เตาอั้งโล่ละลม โดย ฐาปนวัฒน์ ชินบุตร

คนกล่าวไว้ว่าการประกอบอาหารถ้าใช้เตาถ่าน อาหารจะมีรสชาติดีกว่าเตาแก็ส ยิ่งเป็นการปิ้งย่างอาหารจะมีกลิ่นที่เย้ายวนชวนให้นํ้าลายไหล ได้บรรยากาศในการรับประทาน เพราะความร้อนที่ลุกไหม้ถ่านไม้…ให้กลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ระคนกับควันที่หลายคนคุ้นชินมาตั้งแต่เด็ก ต่างกับกลิ่นฉุนของแก็สหุงต้มเตาถ่าน…เตาอั้งโล่จึงเป็นอุปกรณ์ที่คนไทยนำมาปรับใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

จากเส้นทางสาย 24 โชคชัย–เดชอุดม ถึงสี่แยกนาเจริญ เลี้ยวขวา เข้าถนนละลม–แซร ไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงชุมชนเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี บ้านละลม หมู่บ้านเล็ก ๆ พื้นที่ประมาณ 36ตารางกิโลเมตร ในอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ประชากรส่วนใหญ่ของบ้านละลมเป็นชาวไทยเชื้อสายเขมร ร้อยละ 80 ของคนที่นี่ยึดอาชีพเกษตรกรรม

   

อเด่น และมาริสา โสมา สองสามีภรรยาที่มีอายุย่างเข้า 30 ปี แม้เป็นช่วงชีวิตที่อยู่ในวัยทำงาน แต่ทั้งคู่ได้ตัดสินใจลาออกจากการทำงานในเมืองหลวง หันหลังให้โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์มุ่งหน้ากลับสู่บ้านเกิดพร้อมเงินทุนก้อนหนึ่ง ตามคำขอร้องของคุณตาพลอย ตะเคียนราม ผู้เป็นพ่อซึ่งมีอายุล่วงเลยเข้าปีที่ 65 แล้วคุณตาพลอย ยึดอาชีพปั้นเตาอั้งโล่เป็นช่องทางสร้างรายได้โดยสั่งสมประสบการณ์มายาวนานกว่า 50 ปี ด้วยอายุของคุณตาพลอยที่มากขึ้นทุกวัน ทำให้ อเด่นและมาริสารับปากผู้เป็นพ่อกลับมาเริ่มต้นฝึกฝนอาชีพปั้นเตาที่เขาถือว่าเป็นอาชีพอิสระ ไม่ต้องมีเจ้านายคอยสั่งการ ไม่ต้องคำนึงถึงกฎระเบียบต่างๆทั้งคู่นำเงินทุนที่เป็นนํ้าพักนํ้าแรงมาใช้ในการก่อสร้างโรงเตาขนาดไม่ใหญ่มากนักและขยายเนื้อที่ให้เพียงพอกับการจัดเก็บวัสดุที่เป็นกองดินขนาดใหญ่ แกลบดิบ แกลบดำ เตาเผา ซึ่งเป็นวัตถุดิบและเครื่องมือในการปั้นเตา นับถึงวันนี้ทั้งอเด่นและมาริสา รวมทั้งคนงานอีก 7 คน ได้ช่วยกันทำงาน ปั้นเตาอั้งโล่ละลม ส่งขายตามที่มีคนต้องการมานานกว่า 11 ปีแล้ว

การประกอบอาหารถ้าใช้เตาถ่านอาหารจะมีรสชาติดีกว่าเตาแก็สยิ่งเป็นการปิ้งย่างอาหารจะมีกลิ่นที่เย้ายวนชวนให้นํ้าลายไหลได้บรรยากาศในการรับประทาน

ทำไม…คิดทำเตาอั้งโล่

พัฒนาการของเตาอั้งโล่มีความเป็นมายาวนานหลายชั่วอายุคน นับจากเมื่อครั้งที่คนในสมัยก่อนใช้ก้อนเส้าเป็นอุปกรณ์ในการหุงหาอาหาร พัฒนาขึ้นตามวันเวลาและปรับให้เหมาะกับการใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งหลายชุมชนชาวบ้านยังยึดอาชีพเผาถ่านโดยนำไม้ที่เหลือใช้จากไร่นามาเป็นเชื้อเพลิงจนถึงวันนี้…ชาวบ้านในชนบทยังคงพิสมัย เตาอั้งโล่ไม่เสื่อมคลาย บ้างให้เหตุผลว่ารสชาติอาหารอร่อยกว่าใช้เตาแก๊สแก๊สถังละหลายร้อย ใช้เตาแบบนี้ประหยัดดีบางคนนิยมของเก่า ต่อให้ทุลักทุเลเพียงใดก็ยังใช้เตาอั้งโล่ด้วยความเคยชินบางครัวเรือนจุดติดไฟแบบชํ่าชอง ภายใน 5-10 นาที ก็เริ่มหุงหาอาหารทำกับข้าวได้ทันที รสชาติอาหารอร่อยกว่าใช้เตาแก๊ส แก๊สถังละหลายร้อย ใช้เตาแบบนี้ประหยัดดี

