พช.อยุธยา น้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” ในการดำเนินชีวิต จัดโครงการฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล รูปแบบออนไลน์

วันที่ 20 กันยายน 2564 เวลา 11.00 น. ณ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านโคกจุฬา หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านหลวง อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นายกิจจา ทองแดง พัฒนาการจังหวัด และนายวัชรินทร์ รื่นถวิล นายอำเภอเสนา พบปะ เยี่ยมเยือน และให้กำลังใจ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล รูปแบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล พัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับตำบล และระดับครัวเรือน และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านการสร้างงานสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกร แรงงานและบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19 โดยมีนางสาวอรุณวดี พันธุ์เอี่ยม ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน นางสาวสิริผกา พุ่มพวง พัฒนาการอำเภอเสนา นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ ผู้นำท้องที่/ท้องถิ่น และประชาชน ร่วมกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมในวันนี้ เป็นการฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ โดยศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก ถ่ายทอดความรู้ผ่านระบบออนไลน์มายังกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ดำเนินการ โดยแบ่งจุดดำเนินการออกเป็น 2 จุดๆ ที่ 1 จำนวน 23 คน จุดที่ 2 จำนวน 22 คน ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)​ ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กำหนดดำเนินการระหว่างวันที่ 20 – 24 กันยายน 2564

กรมการพัฒนาชุมชน อนุมัติโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” โดยแบ่งเป็น 7 กิจกรรม ประกอบด้วย
– กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล
– กิจกรรมที่ 2 สร้างพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) ระดับตำบล และพัฒนาพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) ระดับครัวเรือน
– กิจกรรมที่ 3 สร้างงานสร้างรายได้รายเดือน ให้แก่ เกษตรกร บัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงาน ที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชน
– กิจกรรมที่ 4 กระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชน ผ่านกิจกรรมการพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) ระดับครัวเรือน
– กิจกรรมที่ 5 บูรณาการร่วมพัฒนาพื้นที่ระดับตำบล กิจกรรมที่ 6 พัฒนาการสร้างมาตรฐานผลผลิต การแปรรูปและการตลาดตามมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย และกิจกรรมที่ ๗ สร้างระบบโปรแกรมและระบบฐานข้อมูลพัฒนาระบบ Digital รองรับ Local Economy

ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)​ ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด