เกษตร…มาอีกแล้ว? โดย ประสาท เกศวพิทักษ์

อ่านหัวเรื่องหลายคนคงสับสนว่าอะไรมา? ที่มาอีกแล้วคือปัญหาด้านการเกษตรที่เกษตรกรออกมาเรียกร้องรัฐบาล ที่ผ่านมาเคยได้เขียนถึงปัญหาราคาข้าวตกตํ่า ข้าวหอมมะลิถุงละ 5 กิโลกรัม ราคาเคยขาย210-280 บาท วันนี้ราคาตกลงเหลือ 135-170 บาทขึ้นกับเครื่องหมายการค้า เกษตรกรจะเหลืออะไร ผลิตข้าวแล้วขายขาดทุนตันละประมาณ 1,000 บาท อย่าว่าจะ รํ่ารวยเลย จะใช้หนี้ยังไม่มี มีแต่เพิ่มหนี้ สถานภาพของชาวนาในอีก 20 ปี ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จะเป็นอย่างไร?

วันนี้ที่ต้องเขียน เกษตร…มาอีกแล้ว ก็เพราะเห็นข่าวในเรื่องการเรียกร้องของชาวสวนยางที่ออกมาร้องขอความช่วยเหลือจากทางราชการเนื่องจากราคายางในเดือนมิถุนายน60 ตกลงกิโลกรัมละ 10-15 บาท ทั้ง ๆ ที่ช่วงดังกล่าวมียางออกมามาก เพราะเป็นช่วงที่เกิดนํ้าท่วมภาคใต้และยางอยู่ในระยะฟักตัว เราคงต้องกลับไปพิจารณาข้อเรียกร้องและข้อเสนอแนะจากบุคคลในวงการยาง ตามที่ ทางหนังสือพิมพ์มติชนสรุปให้ในฉบับวันที่ 8 มิถุนายน 2560 เริ่มจากนายทศพล ขวัญรอด ประธานเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและปาล์มน้ำ มันแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ปีที่แล้วสวนยางกระทบแล้ง 4 เดือน นํ้าท่วม 4เดือน ทำให้ปริมาณยางหายไป ร้อยละ 50 ราคายางที่ตกขณะนี้เนื่องจากการบิดเบือนตลาดของผู้ค้ายางรายใหญ่และจากนโยบายการขายยางในสต็อกยางของทางราชการโดยข้อเรียกร้อง “ไม่เห็นด้วยกับการแทรกแซง แต่ให้ทางราชการออกมาซื้อยางนำราคาตลาด วันละ 1 บาท “เป็นข้อเสนอที่แปลกไม่ให้แทรกแซงยาง แต่แทรกแซงราคาปัญหาคือซื้อยางแล้วไม่ให้ขาย ของเก่าก็ยังเหลือ ของใหม่เอาไปทำอะไร?

นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย สรุปปัญหาราคายางตก มีปัจจัย 2-3 ประเด็น ประกอบด้วย ค่าเงินไทยอ่อนตัว การผลิต ยางของชาวสวนที่ไม่ได้คุณภาพ และทาง กยท. มนี โยบายจะขายยางในสต็อก 1 แสนตัน ข้อเสนอแนะ 1. ให้กฎหมายและเงินกองทุนเพื่อสร้างเสถียรภาพราคา 2. หาตลาดส่งออกใหม่ เช่น รัสเซีย กับยุโรป 3. นำเงินกองทุนมาช่วยเหลือค่าครองชีพเกษตรกรชาวสวนยาง 4. ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้เป็นรูปธรรม ข้อเสนอแนะส่วนใหญ่ เคยดำ เนินการมาแล้ว โดยเครือข่ายนี้ เช่น การแปรรูป ทางกลุ่มนี้เคยได้งบประมาณไปสร้างโรงงานต้นแบบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดระยอง ส่วนการนำกฎหมายการควบคุมยางมาใช้ ค่อนข้างเห็นด้วย แต่ไม่เห็นด้วยที่จะใช้เงินกองทุนเพื่อการครองชีพ สำหรับการแปรรูป อยากให้ตรวจสอบโรงงานต้นแบบ ที่ใช้งบหลายสิบล้าน ปัจจุบันเป็นอย่างไร มีการดำเนินการได้ผลตามที่ใช้งบประมาณหรือไม่

