พช.นครศรีธรรมราช ติดตามความก้าวหน้า และให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด การดำเนินงาน “โคก หนอง นา พช.”

วันที่ 28 ตุลาคม 2564เวลา 13.30 น.นายจรัญ อินทสระ พัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช ติดตามความก้าวหน้า และให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด ครัวเรือนของ นายสิทธิโชค ชัยพราหมณ์ เจ้าของแปลงพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (Community Lab Model for quality of life : CLM) ตำบลนาหลวงเสน พื้นที่ขนาด 10 ไร่ และครัวเรือนของนายวิระชาติ ทรงทอง เจ้าของแปลงพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (Community Lab Model for quality of life : CLM) ตำบลนาหนองหงส์ พื้นที่ขนาด 10 ไร่ ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” โดยมี นายชินโนรส บุญพิทักษ์ พัฒนาการอำเภอทุ่งสง เจ้าของพื้นที่ ตลอดจนนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) นำชมพื้นที่และบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน ณ พื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (Community Lab Model For Quality Of Life : CLM) อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

นายจรัญ อินทสระ พัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการอนุมัติดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” จากทางรัฐบาลผ่านกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน 22,063,800 บาท โดยมีพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดทั้งสิ้น จำนวน 156 แห่ง แบ่งเป็นพื้นที่ระดับตำบล (CLM) จำนวน 12 แห่ง และพื้นที่ระดับครัวเรือน (HLM) จำนวน 144 แห่ง และโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 จำนวน 8,870,000 บาท โดยมีกลุ่มเป้าหมาย พื้นที่เรียนรู้ชุมชน 139 แห่ง แบ่งเป็น พื้นที่ขนาด 1 ไร่ จำนวน 95 แห่ง และพื้นที่ขนาด 3 ไร่ จำนวน 44 แห่ง ในส่วนของอำเภอทุ่งสง มีพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” จำนวน 156 แห่ง แบ่งเป็นพื้นที่ระดับตำบล (CLM) จำนวน 12 แห่ง และพื้นที่ระดับครัวเรือน (HLM) จำนวน 144 แห่ง ซึ่งพื้นที่ดำเนินการตามโครงการฯ อยู่ภายในพื้นที่อำเภอทุ่งสงทั้งหมด ในส่วนของพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 5 แปลง และพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 7 แปลง รวมทั้งหมด 12 แปลง เป็นเงินงบประมาณ จำนวน 954,000บาท อีกทั้งยังมีการจ้างงานนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ จำนวน 120 คน ซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) ระดับตำบล และพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) ระดับครัวเรือน เป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน ผ่านการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร บัณฑิตจบใหม่ และกลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

เจ้าของแปลงทั้งสองแปลง ได้กล่าวขอบคุณกรมการพัฒนาชุมชนที่ได้ให้โอกาสได้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ทั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและขยายผลการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้ทุกครัวเรือนนำไปปฏิบัติ และสามารถพึ่งตนเองได้ในท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นี้