อุบลราชธานี : พช.สิรินธร เร่งมือดำเนินกิจกรรม “โคก หนอง นา พช.” ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อพี่น้องประชาชนโดยเร็ว

วันที่ 16 พฤษภาคม 2564 ภายใต้การอำนวยการของ นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี นำโดย นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี นางสาวญาดาภา หอมหวล พัฒนาการอำเภอสิรินธร เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบ นายช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ลงพื้นที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ในพื้นที่อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

โดยการลงพื้นที่สนับสนุนโครงการฯ ในครั้งนี้ คณะสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสิรินธร ได้ติดตามการดำเนินกิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา” ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) จำนวน 17 ครัวเรือน เพื่อตรวจและควบคุมการดำเนินงานปรับพื้นที่ โคก หนอง นา (งานขุดสระน้ำ) โดยทำการวัดค่าระดับ BM และการตรวจนับปริมาตรดินตามสัญญาจ้าง โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” และ โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (งบกรมการพัฒนาชุมชน) พร้อมให้คำแนะนำการปลูกไม้ป่า 5 ระดับ หลักกสิกรรมธรรมชาติ ทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง ประกอบด้วย

1)นาย เหรียญ แสนทวีสุข บ้านนาเจริญ หมู่ที่ 5 ตำบลคันไร่ ขนาด 3 ไร่ สัดส่วน 1:2 ดินเหนียวปนทราย วัดปริมาตรก่อนขุด

2)นางนางทัศนีย์ ฉวีเนตร หมู่ที่ 5 บ้านนาเจริญ ตำบลคันไร่ ขนาด 1 ไร่ สัดส่วน 1:3 สภาพดินร่วนปนทราย วัดปริมาตรก่อนขุด

3)นางสาวณัฐวัฒน์ สิงห์สถาน บ้านนาเจริญ หมู่ที่ 5 ตำบลคันไร่ ขนาด 3 ไร่ สัดส่วน 1:2 สภาพดินร่วนปนทราย วัดปริมาตรก่อนขุด

4)นายสุชาติ โคตรพัฒน์ บ้านนาเจริญ หมู่ที่ 5 ตำบลคันไร่ ขนาด 3 ไร่ สัดส่วน 1:2 ดินร่วนปนทราย วัดปริมาตรก่อนขุด

5)นางอุไรวรรณ บุญชิต บ้านนาเจริญ หมู่ที่ 5 ตำบลคันไร่ ขนาด 3 ไร่ สัดส่วน 1:2 ดินร่วนปนทราย วัดปริมาตรก่อนขุด

6)วัดปริมาตรดินก่อนขุดของนางพนิดา ทองโบราณ บ้านนาเจริญ หมู่ที่ 5 ตำบลคันไร่ ขนาด 3 ไร่ สัดส่วน 1:2 ดินร่วนปนทราย

7)นางรัญจวน ทองโบราณ บ้านนาเจริญ หมู่ที่ 5 ตำบลคันไร่ สัดส่วน 1:2 ดินร่วนปนทราย ขนาด 3 ไร่ วัดปริมาตรดินก่อนขุด

8)นาย จันลา ฝางคำ บ้านโนนสูง หมู่ที่ 12 ตำบลนิคม ขนาด 1 ไร่ สัดส่วน 1 : 2 สภาพดินร่วนปนทราย วัดปริมาตรดินก่อนขุด

9)นางฐิติรัตน์ พวงสวัสดิ์ ขนาด 3 ไร่ บ้านโนนสูง หมู่ที่ 12 ตำบลนิคม สัดส่วน 1:2 ดินร่วนปนทราย วัดปริมาตรดินก่อนขุด

10)นางถม ฝางคำ บ้านโนนสูง หมู่ที่ 12 ตำบลนิคม ขนาด 3 ไร่ สุดส่วน 1 : 2 ดินร่วนปนทราย วัดปริมาตรดินก่อนขุดของ