นายศักดิ์สฤษดิ์ ศรีประศาสตร์ แกนนำชาวสวนยางรายย่อยภาคใต้ กล่าวว่า ราคายางตกลงเนื่องจากการริหารงานผิดพลาด และขอให้นายกรัฐมนตรีอย่างหลงเชื่อข้อมูลจากแกนนำกลุ่มต่าง ๆ มากนัก โดยข้อผิดพลาดการบริหาร คือ 1. นายกเลือกผู้บริหารกิจการยางไม่เหมาะสม ทำเพื่อนายทุนมากกว่า 2. คณะกรรมการยางทำงานขาดประสิทธิภาพ โดยตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายของรัฐขาดการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง มีการบิดเบือนกลไกราคาจากบริษัทใหญ่ ๆ การใช้งบประมาณมาแก้ไข จริง ๆ แล้วไม่เกิดประโยชน์กับเกษตรกรชาวสวนยาง

นอกจากนั้น มีการนำนโยบายไปใช้ในทางก่อให้เกิดการทุจริต ข้อสังเกตเหล่านี้เป็นเรื่องน่าสนใจ และควรมีการตรวจสอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย ที่เป็นเกษตรกรส่วนใหญ่นายสาย อิ่นคำ คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า รัฐบาลต้องไม่เอื้อประโยชน์นายทุนกลุ่มธุรกิจยางพาราให้เอาเปรียบเกษตรกร ต้องตัดวงจรอุบาทว์ สร้างเสถียรภาพราคายางพารา การปั่นราคายางพาราให้ตกตํ่า จากการปั่นสถานการณ์เรื่องนํ้ายางสดชนิดข้นว่าคุณภาพตํ่า ทำให้ผู้ผลิตยางรถยนต์บางบริษัทไม่รับซื้อ ในขณะเดียวกัน กยท. และรัฐบาลไม่ได้แสดงความจริงใจในการตรวจสอบและแก้ไขปัญหา แม้จะมี พ.ร.บ.ควบคุมยาง แ ต่เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องละเลย ที่จะนำ มาใ ช้ข้อเสนอของกรรมการท่านนี้ คือให้นายกใช้ ม.44 ให้นำยางร้อยละ 40 ของ ที่ผลิตได้มาใช้ในประเทศ เช่น ทำ ถนนยางล้อต่าง ๆ เป็นต้น  ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายที่คณะกรรมการยังมองแต่ปัญหาของคนอื่น ทั้ง ๆ ที่คนที่จะแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน คือ คณะกรรมการ กยท. ที่ท่านเป็นอยู่

นายสุพจน์ วงศ์ใจ กรรมการเครือข่ายเกษตรกรยางพารา อ.ภูซาง จังหวัดพะเยา กล่าวว่า ราคายางตกตํ่าเกิดจากการบิดเบือนกลไกตลาด โดยท่านกล่าวว่า หากทางราชการมอบโควต้าการส่งออกให้สถาบันเกษตรกร ร้อยละ 40 ราคายางจะกระเตื้อง ข้อเสนอท่านน่าสนใจ แต่ว่าสถาบันเกษตรกรจะมีศักยภาพในการส่งออกและสามารถแข่งขันกับภาคเอกชนหรือไม่? เพราะปัจจุบันการส่งออกยางพาราทางราชการก็เปิดเสรีในการค้าอยู่แล้ว ที่สำคัญก็คือการผลิตยางของเกษตรกรและสถาบัน มีขบวนการได้มาตรฐานเป็นที่น่าเชื่อถือหรือไม่ การส่งออกยางแผ่นรมควันและยางแท่งไปยังบริษัทผู้ใช้รายใหญ่นั้น ผู้ใช้หรือผู้ซื้อบางรายระบุเลยว่าโรงงานที่จะสั่งสินค้าจะต้องผ่านการตรวจสอบของผู้ซื้อเท่านั้น ซึ่งโรงงานที่ผ่านการตรวจรับรองจะเป็นโรงงานของบริษัทยางใหญ่ ๆ เท่านั้น

