วศ. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบเหล็กและเหล็กกล้า รายการ Carbon, Chromium, Copper, Manganese, Nickel, Phosphorus, Sulphur and Silicon in Carbon and Low Alloy Steel

กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ (ชน.สผ.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ดำเนินกิจกรรมทดสอบความชำนาญ (proficiency testing, PT) ห้องปฏิบัติการ ทดสอบเหล็กและเหล็กกล้า ประจำปี 2564 รายการ Carbon, Chromium, Copper, Manganese, Nickel, Phosphorus, Sulphur and Silicon in Carbon and Low Alloy Steel ได้เริ่มจัดส่งตัวอย่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 ให้แก่ ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 23 ห้องปฏิบัติการ โดยห้องปฏิบัติการต้องทดสอบตรวจวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของธาตุ Carbon, Chromium, Copper, Manganese, Nickel, Phosphorus, Sulphur and Silicon ที่อยู่ภายในตัวอย่างโลหะที่ทางผู้จัดเตรียมสำหรับการทดสอบ และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการ

การวัดหาตรวจวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของธาตุของโลหะ โดยวิธี spark emission spectrometer จะใช้สำหรับการวิเคราะห์ทดสอบหาปริมาณของธาตุผสมในตัวอย่างโลหะโดยการวัดความเข้มของแสงที่เกิดจากการคายพลังงานจากอะตอมของธาตุที่อยู่ในสภาวะถูกกระตุ้นด้วยพลังงานไฟฟ้าเปรียบเทียบกับชุดกราฟมาตรฐานของวัสดุอ้างอิงรับรองหรือวัสดุอ้างอิง (CRM/RM) โดยในกิจกรรมนี้จะใช้ตัวอย่างโลหะต่างชนิดกัน 2 ตัวอย่าง และกำหนดให้ใช้เครื่องมือ spark emission spectrometer เพื่อหาปริมาณธาตุ 8 ธาตุ ได้แก่ Carbon (C), Chromium (Cr), Copper (Cu), Manganese (Mn), Nickel (Ni), Phosphorus (P), Sulphur (S) และ Silicon (Si) ในการทดสอบการตรวจวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของธาตุของโลหะ มีประโยชน์มากมายในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆมากมาย เช่น อุตสาหรรมด้านเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์โลหะ และอุตสาหกรรมด้านเคมี ฯลฯ

วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมนี้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างความมั่นใจในคุณภาพทางเคมีของเหล็กด้วยกิจกรรมทดสอบความชำนาญ ให้แก่ห้องปฏิบัติการทดสอบในอุตสาหรรมเหล็กและเหล็กกล้า มุ่งเน้นประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ

– ทำให้มั่นใจในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง

– ยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการและยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

– ชี้บ่งปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ นำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาความสามารถของห้องปฏิบัติการ เช่น ปัญหาจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ การใช้เครื่องมือ หรือความสามารถของบุคลากร เป็นต้น

– เป็นประโยชน์ต่อห้องปฏิบัติการในการจัดการความเสี่ยง และเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพและบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการ

– ใช้ประกอบการยื่นขอการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025