ปภ.แนะผู้ขับขี่ง่วงไม่ขับ… ลดเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภั ย (ปภ.) เตือนการง่วงหลับในขณะขับรถ      ทำให้ผู้ขับขี่มีปฏิกิริ ยาตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินช้าลง จึงเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุ บัติเหตุทางถนนในลักษณะรุนแรง พร้อมแนะผู้ขับขี่นอนหลับพักผ่ อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7 – 8 ชั่วโมง ไม่ทานยาที่มีฤทธิ์กดประสาท เพราะทำให้ประสิทธิภาพในการขั บขี่ลดลง ไม่ขับรถติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรหยุดรถพักทุกๆ 2 ชั่วโมง หรือระยะทาง 150 – 200 กิโลเมตร กรณีที่ขับรถระยะทางไกล ควรมีเพื่อนร่วมทางผลัดเปลี่ ยนกันขับรถ ไม่ฝืนขับรถเมื่อมีอาการง่วงนอน เพราะเสี่ยงต่อการหลับใน ควรจอดรถพักในบริเวณที่ปลอดภัย จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุ บัติเหตุและเพิ่มความปลอดภั ยในการเดินทาง

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า การหลับในขณะขับรถ      เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอุบั ติเหตุทางถนน เนื่องจากผู้ขับขี่ที่หลั บในจะมีอาการเหมือนคนหมดสติชั่ วขณะ ทำให้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเหตุ ฉุกเฉินช้าลง ส่วนใหญ่มักเกิดอุบัติเหตุในลั กษณะที่ผู้ขับขี่ไม่ได้เหยี ยบเบรก และพุ่งชนสิ่งกีดขวางอย่างรุ นแรงโดยไม่มีคู่กรณี เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภั ย (ปภ.) ขอแนะผู้ขับขี่ลดความเสี่ยงต่ อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากง่ วงหลับในขณะขับรถ ดังนี้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7 – 8 ชั่วโมง ไม่อดนอนติดต่อกันหลายวัน เพราะจะเกิดอาการง่ วงนอนสะสมและหลับในขณะขับรถ ไม่ทานยาที่มีฤทธิ์กดประสาท เพราะทำให้ประสิทธิภาพในการขั บรถลดลง ควรทานยาเมื่อเดินทางถึงจุ ดหมายแล้ว หรือปรับเวลาทานยาเป็นช่วงก่ อนนอน ร่างกายจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่  หลีกเลี่ยงการขั บรถทางไกลในเวลากลางคืน เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายต้ องการพักผ่อน ทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้   ไม่ขับรถติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรหยุดพักรถทุกๆ 2 ชั่วโมง หรือทุกระยะทาง 150 – 200 กิโลเมตร ในบริเวณที่ปลอดภัย   อาทิ ที่พักรถริมทาง สถานีบริการน้ำมัน กรณีขับรถในระยะทางไกล ควรมีเพื่อนร่วมทางผลัดเปลี่ ยนกันขับรถ หรือชวนพูดคุยขณะขับรถ จะช่วยป้องกันการหลับใน ไม่ฝืนขับรถเมื่อมีอาการง่วงนอน เพราะเสี่ยงต่อการหลับใน ควรจอดรถพักในบริเวณที่ปลอดภัย เพื่อปรับเปลี่ยนอิริยาบถ หรือพักหลับประมาณ 15 – 20 นาที จะช่วยคลายความอ่อนล้าที่ทำให้ ง่วงหลับใน ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ทั้งนี้ หากผู้ขับขี่มีอาการง่วงนอนให้ เปิดเพลงดังๆ จังหวะเร็วๆ เคี้ยวหมากฝรั่ง ดื่มเครื่องดื่มบำรุงกำลังหรื อคาเฟอีน ทานขนม หรือของขบเคี้ยว เปิดกระจกรถให้แรงลมปะทะใบหน้า จิกเล็บ หรือหยิกตัวเองให้เจ็บ จะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวชั่วขณะ จากนั้นให้จอดรถพักในบริเวณที่ ปลอดภัย จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุ บัติเหตุจากการง่วงหลับใน