ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนกลางประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทย มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้
– ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม และสมุทรสงคราม
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่งเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ําท่วมฉับพลัน และน้ําป่าไหลหลาก สําหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทําให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าดําและ โรคแอนแทรกโนสในกล้วยไม้ โรครากเน่าโคนเน่าในส้มโอ เป็นต้น โดยตัดส่วนที่เป็นโรคไปทําลายนอกแปลงปลูกและทําความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร สําหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มเกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ําออกจากแปลงปลูกอย่าให้ตื้นเขินและติดขัด เพื่อป้องกันน้ําขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชเป็นเวลานานทําให้รากพืชขาดอากาศและต้นพืชตายได้
– กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ในช่วงนี้ ประเทศไทยอยู่ในช่วงของฤดูฝนทำให้การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย
– ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่งพื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกันอาจเกิดน้ําท่วมฉับพลันน้ําป่าไหลหลาก และน้ําล้นตลิ่ง เกษตรกรควรเฝ้าระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวรวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียนโรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา เป็นต้น หากพบต้นที่เป็นโรคควรรีบดูแลรักษาเพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังต้นอื่น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ําไม่ควรปล่อยให้น้ําฝนที่ตกบนดิน ไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทําให้สภาพน้ําเปลี่ยนสัตว์น้ําปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่ายและหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ํา เพื่อป้องกันน้ําแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ํา คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและภาคตะวันออก จะมีฝนตกหนักในบางแห่ง ในหน้าฝนนี้ อย่าลืม พกร่ม หรือเสื้อกันฝนออกไปด้วย
สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th แอปพลิเคชั่น thai weather Facebook youtube Channel twitter กรมอุตุนิยมวิทยา และ สถานีวิทยุกระจายเสียง ของกรมอุตุนิยมวิทยา
” อุตุนิยมวิทยายุคใหม่ แจ้งข่าวฉับไว ใส่ใจปวงชน”