บางคนนิยมของเก่า ต่อให้ทุลักทุเลเพียงใดก็ยังใช้เตาอั้งโล่ด้วยความเคยชินบางครัวเรือนจุดติดไฟแบบชํ่าชอง ภายใน 5-10นาที ก็เริ่มหุงหาอาหารทำ กับข้าวได้ทันทีจุดนี้เองที่อเด่นเห็นช่องทางสร้างรายได้จากการบุกเบิกอาชีพของคุณตาพลอยผู้เป็นพ่อตา โดยจะยึดการปั้นเตาอั้งโล่เป็นอาชีพหลักเพราะมองว่าเกือบทุกหลังคาเรือนต้องมีเตา และหากตราบใดที่ยังมีการใช้ฟืน ถ่านไม้ และวัสดุอื่นๆ สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้คู่กับเตาอั้งโล่ แม้ในเมืองหลวงและเมืองใหญ่ๆ หลายบ้านจะมีเตาไมโครเวฟใช้กัน แต่เตาอั้งโล่ก็ยังคงขายได้ในร้านชำตามชุมชนต่างๆ โดยราคาเฉลี่ยของเตาอั้งโล่ขนาดเล็ก เบอร์ 5 ราคา 60 -70 บาท ขนาดใหญ่สุด เบอร์ 01 ราคา 230 บาท ส่วนอายุการใช้งานประมาณ 1- 2 ปีขึ้นอยู่กับการใช้งานและการดูแลรักษาของแต่ละครัวเรือน

ทำเตาอั้งโล่….ใช่ว่าไม่มีปัญหา

แม้การทำเตาอั้งโล่จะเป็นความรู้ที่อเด่นได้เรียนรู้ ฝึกฝนสืบต่อมาจากคุณตาพลอย แต่พอนำมาทำงานจริง ทำร่วมกับคนงานอเด่นพบว่าการที่จะฝึกคนงานให้ทำตามขั้นตอน ตามกระบวนการของการท ำเตาอั้งโล่นั้น ต้องมีการแบ่งหน้าที่ท ำงานตามลำดับเป็นขั้นตอนตั้งแต่การนวดดิน หมักดิน ขึ้นรูปเตา ผึ่งลม ตัดดิน ตากแห้งนำเข้าเตาเผา ขั้นตอนที่กล่าวมาต้องใช้คนงานที่มีฝีมือ มีความอดทนมีความชำนาญและต้องทำงานอย่างรวดเร็วช่วงชิงเวลา ช่วงชิงแสงตะวันที่แผดกล้าเพื่อตากเตาที่ผ่านการขึ้นรูป ก่อนทำการตัดแต่งให้สวยงามตามรูปแบบ ทุกขั้นตอนของการทำงานต้องพร้อมรับมือกับความแปรปรวนของสภาพอากาศที่ไม่ได้นัดหมายไว้ล่วงหน้าการทำเตาอั้งโล่เช่นทุกวันนี้ อเด่นบอกว่าสิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับเขาไม่ได้อยู่ที่การจำหน่าย แต่เป็นการหยุดงานของคนงานตามช่วงเวลาต่าง ๆ ทั้งการทำไร่นา งานศพ งานแต่ง งานชุมชนและงานประเพณีตามเทศกาลต่าง ๆ พอมีงานเหล่านี้การทำเตาอั้งโล่ในแต่ละขั้นตอนก็ตอ้ งหยุดตามไปด้วย ทำให้บางช่วงอเด่นผลิตเตาอั้งโล่ไม่ทันตามคำสั่งซื้อของลูกค้า หรือเตาอั้งโล่ที่ผลิตไว้แล้วก็มีขนาดไม่ตรงตามที่ลูกค้าต้องการในขณะนั้น

  

