พช.สกลนคร : ที่ปรึกษาประธาน ป.ป.ช. ลงพื้นที่สังเกตการณ์ “โคก หนอง นา โมเดล”

วันพฤหัสบดี ที่ 11 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00 น.  รศ.ดร.มาณี ไชยจิรานุวัฒศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ป.ป.ช. พร้อมด้วยนายธีรัตน์ บางเพ็ชร ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสกลนคร และคณะ ลงพื้นที่สังเกตการณ์ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเกตุการณ์และเก็บข้อมูลตามประเด็นปัญหาความเสี่ยงต่อการทุจริตจากข้อมูลแผนที่ความเสี่ยงต่อการทุจริต ภายใต้โครงการต้านและลดการทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์เฉพาะกรณีพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต (STRONG : Together againt Coruption – Tac) สำหรับโครงการที่ได้รับงบประมาณจากโครงการภายใต้แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมตามบัญชีท้าย พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (งบฯ เงินกู้) ดังนี้

1. บ้านเชียงแสน หมู่ที่ 16 ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร แปลงของนางสาวขนิษฐา จิตรเจริญ ซึ่งเป็นครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) ระดับครัวเรือน ที่ได้ดำเนินการปรับพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ขนาด 3 ไร่ เรียบร้อยแล้ว

2. บ้านหนองนกกด หมู่ที่ 10 ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร แปลงของนางสาวอินท์ชลิตา คุณธรรมพงศ์ไท ซึ่งเป็นพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) ระดับตำบล ที่ได้ดำเนินการปรับพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ขนาด 15 ไร่ เรียบร้อยแล้ว

นายสมาน พั่วโพธิ์ พัฒนาการจังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยนายประสาท ทัศคร ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางจิรสุภา สมบัติธนดล พัฒนาการอำเภอพังโคน เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอพังโคน นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และ 7 ภาคีเครือข่าย ได้ให้การต้อนรับ ซึ่งนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ได้สาธิตการทำเห็ดฟางกองเตี้ย และการทำน้ำหมักรสจืด การทำแซนวิชปลา และได้นำชมแปลง “โคก หนอง โมเดล” พร้อมปลูกต้นไม้ภายในแปลง “โคก หนอง โมเดล” ทั้งนี้พัฒนาการจังหวัดสกลนคร พัฒนาการอำเภอพังโคน และเจ้าของแปลง “โคก หนอง นา โมเดล” ได้นำเสนอขั้นตอน แนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่ในด้านต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 รศ.ดร.มาณี ไชยจิรานุวัฒศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ป.ป.ช. ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของเงินกู้เนื่องจากเป็นงบประมาณที่ได้มาจากการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งทุกคนต้องร่วมกันใช้หนี้ และเจ้าของแปลง”โคก หนอง โมเดล” ควรขับเคลื่อนหรือพัฒนาพื้นที่ของตนให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ การเบิกจ่ายงบประมาณต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การสนับสนุนพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ควรพิจารณาให้รอบด้าน ทั้งความคุ้มค่า ความต้องการ และโอกาสรอด ของพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และการร่วมกันพัฒนานวัตกรรมให้กับแปลง “โคก หนอง นา โมเดล” ต่อไป

เวลา 17.00 น.

นายสมาน พั่วโพธิ์ พัฒนาการจังหวัดสกลนคร ได้นำเสนอผลและรายละเอียดการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ณ ห้องประชุมโรงแรมโชคดีเพลส อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะจากการลงพื้นที่สังเกตการณ์ “โคก หนอง นา โมเดล” จากที่ปรึกษาประธาน ป.ป.ช. และคณะ พร้อมทั้งข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะจากสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสกลนคร และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดสกลนคร ที่ได้ลงพื้นตรวจสอบและให้คำแนะนำตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ
จังหวัดสกลนคร ได้รับอนุมัติโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” จำนวน 53 แปลง ดำเนินการขุดปรับพื้นที่แล้วเสร็จ จำนวน 31 แปลง อยู่ระหว่างดำเนินการปรับพื้นที่ 22 แปลง (แปลงเพิ่มเติม) โดยได้รับงบประมาณจากโครงการภายใต้แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมตามลัญชีท้าย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (งบฯ เงินกู้) งบประมาณ 8,044,500 บาท สำหรับการขุดปรับพื้นที่ การสนับสนุนวัสดุและครุภัณฑ์ และการสร้างงานสร้างรายได้ ดำเนินการขุดปรับพื้นที่แล้วเสร็จ จำนวน 35 แปลงดังนี้

1) ได้รับอนุมัติโครงการครั้ง ที่ 1 จำนวน 21 แปลง งบประมาณ 5,958,100 บาท ประกอบด้วย

-> พื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) ระดับตำบล ขนาด 15 ไร่ จำนวน 1 แปลง งบประมาณ 2,678,100 บาท ดำเนินการขุดปรับพื้นที่โดยหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 26 สำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย

-> พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life: HLM) ระดับครัวเรือน ขนาด 3 ไร่ จำนวน 20 แปลง งบประมาณ 3,280,000 บาท ดำเนินการขุดปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว

2) ได้รับอนุมัติโครงการครั้ง ที่ 2 จำนวน 22 แปลง งบประมาณ 1,434,400 บาท

-> พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life: HLM) ระดับครัวเรือน ขนาด 1 ไร่ จำนวน 22 แปลง งบประมาณ 1,434,400 บาท ดำเนินการขุดปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว จำนวน 10 แปลง อยู่ระหว่างการขุดปรับพื้นที่ 12 แปลง

3) ได้รับอนุมัติโครงการครั้ง ที่ 3 จำนวน 10 แปลง งบประมาณ 652,000 บาท

-> พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life: HLM) ระดับครัวเรือน ขนาด 1 ไร่ จำนวน 10 แปลง งบประมาณ 652,000 บาท อยู่ระหว่างดำเนินการขุดปรับพื้นที่