วันที่ 24 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณป่าดงใหญ่วังอ้อ ตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมเวทีโครงการศึกษาวิจัยงานพัฒนาชุมชน : ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล ตามหลัก “บวร” : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการ ณ ศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณป่าดงใหญ่วังอ้อ ตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการจัดเวทีฯ ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด พัฒนาการจังหวัด ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน นักวิชาการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี พัฒนาการอำเภอ พัฒนากร เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณป่าดงใหญ่วังอ้อ และผู้ผ่านการอบรมจากศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณป่าดงใหญ่วังอ้อ รวมจำนวนทั้งสิ้น 26 คน
โอกาสนี้ ได้รับความเมตตาจาก พระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณ ป่าดงใหญ่วังอ้อ พร้อมด้วย นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี, นางวริชา เสาทอง พัฒนาการอำเภอเขื่องใน, นางชนันธร สุขรักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านแขม, ดร.บุญฟ้า ลิ้มวัฒนา ผู้อำนวยโรงเรียนบ้านวังอ้อ (ยอดสังข์วิทยา), นายยุทธศาสตร์ แก่นพันธ์ ผู้แทนเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุบลราชธานี เข้าร่วมเวทีวิจัยฯ โดยมีกิจกรรม ได้แก่ การนำเสนอและสรุปผลการจัดเก็บข้อมูลโครงการศึกษาวิจัยงานพัฒนาชุมชน : ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล ตามหลัก “บวร” : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงสรุปผลการวิพากษ์งานวิจัย โดยสรุปข้อคิดเห็นและสรุปข้อเสนอแนะของกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เยี่ยมชมสวนสมุนไพรภายในศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณ ป่าดงใหญ่วังอ้อ ซึ่งได้ดำเนินงานโครงการและกิจกรรมสนองพระราชดำริ ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรมการพัฒนาชุมชน (อพ.สธ.-พช.)
ท้ายที่สุด นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานวิจัยใจครั้งนี้ว่า “การวิจัยที่ดีสามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงและการประยุกต์ใช้กับ “โคก หนอง นา พช.” จะต้องมีการขยายผล และสร้างคุณค่าให้เกิดการต่อเนื่องตามหลัก “บวร” หรือ บ้าน วัด ราชการ โรงเรียน นำไปสู่การศึกษา เยาวชน โดยการจัดกลุ่มตามมิติ ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม และด้านการศึกษาให้หลากหลาย โดยมีนวัตกรรมคือการสร้างเป็นกองทุน โคก หนอง นา คือ Speed ทำให้ง่าย การทำให้เห็น, Product ผลผลิต, การพัฒนา สร้างความเข้มแข็ง อุทิศตนแบ่งปัน สร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชน และการเก็บข้อมูลนำไปสู่การทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อถ่ายทอดให้คนทั่วไปได้รับรู้และนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป”
#WorldSoilDay
#GlobalSoilPartnership
#UNFAO
#กรมการพัฒนาชุมชน
#CDD
#SEPtoSDGs
#SDGforAll@Kmitl
#WorldSoilDayCDD
อุบลราชธานี เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี : กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน และงานประชาสัมพันธ์ สพจ.อุบลราชธานี ภาพข่าว/รายงาน