พช.ลำปาง เร่งดำเนินการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ ” โคก หนอง นา โมเดล”

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น.นายสันติ วิทวุฒิศักดิ์ พัฒนาการอำเภองาว พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร.) ดำเนินการติดตามแปลงพื้นที่ทำการเกษตรของครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life, HLM) ระดับครัวเรือน (งบเงินกู้) ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” เป็นพื้นที่แปลงขนาด 3 ไร่ จำนวน 3 ครัวเรือน ได้แก่

1. ครัวเรือนนายอรุณ นนทมาลย์ ณ พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบของนายอรุณ นนทมาลย์ บ้านเลขที่ 41/1 บ้านทุ่งศาลา หมู่ที่ 1 ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัด
2. ครัวเรือนนายสมศักดิ์ ยอดคีรีธงชัย ณ พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบของนายสมศักดิ์ ยอดคีรีธงชัย บ้านเลขที่ 6/1 บ้านแม่ฮ่าง หมู่ที่ 4 ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดลำปาง
3. ครัวเรือนนายสังเวียน แก้วชมภู ณ พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบของนายสังเวียน แก้วชมภู บ้านเลขที่ 14/6 บ้านแม่ฮ่าง หมู่ที่ 4 ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดลำปาง

✅สำหรับ อำเภองาว จังหวัดลำปางมีเป้าหมายดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่
” โคก หนอง นา โมเดล” ทั้งสิ้น จำนวน 48 แห่ง ประกอบไปด้วย โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 กิจกรรมศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” ทั้งหมด 10 แปลง และโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” แปลงพิ้นที่ระดับครัวเรือน ( HLM ) จำนวน 38 แปลง แยกเป็น ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 6 แปลง และขนาด 3 ไร่ จำนวน 32 แปลง และมีการจ้างงานนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ทั้งสิ้น 2 คน

☘️ ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่า ซึ่งประชากรในพื้นที่เกือบทุกครัวเรือนมีอาชีพทำการเกษตร ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยทำการเพาะปลูกเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว พบปัญหาการใช้สารเคมีเพื่อทำการเพาะปลูกเป็นจำนวนมาก และบางปีประสบปัญหาความแห้งแล้ง แต่เมื่อมีการเผยแพร่แนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ จึงมีครัวเรือนที่เห็นด้วยกับการลงมือทำตามแนวทางของ”ศาสตร์พระราชา” ซึ่งเมื่อสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภองาวมีการประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ครัวเรือนเหล่านี้จึงสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 38 ครัวเรือน

และเนื่องจากพื้นที่ตำบลนาแก เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ การดำเนินโครงการฯในพื้นที่ของตำบลนาแก จึงได้ดำเนินการขออนุญาตการใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภองาวได้ประสานกับหน่วยป่าไม้ในพื้นที่ และร่วมกับหน่วยป่าไม้ในการทำโครงการขอใช้พื้นที่ร่วม และเสนอให้สำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ในเขตพื้นที่รับผิดชอบตรวจสอบให้ความเห็นชอบและนำส่งกรมป่าไม้ผ่านคณะกรรมการเพื่อพิจารณาในการใช้พื้นที่ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในพื้นที่ในการตรวจสอบข้อมูลและเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานในเขตพื้นที่ป่า ซึ่งเป็นไปตามการควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติ พระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พุทธศักราช 2507 มาตรา 19

☘️ทั้งนี้ แปลงพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบ ทั้ง 3 แปลงได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ โดยมีการขุดร่องน้ำ ขุดคลองไส้ไก่ พร้อมปรับแต่งภายในแปลงพื้นที่ โดยใช้แรงงานคนขุดทั้งหมด กรณีพื้นที่มีความลาดเอียงมากและเครื่องจักรไม่สามารถทำการขุดได้ โดยมีครัวเรือนที่ร่วมโครงการ ได้ร่วมกันขุดปรับพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ การใช้แรงงานคนขุดในครั้งนี้ ถือเป็นการจ้างงานและขยายผลการเรียนรู้ไปสู่การประกอบอาชีพและสร้างรายได้ในที่ดินของผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการกล่าวว่า เมื่อก่อนปลูกข้าวโพด ซึ่งปลูกมานานแล้ว เพราะการปลูกรอผลผลิตไม่นาน ซึ่งก็จะมีหนี้อยู่บ้างจากการลงทุนเป็นค่าปุ๋ย ค่ายา แต่พอทางสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภองาว ได้มีการประชาสัมพันธ์การเข้าร่วมโครงการ ฯ ก็สมัครเข้าร่วมทันทีเพราะมีความสนใจในการนำศาสตร์พระราชามาปรับใช้ จึงได้มีการปรับพื้นที่ของตนให้เป็นขั้นบันได และขุดคลองไส้ไก่ ตามแนวเขาเพราะเป็นพื้นที่สูงซึ่งการทำตรงนี้จะสามารถกักน้ำได้ในร่องคลองไส้ไก่ และยังสามารถนำน้ำจากฝายสู่พื้นที่เกษตรได้ด้วย รวมทั้งจะเน้นการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ครอบคลุมถึงการปลูกต้นไม้ 5 ระดับ คือ สูง กลาง เตี้ย เรี่ยดิน และหัวใต้ดิน เพื่อสร้างรายได้ และลดการใช้สารเคมี รวมทั้งจะฝึกปฏิบัติตามที่ตนเองสนใจ และอยากเรียนรู้ นำไปสู่การดำรงชีวิตอย่างพอเพียงต่อเนื่องจนเป็นวิถีชีวิต และเป็นต้นแบบในการขยายผลต่อยอดต่อไป

# โคก หนอง นา
#World Soil Day
#Global Soil Partnership
#UNFAO
#SEPtoSDGs
#SDGforAll@Kmitl
# CDD
# กรมการพัฒนาชุมชน
# Change For Good
………………………
เครดิตภาพ/ข่าว : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภองาว สพจ.ลำปาง