พยากรณ์อากาศภาคกลางและภาคตะวันออก ประจำวันที่ 14 กันยายน 2564

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตรและอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน

– ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่งเกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ําฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยง สัตว์น้ําเพราะจะทําให้สภาพน้ําเปลี่ยน สัตว์น้ําปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่ายและหลังจากฝนตกควรเปิด เครื่องตีน้ําเพื่อป้องกันน้ําแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ําสําหรับเกษตรกรที่ปลูกอะโวคาโด ควรระวัง และ ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแอนแทรคโนส

– กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่

อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ในช่วงนี้ ประเทศไทยอยู่ในช่วงของฤดูฝนทำให้การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย

– ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดจันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งเกษตรกรควรทําทางระบายน้ําออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ําท่วมขัง นอกจากนี้ ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อราในไม้ผล ​เช่น โรครากเน่าโคนเน่า คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร บริเวณภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ60 ของพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ส่วน ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในจังหวัดจันทบุรี และตราด ในหน้าฝนนี้ อย่าลืม พกร่ม หรือเสื้อกันฝนออกไปด้วย

สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th​​​​​ แอปพลิเคชั่น thai weather Facebook youtube Channel twitter กรมอุตุนิยมวิทยา และ สถานีวิทยุกระจายเสียง ของกรมอุตุนิยมวิทยา

” อุตุนิยมวิทยายุคใหม่ แจ้งข่าวฉับไว ใส่ใจปวงชน”