สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 14 ก.ย. 64

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 14 ก.ย. 64

+ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง

+ แม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

+ ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 45,531 ล้าน ลบ.ม. (55%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 40,217 ล้าน ลบ.ม. (56%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 6 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 5 แห่ง (อ่างฯ แม่มอก ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน และนฤบดินทรจินดา)

+ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ มอบเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี ตรวจความพร้อมแผนจัดการน้ำชี-มูล ป้องกันน้ำหลากท่วมอีสาน

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และแนวทางการบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำชีและแม่น้ำมูล บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ทั้งนี้ได้เน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางที่ สทนช.ได้เสนอแนะให้มีการการเฝ้าระวังพื้นที่ที่มีการไหลย้อนของแม่น้ำมูลตามลำน้ำสาขาฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก การติดตามข้อมูลฝน นอกเหนือจากสถานีในเขตจังหวัด
ต้นน้ำที่ไหลลงลุ่มน้ำมูลตอนล่าง และในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนล่าง และเฝ้าระวัง ในกรณีร่องมรสุมพาดผ่านในหลายพื้นที่ ส่งผลให้มีฝนตกหนักต่อเนื่องและเป็นพื้นที่กว้างขวาง และในกรณีที่ได้รับอิทธิพลจากพายุจร เพื่อใช้ในการเตือนภัย การเตรียมความพร้อม การอพยพ ประชาชนด้วย

สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำมูลตอนล่าง จ.อุบลราชธานี ในภาวะปกติ โดยกรมชลประทานได้วางแผนเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ก่อนน้ำมา แผนเชิญเหตุในภาวะฉุกเฉิน และมาตรการฟื้นฟูหลังน้ำลด ตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด รวมทั้งเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือและกำลังคนที่พร้อมจะเข้าไปให้การช่วยเหลือบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำให้กับพี่น้องประชาชนอย่างเต็มศักยภาพ รวมถึงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่บริหารจัดการน้ำและจัดจราจรน้ำชี-มูล ในช่วงฤดูฝน ปี 2564

สทนช.ได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการน้ำหลากในเขตผังน้ำมูลซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จปลายเดือนนี้ เพื่อให้หน่วยงานเกี่ยวข้องนำไปขับเคลื่อนสู่การปัญหาเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืน