พช.อ่างทอง ลงพื้นที่ติดตามและสนับสนุนการขับเคลื่อนภารกิจงานพัฒนาชุมชน อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอป่าโมก

วันที่ 20 กันยายน 2564 เวลา 13.30 น นายทินกร บุญเงิน พัฒนาการจังหวัดอ่างทอง มอบหมายให้ นางสาวผกากรอง สุทธิสารนันท์ ผู้อำนวยกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมขน พร้อมด้วยนางณัฐกานต์ วงษ์ปาน ผู้ช่วยผู้อำนวยกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมขน พนักงานราชการเฉพาะกิจ ลงพื้นที่ ติดตามและสนับสนุนกิจกรรมงานพัฒนาชุมชน ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอป่าโมก ดังนี้

เวลา 13.30 น ผู้อำนวยกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน และคณะร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโพธิ์ทอง โดยนางวิภารัตน์ มีพันธ์ พัฒนาการอำเภอโพธิ์ทอง และทีมงาน นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ(นพต.) ติดตามความก้าวหน้าการเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ปี 2564 ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนโพธิ์ทอง มีเป้าหมายการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.จำนวน 14,160ครัวเรือน มีผลการจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกในระบบจำนวน 3,104ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 21.92 ทั้งนี้สำสักงานพัฒนาชุมชนโพธิ์ทองได้บริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. โดยวางแผนและสามารถการจัดเก็บข้อมูลให้ทันตามห้วงระยะเวลาที่กำหนด จากนั้นคณะได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”แปลง นางเรณู ศรีสว่าง ขนาดพื้นที่ 3 ไร่ หมู่ที่ 5 ตำบลทางพระ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง และแปลง นายเสนห์ โสภี ขนาดพื้นที่ 3 ไร่ หมู่ที่ 6 ตำบลโคกพุทรา อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง โดยพื้นที่ต้นแบบทั้งสองแปลงมีผลความก้าวหน้าสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายและอีกส่วนหนึ่งเก็บไว้บริโภคภายในครัวเรือน สามารถลดรายจ่ายช่วยเหลือแบ่งปันและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับครัวเรือนข้างเคียง ผู้สนใจทั่วไปได้เรียนรู้

เวลา 16.00 น.ผู้อำนวยกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน และคณะร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอป่าโมก โดยนางสาวชนิดา หินเพชร พัฒนาการอำเภอป่าโมก และทีมงาน นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ(นพต.) ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” แปลง นายสุรินทร์ สุขพันธ์ ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ หมู่ที่4 ตำบลสายทอง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง โดยแปลงนายสุรินทร์ สุขพันธ์ มีผลความก้าวหน้าจากการดำเนินโครงการมาได้ระยะหนึ่ง ซึ่งครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้จากการเก็บเกี่ยวผลผลิต สามารถเก็บดอกดาวเรืองไปจำหน่ายมีรายได้เพิ่มขึ้น เก็บพืชผักบริเวณคันนาทองคำไว้รับประทาน เกิดประโยชน์แก่ครัวเรือน ลดรายจ่ายได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้สนใจทั่วไปได้เรียนรู้

ภาพข่าว/รายงาน:กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน พช.อ่างทอง
#กรมการพัฒนาชุมชน
#CDD
#SEPtoSDGs
#SDGforAll@Kmitl
#WorldSoilDay
#UNFAO
#GlobalSoilPartnership