11) นายประมวล พาสุก หมู่ที่ 11 บ้านคันไร่เหนือ ตำบลคันไร่ วัดปริมาตรดินก่อนขุด

12)นายสีฟอง สิงห์ศิลา บ้านคันไร่เหนือ หมู่ที่ 11 ตำบลคันไร่ ขนาด 3 ไร่ สัดส่วน 1:3 ระหว่างดำเนินการ

13)นางพิมพ์พร พันธ์เสาร์ บ้านคันไร่เหนือ หมู่ที่ 11 ตำบลคันไร่ ขนาด 3 ไร่ สัดส่วน 1:3 อยู่ระหว่างดำเนินการ

14) นายศิริวัฒน์ ใจภพ บ้านหนองเบ็ญ หมู่ที่ 1 ตำบลคันไร่ ขนาด 1 ไร่ สัดส่วน 1:2 ดินร่วนปนทราย ระหว่างดำเนินการ

15)นางทิพย์เกษร พุ่มแก้ว บ้านโชครังสรรค์ หมู่ที่ 13 ตำบลคันไร่ ขนาด 3 ไร่ สัดส่วน 1:2 ดำเนินการขุดเรียบร้อยแล้ว มีการปลูกป่า 5 ระดับ การปรับสภาพพื้นที่

16)นายทองใส เหมธร ขนาด 1 ไร่ บ้านโชครังสรรค์ หมู่ที่ 13 ตำบลคันไร่ วัดปริมาตรดินหลังการขุด

17) นายสุ่น ผลขาว บ้านสุขเกษม หมู่ที่ 14 ตำบลคันไร่ ขนาด 1 ไร่ สัดส่วน1:1 ดินเหนียว อยู่ระหว่างดำเนินการ

จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการอนุมัติดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” จำนวน 576,592,500 บาท โดยมีพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดฯ ทั้งสิ้น 3,960 แห่ง ถือว่ามากที่สุดในประเทศไทย เเบ่งเป็นพื้นที่ระดับตำบล (CLM) : 68 แห่ง เเละพื้นที่ระดับครัวเรือน (HLM) : 3,892 แห่ง เเละโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กลุ่มเป้าหมาย พื้นที่เรียนรู้ชุมชน จำนวน 791 แห่ง แบ่งเป็น พื้นที่ 1 ไร่ 620 แห่ง และพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 171 แห่ง ในส่วนของอำเภอสิรินธร มีพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” งบเงินกู้ COVID ในพื้นที่ทั้งสิ้น 276 แปลง แยกเป็น HLM 275 แปลง (พื้นที่ 1 ไร่ 107 แปลง, พื้นที่ 3 ไร่ 168 แปลง ) เเละ CLM 1 แปลง (พื้นที่ 15 ไร่ 1 แปลง) และมีการจ้างงานนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ จำนวน 20 คน โดยได้รับงบประมาณโครงการฯ รวม 30,903,400 บาท และมีความคืบหน้าในการดำเนินการจัดทำสัญญา PO ในภาพรวมทุกกิจกรรมแล้ว 18,960,842 บาท คิดเป็นร้อยละ 61.36 (ข้อมูลวันที่ 14 พฤษภาคม 2564)

โอกาสนี้ คณะตรวจติดตามสนับสนุน ได้พบปะกับเจ้าของแปลง และคณะทำงานที่ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการฯ ในพื้นที่ โดยชื่นชมแปลงที่ดำเนินการได้แล้วเสร็จตามแนวทางของหลักกสิกรรมธรรมชาติ และระยะเวลาที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด ก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูฝน หากมีเหตุขัดข้องหรือข้อสงสัย ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยทันที เพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน ส่งผลให้โครงการฯ สามารถดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชน เพื่อให้แปลงตัวอย่างสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบแก่คนในพื้นที่ โดยเฉพาะการพึ่งตนเองและสร้างทางรอดในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบัน

อุบลราชธานี เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี : งานประชาสัมพันธ์ สพจ.อุบลราชธานี และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสิรินธร…ภาพข่าว/รายงาน