พช. สมุทรปราการ จัดพิธีปิดการฝึกอบรมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมที่ 1 สร้างและพัฒนากลไกขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ กิจกรรมที่1.1 อบรมแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่ 3 ธันวาคม 2564 เวลา 15.00 น. นางสาวสุกานดา แสงวงษ์ พัฒนาการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานในพิธีปิดการฝึกอบรมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมที่ 1 สร้างและพัฒนากลไกขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ กิจกรรมที่1.1 อบรมแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หลักสูตร “การพัฒนาวิถีชีวิตสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง” แบบออนไลน์ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2564 พร้อมมอบใบประกาศเกียรติคุณผู้ผ่านการฝึกอบรมแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งสิ้น 12 คน โดยมีนางสาวยุคลพร เขียวม่วง พัฒนาการอำเภอบางพลี ร่วมแสดงความยินดี ซึ่งกิจกรรมการฝึกอบรมแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงแบบออนไลน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้นำ แกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และครัวเรือนต้นแบบในการเป็นผู้นำการพัฒนา (Change Leader) ที่อยู่ในชุมชน และนำการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน ตลอดจนนำไปสู่สิ่งที่ชุมชนต้องการ ณ ศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา” แปลง นายสุวัจชัย ฉัตรชุมสาย หมู่ที่ 7 ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ ได้ร่วมกับศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนชลบุรี สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสมุทรปราการ และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางบ่อ ดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง แบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting ตลอดระยะเวลาของการฝึกอบรม ผู้นำหมู่บ้าน แกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และครัวเรือนต้นแบบ ได้รับการฝึกอบรมหลักสูตร ดังนี้

1. ทฤษฎีบันได 9 ขั้น สู่ความพอเพียง
2. หลักกสิกรรมธรรมชาติ ประกอบด้วย นิยาม 5 ชีวิตในดิน ดินมีชีวิต/ เลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช /การห่มดิน /ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง/การปลูกไม้ 5 ระดับ/ขั้นตอนการตรวจแปลง
3. ถอดบทเรียนผ่านสื่อ “วิถีภูมิปัญญาไทยกับการพัฒนาตนเอง”
4. หลักการออกแบบและการออกแบบโคก หนอง นา เบื้องต้น ประกอบด้วย หลักการออกแบบตามหลักภูมิสังคม ดิน น้ำ ลม ไฟ พืช คน
/ การสำรวจพื้นที่ก่อนการออกแบบ
5. Work shop การออกแบบพื้นที่ ขั้นตอนการออกแบบโคก หนอง นา ด้วยตนเอง หัวใจ คือ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ โดยไม่ฝืนธรรมชาติ
6. เรียนรู้ 9 ฐานเรียนรู้ สู่เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 1. คนติดดิน 2. คนเอาถ่าน 3. คนมีไฟ 4. คนรักษ์แม่ธรณี 5. คนมีน้ำยา 6. รักษ์ป่า 7. รักษ์น้ำ 8. รักษ์แม่โพสพ 9. รักษ์สุขภาพ
7. กิจกรรมการเอามื้อสามัคคี คือ ลงแปลงตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ (10 ขั้นตอน) พร้อมกับการตรวจแปลง (ครูพาทำ ดำเนินการ)
8. Work shop กระบวนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย นำเสนอกระบวนการขับเคลื่อนและพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง/ตรวจสอบเกณฑ์การประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงมหาดไทย (4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด) ครั้งที่ 1 ด้วยการแบ่งกลุ่มนำเสนอแบบออนไลน์

ในการนี้ นางสาวสุกานดา แสงวงษ์ พัฒนาการจังหวัดสมุทรปราการ ได้ร่วมกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข” หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (Gross Village Happiness : GVH) ให้กับผู้แทนครัวเรือนพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ “โคก หนอง นา” ผู้นำชุมชนของครัวเรือนพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ “โคก หนอง นา” แกนนำชุมชนของครัวเรือนพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ “โคก หนอง นา ” และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผลกิจกรรมและความสุขของคนในชุมชน พร้อมทั้งมอบหนังสือ “การประยุกต์ทฤษฎีใหม่สู่ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ให้กับนายสุวัจชัย ฉัตรชุมสาย ครัวเรือนต้นแบบศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา” พช.สมุทรปราการ ปี 2564 เพื่อใช้สำหรับการต่อยอดและพัฒนาพื้นที่ต่อไป

การฝึกอบรมแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงแบบออนไลน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผู้ผ่านการฝึกอบรมแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดสมุทรปราการ ได้รับความรู้และฝึกฝนทักษะในการเป็นผู้นำพัฒนา (Change Leader) ของชุมชน ที่มีความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาที่มีความสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชน อันจะนำไปสู่การขยายผลขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ ได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อย่างเคร่งครัด อาทิ การวัดอุณหภูมิร่างกาย การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และเว้นระยะห่างตามมาตรการควบคุมการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายในท้องที่จังหวัดสมุทรปราการ

สมุทรปราการ : เมืองปลาสลิด ใกล้ชิดนกนางนวล
ภาพถ่าย ข่าว ) กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน

#กรมการพัฒนาชุมชน
#เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ภายในปี2565
#ChangeforGood
#โคกหนองนาโมเดล #โคกหนองนาพัฒนาชุมชน #Khoknongna
#WorldSoilDay #GlobalSoilPartnership #UNFAO #WorldSoilDayCDD
#SEPtoSDGs #SDGforAll@Kmitl