ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นำทีมภาคีเครือข่ายการพัฒนาจังหวัด หรือ “ทีมจังหวัดศรีสะเกษ” นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการตรวจประเมินรางวัลของสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อเข้ารับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปี พ.ศ. 2564

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 น. ณ หอประชุมอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นำทีมภาคีเครือข่ายการพัฒนาจังหวัด หรือ “ทีมจังหวัดศรีสะเกษ” นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการตรวจประเมินรางวัลของสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อเข้ารับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปี พ.ศ. 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom Cloud Meetings โดยมีภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสัมคม และสถาบันการศึกษา ร่วมนำเสนอผลงานในครั้งนี้ ประกอบด้วย

ภาครัฐ ได้แก่ รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ

ภาคเอกชน ได้แก่ ประธานหอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดศรีสะเกษ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ

ภาคประชาสังคม ได้แก่ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด/ผู้แทนคณะกรรมการธรรมภิบาลจังหวัด ผู้แทนคณะกรรมการจริยธรรมจังหวัดผู้แทนภาคประชาสังคมในคณะ

กรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำ ผู้แทนเกษตรกร

สถาบันการศึกษา ได้แก่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และผู้อำนวยการโรงเรียนอีก 4 แห่ง

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้นำเรียนต่อคณะกรรมการตรวจประเมินรางวัลของสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อนำเสนอผลงานเข้ารับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 2 ผลงาน ดังนี้

1. PMQA รายหมวด หมวด 2 ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์และการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

2. PMQA 4.0

และได้นำเรียนถึงหลากหลายทางธรรมชาติและศักยภาพของจังหวัดศรีสะเกษ ดังนี้

ด้านการเกษตร เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศมีพื้นที่การเกษตรทั้งหมด 4.2 ล้านไร่ มีผลผลิตทางเกษตรที่มีคุณภาพ เช่น ข้าวหอมมะลิ หอมแดง กระเทียม ทุเรียน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อเป็นมหานครอินทรีย์ได้ในอนาคต

ด้านการท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีที่หลากหลายแต่ละปีสามารถสร้างมูลค่ารายได้กว่า 2,000 ล้านบาท

ด้านค้าชายแดน มีด่านชายแดนถาวรช่องสะงำ เป็นประตูการค้าชายแดนที่สำคัญของจังหวัดสามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของจังหวัดอารยธรรมขอมโบราณนครวัด นครธม ด้วยระยะทางเพียง 135 กิโลเมตร

จากศักยภาพดังกล่าว จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ “ดินแดนเกษตรปลอดภัย การค้าและการท่องเที่ยวครบวงจร”
โดยมีประเด็นการพัฒนา 5 ประเด็น ดังนี้

1. ยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานอย่างครบวงจร

2. ส่งเสริมขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยวและกีฬาสู่ความเป็นเลิศ
3. พัฒนาเมืองน่าอยู่สู่คุณภาพชีวิตประชาชนในทุกมิติ

4. การอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

5. การเสริมสร้างความมั่นคงและการค้าชายแดนเชื่อมโยงอาเซียน

ในการนี้ นายวัฒนา พุฒชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดศรีสะเกษได้ใช้กลไกการบริหารจัดการแบบประชารัฐที่มีทุกภาคีเครือข่าย ทั้งภายในและภายนอกจังหวัดเข้ามามีส่วนในการ “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไข ร่วมติดตาม”โดยยึดหลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนจังหวัดจึงได้ประกาศเป็นวาระ “1+ 10 วาระ การขับเคลื่อนจังหวัดสะเกษ บนเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน” มีหนึ่งภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมดำเนินการ คือ “การปกป้องเชิดชูสถาบัน” สำหรับ 10 วาระจังหวัด ส่วนหนึ่งเป็นการต่อยอดการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับเศรษฐกิจฐานราก ดังคำว่า “อะไร อะไร ก็ดี ที่ศรีสะเกษ” ผ่านวาระด้านเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ นายจรินทร์ รอบการ พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วย นายชัยยงค์ ผ่องใส ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นายคำพอง วรรณวัติ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน น.ส.ธนพร ขจิตเวทย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน และนักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการตรวจประเมินรางวัลของสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อเข้ารับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปี พ.ศ. 2564 ในส่วนของการขับเคลื่อนวาระจังหวัดศรีสะเกษ ด้านการพัฒนาผ้าทอ

โดยนายจรินทร์ รอบการ พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ ได้นำเรียนต่อคณะกรรมการฯ ด้านการขับเคลื่อนวาระด้านเศรษฐกิจ โดยการขับเคลื่อนวาระผ้าทอมือ “ศรีสะเกษ ธานีผ้าศรี…แส่ว” ซึ่งมุ่งพัฒนาผ้าพื้นเมืองเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ครบวงจร เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง ชุมชนพึ่งตนเองได้ โดยได้น้อมนำแนวพระราชดำริ “สืบสาน รักษา ต่อยอด” มาขับเคลื่อนผ้าอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ จากเดิมมีการทอผ้าลายลูกแก้วย้อมจากผลมะเกลือได้ผ้าสีดำขลับ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาการย้อมดั้งเดิมของชาวอีสานใต้ มีข้อจำกัดคือไม่หลากหลายในการใช้สวมใส่ เนื่องจากเป็นสีดำ และเป็นผ้าหน้าแคบ ไม่สะดวกต่อการแปรรูปเป็นเสื้อผ้า การแส่ว ด้ายที่ใช้แส่ว เป็นสีที่ฉูดฉาด ลายที่ใช้แส่วเป็นลายไม่หลากหลาย และได้นำเรียนถึงกิจกรรมการขับเคลื่อนฯ มีการดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

1.สร้างอัตลักษณ์ใหม่ จากเดิมมีผ้าสีเดี่ยวคือผ้าสีมะเกลือ เพิ่มเป็นผ้า จำนวน 5 ศรีประกอบด้วย ผ้าศรีลาวา ผ้าศรีกุลา ผ้าศรีมะดัน ผ้าศรีลำดวน และผ้าศรีมะเกลือ

2. สร้างแบรนด์ใหม่ เกิดเป็นแบรนด์ใหม่ ภายใต้ชื่อ “ผ้าทอเบญจศรี” โดยนำคำว่า “ศรี” ซึ่งเป็นคำแรกของจังหวัดศรีสะเกษ มาเป็นคำแรกของชื่อเรียกผ้า แต่ละประเภท ผ้า 5 ชนิด เพิ่มมูลค่า ด้วยการ “แส่ว”

3. มีการพัฒนามาตรฐาน โดยขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ผ้าทอมือ และพัฒนาผ้าได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.)

4. ส่งเสริมช่องทางการจำหน่าย

1) ศูนย์ OTOP จำหน่ายสินค้า OTOP จังหวัดศรีสะเกษ ทุกวันไม่มีวันหยุด ภายใต้แนวคิด “หน้าร้านเรามีขาย ออนไลน์เรามีส่ง”

2) ลานออดหลอดซอดศรีเกษ (ตลาดผ้าเบญจศรี) ทุกวันพฤหัสบดี วันศุกร์และวันเสาร์ แรกของเดือน

3) โครงการ “ศรีสะเกษ พร้อมใจนุ่งผ้าไทยใส่บาตร ทำความดีวิถีพอเพียง” ทุกวันอังคาร

4) เทศกาลดอกลำดวนบานฯ ปี 2564

5) ตลาดนัดคนไทยยิ้มได้ เก็บข้อมูล 22 อำเภอ 76 ตลาดฯ ในจังหวัดศรีสะเกษ

6) OTOP Mobile เก็บข้อมูล 22 อำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ

7) เส้นทางสายไหมผ้าทอเบญจศรี ของดีศรีสะเกษ (พช.ร่วมกับ ททท.นำคณะกลุ่มนักท่องเที่ยว ที่ชื่นชอบผ้าฯ เที่ยวชมวิถีชุมชนการทอผ้า)

8) งานฉลองครบรอบ 238 ปี จังหวัดศรีสะเกษ

9) ยอดจำหน่ายผ้าลายพระราชทาน “ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ”

10) การจำหน่าย On Line

ผลที่เกิดขึ้น

1.ยอดจำหน่ายสินค้า OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งการเพิ่มขึ้นในปี 2564 มีเป้าหมาย จำนวน 1,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ยอดจำหน่าย ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 จำนวน 1,022,513,791 บาท

2. การได้รับมาตรฐาน

1) ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ผ้าทอมือ จำนวน 2 ชนิด ประกอบด้วย

– เส้นไหมไทพื้นบ้านอีสาน กลุ่มบ้านท่าสว่าง ตำบลโนนสำราญ อำเภอกันทรลักษณ์

– ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI จำนวน 22 ราย

2) ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จากกลุ่มจำนวน 1,458 กลุ่ม ได้รับมาตรฐาน มผช. 157 ผลิตภัณฑ์ คิดเป็น 11%

3. สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จำนวน 210 กลุ่ม สมาชิกที่ได้รับผลประโยชน์ จำนวน 8,751 คน

พัฒนาชุมชนศรีสะเกษ : นครแห่งความสุข
กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน : รายงาน

https://sisaket.cdd.go.th/2021/08/09/1-4
https://www.facebook.com/188394051311223/posts/1979756272174983/