รองฯ อธิบดี พช. : ติดตามการดำเนินงานสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร

วันศุกร์ ที่ 24 กันยายน 2564เวลา 10.00 น.นางวิไลวรรณ ไกรโสดา รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการ ตามภารกิจกรมการพัฒนาชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร  นายสมาน พั่วโพธิ์ พัฒนาการจังหวัดสกลนคร และผู้อำนวยการกลุ่มงาน ทุกกลุ่มงาน ได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการ ตามภารกิจกรมการพัฒนาชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดังนี้

1. โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” จำนวน 43 แปลง ดังนี้
-> ผลความก้าวหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” จำนวน 21 แปลง ประกอบด้วย พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) ระดับครัวเรือน ขนาด 3 ไร่ จำนวน 20 แปลง และพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) ระดับตำบล ขนาด 15 ไร่ จำนวน 1 แปลง ดำเนินการปรับพื้นที่แล้วเสร็จ ทั้ง 21 แปลง ดำเนินการเอามื้อสามัคคีครบทั้ง 21 แปลง คงเหลือเพียงการจัดหาวัสดุและครุภัณฑ์ สนับสนุนพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบฯ ระดับ CLM ซึ่งได้ดำเนินการสั่งซื้อสั่งจ้าง PO เรียบร้อยแล้ว
-> ผลความก้าวหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม ซึ่งเป็นพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) ระดับครัวเรือน ขนาด 1 ไร่ จำนวน 22 แปลง ดำเนินการสั่งซื้อสั่งจ้าง PO เรียบร้อยแล้ว

2. การจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2564
-> ผลการดำเนินงาน จังหวัดสกลนครมีเป้าหมายการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2564 จำนวน 248,256 ครัวเรือน ผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. จังหวัดสกลนคร จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 248,692 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100.17 (ข้อมูล ณ วันที่ 24 กันยายน 2564) ทั้งนี้จังหวัดสกลนคร กำหนดประชุมนำเสนอผลการจัดเก็บและรับรองคุณภาพข้อมูล จปฐ. ระดับจังหวัด ในวันที่ 29 กันยายน 2564

3. การบริหารจัดการหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
-> ผลการดำเนินงาน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร มีหนี้ค้างชำระ คิดเป็นร้อยละ 6.44 โดยใช้มาตรการลงพื้นที่เคาะประตูบ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจให้ลูกหนี้ให้เข้าใจสถานการณ์หนี้ของตนในปัจจุบัน และลูกหนี้สามารถเข้าสู่มาตรการช่วยเหลือประเภทใด ทั้งนี้การขับเคลื่อนงานกองทุนพัฒนาบทาทสตรีจังหวัดสกลนคร ท่านวิฑูรย์ นวลนุกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดได้ให้ความสนใจและใส่ใจในการขับเคลื่อนงาน ร่วมถึงนายอำเภอ ทุกเภอ ได้ช่วยขับเคลื่อนงานและให้คำแนะนำสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอในการบริหารโครงการและการบริหารจัดการหนี้กองทุนพัฒนาบทาทสตรีจังหวัดสกลนคร

**ข้อเสนอเสนอแนะ รองฯ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน **
-> การขับเคลื่อนงาน “ดอนกอย โมเดล” ขอให้ร่วมกับภาคีเครือข่าย และส่วนราชการต่างๆ ร่วมบูรณาการการทำงานเพื่อให้การดำเดินงานสำเร็จตามพระประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ขอให้ดำเนินการโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน คนในชุมชนได้ประโยชน์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต ซึ่งมีตัวอย่างการขับเคลื่อนศูนย์ เช่น ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอนาโพธิ์ ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าของจังหวัดแพร่ ที่ได้มีการพัฒนาจากผ้าม่อฮ่อมธรรมดา ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลาดลายและรูปแบบที่มีความหลากหลาย เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น และการประชาสัมพันธ์ในระหว่างที่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ สามารถจัดทำศูนย์เรียนรู้ในรูปแบบ Online หรือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาศึกษาดูงาน หรือหาข้อมูลได้ หากการดำเนินก่อสร้างแล้วเสร็จก็สามารถมาชมเรียนรู้ ดูขั้นตอน กระบวนการ วิธีการต่างๆ ของการทอผ้าย้อมครามได้

-> เน้นย้ำให้จังหวัดมอบหมายภารกิจให้กับนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ให้มีชัดเจน นพต. ทุกคน มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ นพต. และการปฏิบัติงานในพื้นที่รับผิดชอบตามกรอบแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด เพื่อให้พื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” มีความพร้อมที่จะให้บริการในอนาคต
-> ขออขอบคุณจังหวัดสกลนคร ที่ได้ขับเคลื่อนการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ได้ตามเป้าหมายที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด และขอให้ถอดบทเรียนความสำเร็จ รวบรวมปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ที่เกิดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนร่วมกัน

-> การบริหารจัดการหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ข้อห่วงใยของอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ขอให้จังหวัดสร้างความใจกับลูกหนี้ทุกราย ให้เข้าสู่มามาตรการต่างๆ เพื่อให้ลูกหนี้สามารถใช้หนี้ได้ตามความสามารถของลูกหนี้แต่ละราย และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดหนี้เสียในระบบ และข้อให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด สำหรับกรณีเงินรอตรวจสอบขอให้ปรึกษากับจังหวัดพัทลุง ที่สามารถดำเนินการเรื่องเงินรอตรวจได้สำเร็จ และประชาสัมพันธ์ให้สาธารณาชนได้รับทราบผลการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี