กรมทางหลวง เปิดแบบ “ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา” ขนาด 6 ช่องจราจรพร้อมทางแยกต่างระดับ 8 แห่ง เพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ตะวันออกรองรับEEC

กรมทางหลวง ได้ดำเนินการโครงการสำรวจและออกแบบโครงข่ายสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ภาคตะวันออก ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมระหว่างกรุงเทพมหานครตามแนวถนนสุวินทวงศ์ (ทล.304) ถึงตัวเมืองฉะเชิงเทราไปสู่ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจฝั่งตะวันออกหรือโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีทางหลวงสายสำคัญที่ตัดผ่านตัวเมืองฉะเชิงเทรา คือ ทางหลวงหมายเลข 304 ทางหลวงหมายเลข 3200 ทางหลวงหมายเลข 314 และทางหลวงหมายเลข 315 เนื่องจากการพัฒนาของพื้นที่โดยรอบเป็นย่านอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ทำให้ยานพาหนะขนาดใหญ่ที่เดินทางระหว่างจังหวัดหรือภูมิภาค ที่ใช้เส้นทางนี้ผ่านตัวเมืองฉะเชิงเทรามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความแออัดขึ้นในการสัญจรย่านเขตเมือง ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทาง กรมทางหลวงจึงมีแนวคิดที่จะก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทราเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดในเขตตัวเมืองและเส้นทางเชื่อมโยง ช่วยส่งเสริมโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางถนนของจังหวัดฉะเชิงเทราให้มีความสมบูรณ์ ทำให้การเดินทางและขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อรองรับการขนส่งโลจิสติกส์ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ลักษณะโครงการเป็นวงแหวนรอบเมืองฉะเชิงเทรา ขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร โดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทางหลวงหมายเลข 304 (สุวินทวงศ์-ฉะเชิงเทรา) ประมาณ กม. ที่ 71+982 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 365 หรือแยกสตาร์ไลท์ โดยพื้นที่ที่แนวเส้นทางพาดผ่าน ประกอบด้วยพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอคลองเขื่อน อำเภอบางคล้า และอำเภอบ้านโพธิ์ โดยแบ่งการสำรวจและออกแบบ ออกเป็น 3 ตอน คือ

1. ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา (ด้านเหนือ) ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เชื่อมระหว่าง ตำบลวังตะเคียน อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า ตั้งแต่ กม. 0+000 ถึง กม. 20+150 (อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด ปี 2563 – 2564)

2. ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา (ด้านใต้) ส่วนที่ 1 ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร เชื่อมระหว่าง ตำบลสาวชะโงกอำเภอบางคล้า และตำบลคลองประเวศ อำเภอบ้านโพธิ์ ตั้งแต่ กม. 20+150 ถึง กม. 36+030 (ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ ปี 2563)

3. ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา (ด้านใต้) ส่วนที่ 2 ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร เชื่อมระหว่าง ตำบลคลองประเวศ อำเภอบ้านโพธิ์ และตำบลวังตะเคียน อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งแต่ กม. 36+030 ถึง กม. 50+835 (ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ ปี 2563)

กรมทางหลวงได้ออกแบบก่อสร้างทางแยกต่างระดับในโครงการทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา จำนวน 8 แห่ง คือ

1. บริเวณจุดตัดทางหลวง หมายเลข 365 (ทางแยกต่างระดับท่าไข่) ออกแบบสะพานยกระดับข้ามทางหลวงหมายเลข ๓๖๕ ขนาด ๓ ช่องจราจร และออกแบบสะพานเลี้ยวขวา ขนาด ๑ ช่องจราจร การจราจรพื้นราบมีจุดกลับรถใต้สะพาน และจุดกลับรถในแนวทางหลวงหมายเลข ๓๖๕

2. บริเวณจุดตัดทางหลวง หมายเลข 3200 (ทางแยกต่างระดับบางขวัญ) ออกแบบสะพานยกระดับข้ามทางหลวงหมายเลข 3200 และข้ามทางรถไฟ ขนาด 6 ช่องจราจร ทางเชื่อมแบบเลี้ยววน (Loop ramp) ขนาด ๒ ช่องจราจร สะพานเชื่อมทางหลวงหมายเลข 3200 ขนาด 1 ช่องจราจร และสะพานเชื่อมแยกออกจากทางหลวงหมายเลข 3200 ขนาด 1 ช่องจราจร การจราจรพื้นราบมีจุดกลับรถใต้สะพาน

3. บริเวณทางแยกทางหลวงหมายเลข 304 (ทางแยกต่างระดับเสม็ดใต้) ออกแบบเป็นสะพานยกระดับข้ามทางหลวงหมายเลข 30๔ ขนาด ๖ ช่องจราจร ทางเชื่อมแบบเลี้ยววน (Loop ramp) จำนวน ๒ ช่องจราจร และทางเชื่อมแบบวนกึ่งตรง (Semi – directional ramp) จำนวน ๒ ช่องจราจร การจราจรพื้นราบมีจุดกลับรถใต้สะพาน

4. บริเวณทางแยกทางหลวงหมายเลข 315 (ทางแยกต่างระดับหนองบัว) ออกแบบสะพานยกระดับข้ามทางหลวงหมายเลข ๓๑๕ และทางรถไฟสายฉะเชิงเทรา – สัตหีบ (เส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน) ขนาด ๖ ช่องจราจร และสะพานทางเชื่อม การจราจรพื้นราบมีจุดกลับรถใต้สะพาน

5. บริเวณทางแยกทางหลวงหมายเลข 314 (ทางแยกต่างระดับประเวศ 1) ออกแบบสะพานยกระดับข้ามทางหลวงหมายเลข ๓๑๔ ขนาด ๖ ช่องจราจร ทางเชื่อมลักษณะเลี้ยววน (Loop ramp) ขนาด 1 ช่องจราจร และสะพานยกระดับแบบทางเชื่อมวนกึ่งตรง (Semi-directional ramp) ขนาด 1 ช่องจราจร การจราจรพื้นราบมีจุดกลับรถใต้สะพาน

6. บริเวณจุดตัดทางหลวงชนบทสาย ฉช.3001 (ทางแยกต่างระดับประเวศ 2) ออกแบบสะพานยกระดับข้ามทางหลวงชนบทสาย ฉช.3001 ขนาด ๒ ช่องจราจร และสะพานข้ามคลองประเวศบุรีรมย์ ขนาด ๖ ช่องจราจร การจราจรพื้นราบมีจุดกลับรถใต้สะพาน

7. บริเวณจุดตัดทางหลวงชนบทสาย ฉช.2004 (ทางแยกต่างระดับบางเตย) ออกแบบสะพานยกระดับข้ามทางหลวงชนบทสาย ฉช.2004 ขนาด ๖ ช่องจราจร การจราจรพื้นราบเป็นวงเวียน

8. บริเวณทางแยกทางหลวงหมายเลข 304 (ทางแยกต่างระดับวังตะเคียน) ออกแบบสะพานยกระดับในแนวทางหลวงหมายเลข ๓๐๔ ข้ามทางเลี่ยงเมือง ขนาด ๓ ช่องจราจร และออกแบบทางลอด ลอดใต้ทางหลวงหมายเลข ๓๐๔ ขนาด ๔ ช่องจราจร

การจราจรพื้นราบเป็นวงเวียนและออกแบบก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ จำนวน 3 แห่ง โดยก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ -ฉะเชิงเทรา บนทางเลี่ยงเมืองด้านใต้ จำนวน 2 จุด ก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ สายฉะเชิงเทรา – อรัญประเทศ บนทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทราด้านเหนือ จำนวน 1 จุด ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง จำนวน 2 แห่ง ก่อสร้างจุดกลับรถ จำนวน 29 แห่ง งบประมาณ 33,200 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 23,500 ล้านบาท ค่าเวนคืน 9,700 ล้าน
บาท ปัจจุบันดำเนินการออกแบบรายละเอียดพร้อมประเมินศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ของโครงการทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทราด้านใต้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนทางเลี่ยงเมืองด้านเหนือคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2564 หลังจากนี้กรมทางหลวงจะดำเนินการในขั้นตอนการจัดทำข้อมูลเพื่อเตรียมการ ในการขอออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินประมาณ ปี 2565 – 2566 ทั้งนี้หากโครงการได้ดำเนินการในขั้นตอนการเวนคืนที่ดินแล้ว กรมทางหลวงจะดำเนินการเสนอของบประมาณดำเนินการก่อสร้างต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ประมาณ ปี 2567 แล้วเสร็จ ปี 2570

การจราจรพื้นราบเป็นวงเวียนและออกแบบก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ จำนวน 3 แห่ง โดยก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ -ฉะเชิงเทรา บนทางเลี่ยงเมืองด้านใต้ จำนวน 2 จุด ก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ สายฉะเชิงเทรา – อรัญประเทศ บนทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทราด้านเหนือ จำนวน 1 จุด ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง จำนวน 2 แห่ง ก่อสร้างจุดกลับรถ จำนวน 29 แห่ง งบประมาณ 33,200 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 23,500 ล้านบาท ค่าเวนคืน 9,700 ล้านบาท

ปัจจุบันดำเนินการออกแบบรายละเอียดพร้อมประเมินศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ของโครงการทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทราด้านใต้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนทางเลี่ยงเมืองด้านเหนือคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2564 หลังจากนี้กรมทางหลวงจะดำเนินการในขั้นตอนการจัดทำข้อมูลเพื่อเตรียมการ ในการขอออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินประมาณ ปี 2565 – 2566 ทั้งนี้หากโครงการได้ดำเนินการในขั้นตอนการเวนคืนที่ดินแล้ว กรมทางหลวงจะดำเนินการเสนอของบประมาณดำเนินการก่อสร้างต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ประมาณ ปี 2567 แล้วเสร็จ ปี 2570