ชื่อเสียง คุณภาพ ช่วยเพิ่มตลาด

โรงเตาอั้งโล่ของอเด่น ได้ผลิตเตาอั้งโล่ออกมาหลายขนาดให้ลูกค้าเลือกใช้ตามความต้องการ ส่วนราคาของเตาอั้งโล่แต่ละขนาดก็ไม่สูงจนเกินไป เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่แต่ละบ้านเน้นความประหยัดอเด่นนำเตาอั้งโล่ไปขายในหลายๆ อำเภอของจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีลูกค้าประจำ เช่น ลูกค้าในอำเภอบัวเชด ขุขันธ์ภูสิงห์ และต่างจังหวัด เช่น ยโสธร ร้อยเอ็ด สุรินทร์ เป็นต้น

รูปแบบการขายมีทั้งลูกค้ามารับเตาจากโรงงาน และอเด่นนำไปส่งตามที่ลูกค้าสั่งมา เรียกว่าเตาอั้งโล่ผลิตออกมาแล้ว มีตลาดรองรับสร้างรายได้ให้อเด่นประมาณ 40,000 – 50,000 บาทต่อเดือนหลังจากหักค่าจ้างคนงานแล้ว ส่วนที่เหลือก็นับว่ายังสามารถเลี้ยงชีพได้สำหรับการอยู่ในสังคมชนบทภาคอีสานกับการทำงานโรงเตาอั้งโล่ควบคู่ไปกับการทำนา…มองอนาคตของเตาอั้งโล่ละลมในยุคของเขาที่แม้ทุกวันนี้จะได้รับความนิยมจากคนส่วนใหญ่ที่ได้ใช้เตาของเขาและใช้มาอย่างต่อเนื่องเพราะราคาประหยัด คุณภาพดีทนทานในการใช้งาน…สิ่งเหล่านี้…ทำ ให้อเด่นต้องคิดอย่างรอบคอบ และยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในการปรับปรุงปรับเปลี่ยนสำ หรับเขา ณ เวลานี้เพราะท่ามกลางวิถีชีวิตของคนไทยที่ต้องเร่งรีบ สิ่งใดที่จะช่วยอำ นวยความสะดวกให้เราสามารถทำ อะไรๆ ได้อย่างคล่องตัวสะดวกรวดเร็ว น่าจะเป็นที่ต้องการของลูกค้ามากกว่าเตาอั้งโล่ละลม

ด้วยชื่อเสียงเตาอั้งโล่ละลม เตาที่เราเชื่อว่าคนในพื้นที่สมัย นี้ต้องรู้จัก เพราะเรื่องราวการทำเตาเริ่มขึ้นมากว่า 50 ปีแล้ว ตั้งแต่รุ่นคุณตาพลอย จนกระทั่งอเด่นมารับช่วงสานต่อก็เป็นเวลากว่า 10ปี เวลาที่ยาวนานเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของเตาอั้งโล่ละลมที่เป็นที่ยอมรับ ชื่อเสียงที่บอกต่อๆ กันไป ช่วยเพิ่มช่องทางการขายการขยายตลาดเตาอั้งโล่ละลม จึงไม่ใช่ปัญหาสำหรับ อเด่นเลย

 

  

อเด่น…มองอนาคตของเตาอั้งโล่ละลมในยุคของเขาที่แม้ทุกวันนี้จะได้รับความนิยมจากคนส่วนใหญ่ที่ได้ใช้เตาของเขาและใช้มาอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาประหยัด คุณภาพดี ทนทานในการใช้งาน แต่อเด่นก็ยังมีแนวความคิดอยากจะพัฒนาคุณภาพเตาที่ทำอยู่ให้เป็นเตาประหยัดพลังงาน มีรูปแบบทันสมัยให้พลังงานความร้อนสูง ประหยัดเชื้อเพลิง รวมทั้งอยากปรับรูปแบบเตาอั้งโล่ให้ตรงกับความต้องการของตลาด เช่น เตาสำหรับการขายหมูกระทะเตาขนมครก แต่การจะปรับปรุงคุณภาพของเตาตามที่อเด่นคิดไว้…

นั่นหมายความว่าเขาอาจต้องปรับขั้นตอนการผลิต ต้องลองผิดลองถูก ต้องใช้งบประมาณ ต้องหาตลาดใหม่สำหรับเตาที่วัตถุประสงค์การใช้งานเปลี่ยนไป

แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาการทำเตาอั้งโล่ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ

อเด่น โสมา โทร.09-5602-1234