จากการวิเคราะห์ของกูรูด้านยางด้านต่าง ๆ ล้วนทราบปัญหา และก็เป็นปัญหาเดิม ๆ เมื่อ 10-20 ปีที่แล้ว การเรียกร้องก็เป็นข้อเสนอแบบเดิม ๆ ที่เคยทำมาแล้ว และก็เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่าการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน อาทิการปั่นราคาของบริษัทยางรายใหญ่ 5-6 รายทกี่ ลา่ วหาเราวา่ ปนั่ ราคา เพอื่ บดิ เบอื นกลไกตลาด ทกุ คนจะกล่าวอย่างนั้นทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรไม่ทราบถ้าเป็นจริง บริษัทยางน่าจะปั่นให้ได้กิโลกรัมละ100 บาท ไม่ดีกว่าหรือ การกล่าวหานี้มีมาตั้งแต่ปี 2543ที่ประเทศไทยสามารถผลิตยางได้ประมาณ 3 ล้านตัน (มีพื้นที่ปลูกประมาณ 18 ล้านไร่ จนปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางมากถึง 23 ล้านไร่เศษ มีผลผลิตประมาณ 5ล้านตัน ดู ๆ จากปริมาณการผลิตยางโลกที่มากกว่า 10 ล้านตัน กล่าวได้ว่าไทยมีสัดส่วนการผลิตเกือบร้อยละ 50 แต่ไม่สามารถเป็นผู้กำหนดราคายางในตลาดโลกได้? แล้วจะปั่นราคาได้หรือ?

การแทรกแซงราคาโดยเสนอให้ซื้อนำ ราคาให้ราคายางสูงกว่าในตลาด ๆ ทุกวัน จะมีผลต่อการพัฒนาราคายางได้หรือ ในอดีตเราเคยแทรกแซงยางและรัฐขาดทุนทุกครั้ง ปีต่อมาหลังแทรกแซงราคายางก็ยังขาดเสถียรภาพ ต่อมามีการเล่นวลีว่า ทำการสร้างมูลค่าสินค้ากันชน (Buffer Stack) ทั้ง ๆ ที่หลักการและวิธีการก็คือการแทรกแซงยาง ผลรัฐก็ขาดทุนอีก และปีนี้ยางก็มีปัญหาราคายางตกตํ่าเหมือนเดิม โครงการเหล่านี้ถ้าเป็นไปได้รัฐควรออกมาประกาศความเสียหายเหมือนการจำนำข้าวและหาผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย อีกประการ เกษตรกรจะได้ไม่เรียกร้องให้ดำเนินการอีกการแปรรูปที่ขอให้ดำเนินการ ก็เห็นด้วยกับการเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้สูงขึ้น แต่ก็ควรหับกลับไปดูว่าเคยสร้างโรงงานต้นแบบอุตสาหกรรมยาง ที่เคยสร้างหลายแห่ง อาทิ จังหวัดระยอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ว่าโรงงานเหล่านี้สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ให้ไว้กับคณะกรรมการนโยบายยางหรือไม่โรงงานยังใช้ได้และทำไมไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อหาทางแก้ไขและไม่ให้เกิดผลเสียหายในการดำเนินการอีกการที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) คิดจะผลิตยางล้อยี่ห้อ กยท. ขึ้นเป็นความคิดที่ดี แต่ต้องพิจารณาถึงต้นทุน คุณภาพ การตลาดให้ดีว่าผลประโยชน์เกิดกับใคร อยากทราบปัญหา ลองศึกษาจากบริษัทยางล้อของไทยว่า ทำไม คนไทยไม่รู้จักยางล้อยี่ห้อของไทย และทำไมไม่ค่อยพบในร้านขายยางล้อในประเทศ แต่ประเทศเพื่อนบ้านรู้จักและแพร่หลายดี ปัญหานี้ต้องก่อนร่วมทุนนะสำหรับการแปรรูปยางเบื้องต้น ไทยเคยผลิตยางแผ่นรมควันมากกว่า 1.5 ล้านต้น แต่ปัจจุบันไทยผลิตประมาณ 700,000 ต้น ทั้ง ๆ ที่เราเป็นผู้นำของโลก แต่กลับไปผลิตยางก้อนถ้วยที่ราคาถูกกว่า แล้วนำไปแปรรูปเป็นยางแท่งขายแข่งกับมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนามที่น่าเสียดายรัฐเคยสร้างโรงงานอัดก้อนเพื่อลดต้นทุนให้เกษตรกร ผู้ผลิตยางแผ่นรมควันประมาณ 140 โรงงานสามารถใช้ได้ขณะนี้ 5-10 โรงงาน โรงงานที่เหลือเป็นอย่างไร อย่าให้รัฐเสียงบประมาณมากกว่า 400 ล้านบาทไปเปล่า ๆ ตรวจสอบดูและหาประโยชน์ หรือหาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยครับสรุป ปัญหาจากราคายางที่ตกตํ่า เกษตรกรได้เรียกร้องมากมายตามที่กล่าวมาแล้ว ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความช่วยเหลือในระดับหนึ่ง ข้อเขียนนี้จึงเป็นการให้ข้อมูลถึงการแก้ไขราคายางในอดีตที่ทำ มาส่วนใหญ่ไม่ได้แก้ไขราคายางอย่างยั่งยืน และผลประโยชน์จากโครงการมักจะไม่ทั่วถึง ได้กับบุคคลบางกลุ่มบางพวกเท่านั้น รัฐจึงควรมีมาตรการคัดกรองให้ดี อย่าให้ยางเป็นพืชการเมือง ที่แก้ไขปัญหาเพื่อผลทางการเมืองเท่านั้น

