สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 พ.ย. 64

+ ประเทศไทยตอนบน อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นและมีลมแรง สำหรับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ. นครศรีธรรมราช (190 มม.) สุราษฎร์ธานี (151 มม.) และนราธิวาส (136 มม.)

+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ทั้งประเทศ 31,447 ล้าน ลบ.ม. (66%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง (เขื่อนแม่กวงฯ แม่งัด ภูมิพล แม่จาง และสิริกิติ์)

+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ค่าความเค็มอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ แม่น้ำท่าจีน มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

+ กอนช. ประกาศแจ้งเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและท่วมขังเพื่อให้หน่วยงานเตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที รวมทั้งแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ ดังนี้

1. ประกาศฉบับที่ 28/2564 วันที่ 10 พ.ย.64 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่งบริเวณแม่น้ำเพชรบุรี เนื่องจากคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำหลากไหลสู่เขื่อนเพชร จ.เพชรบุรี ประมาณ 500 ลบ.ม.ต่อวินาที ทั้งนี้ ได้มีการบริหารจัดการน้ำเข้าสู่ระบบส่งน้ำฝั่งซ้ายและขวา 150 ลบ.ม.ต่อวินาที คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเพชรประมาณ 350 ลบ.ม.ต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำ ในแม่น้ำเพชรบุรี มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นเอ่อล้นตลิ่งท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเพชรบุรี ระดับน้ำสูงประมาณ 0.3–0.6 เมตร ในช่วงวันที่ 10–15 พ.ย.64 ดังนี้

– อ.ท่ายาง บริเวณ ต.ท่ายาง ต.ท่าแลง และต.ยางหย่อง

-อ.บ้านลาด บริเวณ ต.บ้านลาด ต.ตำหรุ ต.ท่าเสน ต.ถ้ำรงค์ และต.สมอพลือ

– อ.เมืองเพชรบุรี บริเวณเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ต.ท่าราบ ต.คลองกระแซง ต.ต้นมะม่วง ต.บ้านหม้อ ต.หนองโสน และต.บ้านกุ่ม

-อ.บ้านแหลม บริเวณ ต.ท่าแร้ง ต.ท่าแร้งออก ต.บ้านแหลม ต.บางขุนไทร และต.บางครก

เมื่อวานนี้ (10 พ.ย.64) เวลา 19.00 น. มวลน้ำสูงสุดได้ไหลผ่าน อ.เมืองเพชรบุรี ปริมาณน้ำ 145 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 9 ซม. แนวโน้มระดับน้ำจะลดลงในระยะต่อจากนี้ ส่วนระดับน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเพชรบุรีคาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในวันพรุ่งนี้

2. ประกาศฉบับที่ 29/2564 วันที่ 10 พ.ย.64 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม น้ำล้นอ่างเก็บน้ำ และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 10–15 พ.ย.64

– เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก บริเวณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

– เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณด้านท้ายน้ำ บริเวณ จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ระนอง กระบี่ ภูเก็ต และตรัง

– เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณ แม่น้ำตาปี อ.พระแสง อ.เวียงสระ อ.เคียนซา และอ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี บริเวณคลองท่าดี อ.ลานสกา อ.พระพรหม และ อ.เมืองนครศรีธรรมราช และคลองชะอวด

อ.เชียรใหญ่ และ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ทะเลสาบสงขลา อ.สิงหนคร จ.สงขลา แม่น้ำปัตตานี อ.เมืองยะลา จ.ยะลา และอ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี และแม่น้ำโก-ลก อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส