มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ด้านรับมรสุมของประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมายังคงมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน อนึ่ง พายุโซนร้อน “ลูปิต”บริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางเกาะไต้หวันในช่วงวันที่ 6-7 ส.ค. 64 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
– ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ําในบ่อเลี้ยงควรยกขอบบ่อให้สูงขึ้นและจัดเตรียมวัสดุสําหรับกั้นขอบบ่อและและอุปกรณ์ สําหรับสูบน้ําเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่มเกษตรกรควรทําทางระบายน้ําออกจากแปลงปลูกพืชและจัดเตรียมอุปกรณ์สําหรับสูบน้ําเอาไว้ให้พร้อมใช้งานเพื่อป้องกันน้ําท่วมพื้นที่การเกษตรเป็นเวลานานซึ่งจะ ทําให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
– กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ
อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ในช่วงนี้ ประเทศไทยอยู่ในช่วงของฤดูฝนทำให้การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย
– ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทําให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราเช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพาราและโรคใบติดในทุเรียน เป็นต้นส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ําในบ่อเลี้ยงควรยกขอบบ่อให้สูงขึ้นและจัดเตรียมวัสดุสําหรับกั้นขอบบ่อและและอุปกรณ์สําหรับสูบน้ําเอาไว้ให้พร้อมใช่งาน คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังพบแนวโน้มจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ในหน้าฝนนี้ อย่าลืม พกร่ม หรือเสื้อกันฝนออกไปด้วย
สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th แอปพลิเคชั่น thai weather Facebook youtube Channel twitter กรมอุตุนิยมวิทยา และ สถานีวิทยุกระจายเสียง ของกรมอุตุนิยมวิทยา
” อุตุนิยมวิทยายุคใหม่ แจ้งข่าวฉับไว ใส่ใจปวงชน”