สุดท้ายอยากจะฝากคณะกรรมการ กยท. และผู้เกี่ยวข้องว่าจะแก้ไขอย่างไร? ให้เกิดความยั่งยืน การปั่นราคาถามว่าทำได้ไหม หลายท่านคงตอบว่าทำได้ จริง ๆ ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นแต่คงจะไม่ใช่หัวเสือในประเทศ ที่น่ากลัวคือการสมคบของสมาคมผู้ค้ายางนานาชาติที่มีการประชุมหารือกันประจำการจะสู้กับผู้ค้า สถาบันเกษตรกรผู้ผลิตจากประเทศผู้ผลิต จะต้องร่วมมือกันให้เข้มแข็งและมั่นคงยั่งยืน เช่น ทุกประเทศประกาศขายยางราคาเดียวกันในอัตราที่เหมาะสมกับต้นทุน ถ้าสามารถทำได้ดังกล่าวผู้ซื้อก็ต้องซื้อราคานี้ เสมือน OPEC ที่เป็นผู้กำหนดราคานํ้ามันดิบ ปัญหา คือ จะทำอย่างไร? ให้เกิดการรวมตัวขึ้น

ประการต่อมาทางรัฐก็ต้องใช้ พ.ร.บ. ควบคุมยางให้เกิดประโยชน์ ปัญหายางล้นตลาดเป็นเพราะการกำหนดนโยบายที่ผิดพลาดและขาดการกำกับดูแลด้านนโยบายยางของไทย ที่ปล่อยให้มีการบุกรุกทำลายป่าปลูกยางจนล้นตลาด การจะแก้ปัญหาให้ปลูกพืชอื่นแซมก็ต้องคิดดูให้ดี ข้อมูลปี 2559 ของสำนักงานเศรษฐกิจต้นทุนการผลิตข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ถั่วเหลืองยางพารา ทุกพืชขายได้ตํ่ากว่าต้นทุน ถั่วลิสง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรด ปลูกแล้วมีกำไร แต่ถ้าปลูกเพิ่มขึ้นจะมีปัญหาด้านราคาอีกหรือไม่การกำ หนดนโยบายหรือแก้ปัญหาต้องพิจารณาทุกแง่ ทุกมุม เพื่อไม่ให้เกษตรกรปลูกพืชอื่น ๆ มาเรียกร้องอีกครับ