สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 ก.ย. 64

+ ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง

+ แม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยกเว้นภาคเหนือ น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มลดลง

+ ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 48,197 ล้าน ลบ.ม. (59%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 42,502 ล้าน ลบ.ม. (59%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 7 แห่ง (อ่างฯ แม่มอก อ่างฯ ลำตะคอง อ่างฯ ลำพระเพลิง อ่างฯ มูลบน อ่างฯ ขุนด่านปราการชล อ่างฯ นฤบดินทรจินดา และอ่างฯแก่งกระจาน)

+ กอนช. เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในช่วงวันที่ 21-25 ก.ย. 64 จากอิทธิพลหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมรับมือดังนี้

 ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมใน 24 ชั่วโมง มากกว่า 90 มม. บริเวณพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่น้ำท่วมขังอยู่

 ปรับแผนบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80% ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร้อมพิจารณาบริหารจัดการเขื่อนระบายน้ำ ประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ รองรับน้ำหลากและเร่งระบายน้ำในแม่น้ำ โดยคลองชายทะเลพร่องน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ 30% เพื่อรองรับฝนตกหนักในพื้นที่และน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน

 ปรับลดการระบายน้ำอ่างเก็บน้ำในบริเวณพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมให้มากที่สุด และใช้อาคารชลศาสตร์จัดจราจรน้ำ พร้อมเร่งระบายน้ำเพื่อให้สถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

 ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง ความสามารถใช้งานอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ และติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวกันบริเวณริมแม่น้ำ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วม

 เตรียมพร้อมแผนรับมือสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักร เครื่องมือรวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที

 ประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบรับทราบ รวมถึงเตรียมพร้อมการอพยพหากเกิดสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที