พช.ศรีสะเกษ เดินหน้าแก้จน รุ่น 1 ใช้ประโยชน์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2562 “ชี้เป้า” เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจน รายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ให้สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตตนเอง และครอบครัวให้มีรายได้เพิ่มขึ้นผ่านเส้นความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์จังหวัด ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่ดี และตอบสนองต่อนโยบายกระทรวงมหาดไทยในการ เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน วันที่ 11 มิถุนายน 2564 เวลา 08.30-17.00 น. ณ ศาลาประชาคมอำเภอขุขันธ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษนายจรินทร์ รอบการ พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ มอบหมายให้ทีมวิทยากรสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ นำโดยนายคำพอง วรรณวัติ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน

 

นางสาวธนพร ขจิตเวทย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน พร้อมนักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด จัดกิจกรรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ ฝึกอบรมโครงการส่งเสริมสังคมน่าอยู่และพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจนรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (รุ่นที่ 1) กลุ่มเป้าหมายเป็นครัวเรือนยากจนฯเป้าหมายของอำเภอขุขันธ์ จากตำบลโคกเพชร สะเดาใหญ่ ปรือใหญ่ และตำบลห้วยสำราญ จำนวน 52 คน

โครงการส่งเสริมสังคมน่าอยู่และพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย จังหวัดศรีสะเกษ กิจกรรม พัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจนรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมย่อยที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมายเป็นครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ปี 2562 ตัวชี้วัดข้อ 22. รายได้เฉลี่ยของคนในครัวเรือนต่อปีต่ำกว่า 38,000 บาท ที่สามารถพัฒนาได้ และระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้​เป้า (TPMAP) จำนวน 411 คน ดำเนินการใน 3 กิจกรรมย่อย ประกอบด้วย

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 9 รุ่นๆ ละ 1 วัน ระหว่างวันที่ 11-17 มิถุนายน 2564 ือำเภอขุขันธ์มีกลุ่มเป้าหมาย 210 คน ดำเนินการอบรม จำนวน 4 รุ่น

กิจกรรมที่ 2 สาธิตอาชีพและสนับสนุนวัสดุสาธิตอาชีพ ครัวเรือนละ 4,400 บาท ตามอาชีพที่ครัวเรือนเป้าหมายต้องการ

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการดำเนินงานฯ โดยคณะติดตามฯ จังหวัดศรีสะเกษร่วมกับศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ (ศจพ.อ.) และทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับตำบล

ทั้งนี้ กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วัตถุประสงค์เพื่อให้ครัวเรือนยากจนรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. เข้าใจดังนี้

– ความเป็นมาของโครงการส่งเสริมสังคมน่าอยู่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย

– แนวทางการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่การปฏิบัติระดับบุคคล/ครัวเรือน

– การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

– การพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจน รายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

– แนวทางการจัดทำแผนชีวิต

– ค้นหาศักยภาพของครัวเรือน

– วิเคราะห์ข้อมูลของครัวเรือน เพื่อทำแผนชีวิตของครัวเรือน

– แนวทางการจัดกิจกรรมสาธิตอาชีพ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

– การแสดงความต้องการ/สำรวจความต้องการรับการ สนับสนุนกิจกรรมสาธิตอาชีพของครัวเรือน

– สาธิตอาชีพทอผ้าไหม เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู ฯลฯ ตามความต้องการของครัวเรือนฯ

– มอบหมายงาน

– แผนติดตามการจัดกิจกรรมสาธิตอาชีพ และการประกอบอาชีพของครัวเรือนเป้าหมาย

กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการสำรวจปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ตามนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน โครงการลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ด้วยการขจัดความยากจนในชนบท และตอบสนองต่ออุดมการณ์กระทรวงมหาดไทยในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่ประชาชน จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ของจังหวัดศรีสะเกษ พบว่ามีครัวเรือนยากจนในเขตชนบทที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ กระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ และเพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมครัวเรือนยากจนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ให้สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตตนเอง และครอบครัวให้มีรายได้เพิ่มขึ้นผ่านเส้นความยากจน จึงต้องพัฒนาคุณภาพชีวิต ครัวเรือนยากจนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และตอบสนองต่อยุทธศาสตร์จังหวัด ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่ดี

จากรายงานคุณภาพชีวิตของคนไทย ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2562 จังหวัดศรีสะเกษมีรายได้เฉลี่ย/คน/ปี 61,205.98 บาท อยู่ในลำดับที่ 74 ของประเทศ และเพื่อเป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมนโยบายรัฐบาล 11 ด้าน ข้อที่ 3 การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชน สร้างสรรค์ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ ได้จัดสรรงบประมาณจากจังหวัดศรีสะเกษ ให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ดำเนินโครงการส่งเสริมสังคมน่าอยู่และพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจนรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

การจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการจาก ท่านวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ โดยดำเนินกิจกรรมอบรมเรียนรู้ฯ แก่ครัวเรือนยากจน ตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) อย่างเคร่งครัด และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากท่านนายอำเภอขุขันธ์ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอขุขันธ์ และวิทยากรครูพาทำฯ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการอำนวยความสะดวกและสนับสนุนการฝึกอบรมเป็นอย่างดี

พัฒนาชุมชนศรีสะเกษ : นครแห่งความสุข
กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน : รายงาน