,976 ล้าน ลบ.ม. (66%) ขนาดใหญ่ 30,619 ล้าน ลบ.ม. (64%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง (เขื่อนแม่กวงฯ แม่งัด ภูมิพล แม่จาง และ สิริกิติ์)

+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ค่าความเค็มอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนแม่น้ำท่าจีนปริมาณออกซิเจนละลายน้ำต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

+ กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำและการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปัจจุบัน ณ วันที่ 22 ธ.ค.64 แหล่งน้ำทุกขนาดทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 62,125 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 76 ปริมาณน้ำใช้การ 37,976 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 66 มากกว่าปี 63 จำนวน 11,257 ล้าน ลบ.ม. โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ ดังนี้

– กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนชุดรถสูบส่งน้ำระยะไกล 10 กิโลเมตร ดำเนินการติดตั้งวางสายส่งน้ำและสูบส่งน้ำจากห้วยชันโพรง บ้านทุ่งหนองแหวน หมู่ที่ 6 ต.มะค่า อ.โนนไทย ไปยังสระสาธารณประโยชน์ บ้านมะค่า หมู่ที่ 5 ต.มะค่า อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา เพื่อกักเก็บไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง

– กรมเจ้าท่า กำจัดผักตบชวาและวัชพืช บริเวณแม่น้ำสะแกกรังอ.เมือง จ.อุทัยธานี เพื่อแก้ไขปัญหาการเดินเรือ การสัญจรทางน้ำ การระบายน้ำ ปัญหาน้ำอุปโภค-บริโภค กำจัดผักตบชวา สะสม 16,965 ตัน คิดเป็นร้อยละ 11.42

– กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกรมการข้าว ได้มีการบูรณาการทำงานร่วมกันในการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลตามแผนงานโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ประจำปีงบประมาณ 2563-64 จำนวน 78 แห่ง เพื่อเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนให้ภาคการเกษตรกว่า 1.1 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี โดยมีเป้าหมายช่วยให้กลุ่มเกษตรกรศูนย์ข้าวชุมชนและนาแปลงใหญ่ ในพื้นที่นาน้ำฝน มีแหล่งน้ำเพื่อการบริหารจัดการผลิตข้าว และปลูกพืชเศรษฐกิจหลังฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงขาดแคลนน้ำหรือฝนทิ้งช่วง