สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ธ.ค. 64

+ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนบางแห่งทางตอนล่างของภาค

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกน้อยถึงปานกลางในบางพื้นที่ บริเวณ จ.สุพรรณบุรี (30 มม.) จ.น่าน (14 มม.) และ จ.ชุมพร (13 มม.)

+ เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงต่อเนื่องในช่วงนี้ บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำและปากแม่น้ำบริเวณชายฝั่งจ.สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ประกอบกับอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่มีกำลังแรง ส่งผลให้คลื่นลมยังคงมีกำลังแรง

+ สถานการณ์น้ำท่วมขัง ยังคงมีน้ำท่วมขัง บริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี รวม 6 อำเภอ 16 ตำบล 36 หมู่บ้าน 1,208 ครัวเรือน

+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 38,718 ล้าน ลบ.ม. (67%) ขนาดใหญ่ 31,255 ล้าน ลบ.ม. (66%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง (เขื่อนแม่กวงฯ แม่งัด ภูมิพล แม่จาง และ สิริกิติ์)

+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ค่าความเค็ม และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

+ เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.64 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 4/2564 โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมเห็นชอบ ดังนี้

– 9 มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/65 ได้แก่

1) เร่งกักเก็บน้ำ

2) จัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ

3) ปฏิบัติการเติมน้ำ

4) กำหนดการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง

5) วางแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง

6) เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำ

7) เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ

8) ติดตามและประเมินผล เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผน

9) สร้างการรับรู้สถานการณ์และแผนบริหารจัดการน้ำ

– ร่างแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) และร่างแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมอบหมายหน่วยงานของรัฐและ อปท. จัดทำแผนปฏิบัติการฯ ให้สอดคล้องแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี ก่อนเสนอ กนช. และ ครม. ต่อไป

– การขับเคลื่อนการถ่ายโอนโครงการขนาดเล็กให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยหน่วยงานราชการสามารถถ่ายโอนแหล่งน้ำขนาดเล็กที่ซ่อมแซมแล้วให้แก่ อปท. นำไปบริหารจัดการเองได้เพื่อให้ประชาชนสามารถนำน้ำจากแหล่งน้ำที่ซ่อมแซมแล้วไปใช้ประโยชน์ต่อไป

– ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เร่งพัฒนาโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ในพื้นที่ ส.ป.ก.จังหวัดกระบี่ เพื่อสนับสนุนพื้นที่เกษตรกรรม 3,321 ไร่ โดยให้ ส.ป.ก. และกรมพัฒนาที่ดิน เร่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ และวางแผนการดำเนินการได้ทันที เมื่อได้รับงบประมาณ