โฆษกประกันสังคมชี้แจงการเยียวยาสถานประกอบการและผู้ประกันตน ม.33

สมาคมผู้ประกอบการรถเครนยื่นหนังสือ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น เพื่อขอรับการเยียวยาจากมาตรการปิดแคมป์งานก่อสร้าง เนื่องจากสมาคมผู้ประกอบการรถเครนมีสมาชิกอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศไทยและมีหลายบริษัทฯมีสถานะเป็นคู่สัญญาจ้างในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า รฟม. และโครงการก่อสร้างพื้นฐานประเภทอื่น ๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งมีพนักงานและลูกจ้างเป็นจำนวนมากปฏิบัติงานและบางส่วนได้พักอาศัยในแคมป์คนงานรวมถึงไซส์งานโครงการก่อสร้างต่างๆ สมาคมผู้ประกอบการรถเครนจึงมีความประสงค์ใคร่ขอความอนุเคราะห์ช่วยชดเชยผู้ประกอบการและลูกจ้างพนักงานที่ขาดรายได้จากกรณีเหตุสุดวิสัย

ทั้งนี้ท่านโฆษกสำนักงานประกันสังคม นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ จึงให้การชี้แจงว่า ประเภทกิจการที่ได้รับการเยียวยา ประกอบไปด้วย 4 ประเภท

1.กิจการก่อสร้าง

2.กิจการที่พักแรม

3.กิจการร้านอาหาร

4.กิจการบริการนันทการอื่นๆ

จากหนังสือที่สมาคมผู้ประกอบการรถเครนยื่นมานั้น ก็เข้าร่วมมาตรการเยียวยาจากทางประกันสังคม เพราะอยู่ในประเภทกิจการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างอะไรก็ตามจะได้รับการเยียวยาตามมาตรการทั้งหมด ส่วนในเรื่องของการใช้เงินในการเยียวยา จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย จะได้รับ 50% ของค้าจ้าง ไม่เกิน 7,500 บาท ซึ่งมาจากประกันสังคม

2. การเยียวยาช่วยเพิ่มจากทางภาครัฐ มาเยียวยานายจ้างและลูกจ้างเนื่องจากต้องยุติดำเนินการกิจการก่อสร้าง และในเรื่องเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว ที่ทำการผลิตเม็ดโฟมและพลาสติกของบริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด จ.สมุทรปราการ ผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ สำนักงานประกันสังคม จ.สมุทรปราการ ได้เข้าไปดำเนินการเยียวยานายจ้าง และลูกจ้าง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งค่าทำศพแก่ผู้เสียชีวิต ค่าสิทธิ์ประโยชน์ต่างๆ ในส่วนคนที่เจ็บป่วยจะได้รับค่ารักษาจนกว่าจะหายขาด และค่าขาดรายได้ 50%ของค่าจ้างไปตลอดระยะเวลาที่แพทย์ให้หยุดการทำงาน