เกษตรบริการ โดย ประสาท เกศวพิทักษ์

เกษตรบริการ” เป็นเรื่องใหม่ที่ฟังดูแปลก ๆ อะไร คือ เกษตรบริการ? และจะบริการอะไร” การเกษตรกรรมตั้งแต่อดีตนับร้อย ๆ ปี คือ ธุรกรรมหรือกิจกรรมการผลิตที่ดำเนินการโดยเกษตรกรมาตั้งแต่ต้นน้ำจนจบขบวนการคือ ขายผลผลิตปัจจุบันโลกได้มีการพัฒนาและก้าวสู่สังคมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ การพัฒนาทุกอย่างย่อมไม่ได้ดีหรือเป็นบวกไปหมด

หลาย ๆ อาชีพได้มีการเปลี่ยนแปลง บางอาชีพล้มหายตายจากไปแต่ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดอาชีพใหม่ ๆ แต่เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยทักษะและอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะเห็นชัด ๆ เช่น การค้าปลีกที่เราเรียกว่าร้านชำ หรือโชห่วย ล้มหายไปแต่จะเป็นการค้าบริการในรูปเครือข่ายที่เป็นการค้าและบริการทุกชนิดที่มีเครื่องหมายการค้าต่าง ๆ เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น แฟมิลี่มาร์ทที่กระจัดกระจาย สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าตลอด 24 ชม.

การเกษตรกรรมเองก็ถูกกระแสโลกาภิวัตน์ปรับเปลี่ยนให้ต้องมีการพัฒนา เพราะนับวันจะมีการแข่งขันสูง ผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มีคุณภาพแต่ราคาถูก การเกษตรกรรมสมัยใหม่จึงต้องเน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับนโยบาย“ประเทศไทย หรือ ไทยแลนด์ 4.0”

ข้อเท็จจริงมีเกษตรกรสักกี่รายที่สามารถก้าวสู่กรรมวิธีการผลิตก้าวหน้า ตามยุทธศาสตร์ “ไทยแลนด์ 4.0” ปัจจุบันเกษตรกรรุ่นใหม่จึงหนีหายจากภาคการเกษตรไปสู่ภาคอื่น ๆ ที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่าเพราะพื้นที่ถือครองการเกษตรเฉลี่ยทั้งประเทศ รายละประมาณ25 ไร่ มีลูก 2 คน ใช้แรงงานในภาคการเกษตร รวมพ่อเป็น 3 แรงละ8 ไร่ จะมีปัญหามากในการปรับสู่ “เกษตรก้าวหน้า” ตามนโยบายหรือยุทธศาสตร์ “ไทยแลนด์ 4.0”

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงกำหนดแผนงานให้สอดคล้องกับ “ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0” โดยการจัดทำการเกษตรกรรม แปลงใหญ่ เพื่อให้สามารถนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาใช้ในขบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยนำนักวิชาการมา?ำงานแบบบูรณาการทุกสาขา โดยนำขั้นตอน “การเกษตรดีที่เหมาะสม” (Good Agriculture Practices :GAP) มาเป็นโจทย์ในการปรับแนวทางการปฏิบัติ เพื่อให้การผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผลผลิตได้คุณภาพตามาตรฐานความปลอดภัย

ที่ผ่านมาได้เคยเขียนถึงข้อจำกัด ปัญหาที่มีต่อนโยบาย“ไทยแลนด์ 4.0” ด้านเกษตร ว่าการขับเคลื่อนด้วยมาตรฐาน GAPยังเป็นปัญหาสำหรับ “การขับเคลื่อนการเกษตรสู่ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งสามารถจะสรุปได้ดังนี้

ปัญหาของทางราชการ ที่เป็นหน่วยงานที่จะต้องผลิตนวัตกรรม เทคโนโลยี ตลอดจนจะต้องเป็นตัวจักรกลที่สำคัญในการขับเคลื่อนและผลักดันให้ภาคเกษตรกรรมแบบเดิม ๆ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตที่ใช้ไปสู่มาตรฐานการผลิตสมัยใหม่ ที่เน้นการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ยังมีปัญหาและข้อจำกัด

  1. มีหน่วยงานที่ศึกษา วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีจำนวนมาก แต่ขาดการบรูณาการ บางครั้งทำในเรื่องเดียวกัน ขาดการบูรณาการ ให้เป็นเอกภาพ ที่สำคัญผลงานการศึกษายังเป็นผลการศึกษา ที่ยากต่อการปฏิบัติ
  2. ผลการศึกษาวิจัยมีมากแต่เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงและไม่สามารถนำไปใช้ได้เลย กรณีของสมรรถนะที่ดินที่กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการสำรวจ และจัดสมรรถนะไว้ เกษตรกรยังสามารถเข้าถึงข้อมูลลำบาก นักวิชาการบางท่านก็ยังไม่สามารถนำไปใช้และแปรค่าได้อย่างถูกต้อง
  3. ข้อมูลที่มีเป็นข้อมูลแยกส่วน เช่น เรื่องดินก็จะอยู่ที่กรมพัฒนาที่ดิน การจัดการและปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการผลิตพืชแต่ละชนิดอยู่ที่กรมวิชาการเกษตร การจะปลูกพืชจะต้อง…ผู้จัดการโครงการจะต้องเป็นผู้รอบรู้ทุกด้านตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ที่เรามักเรียกว่า “Smart officer” หรือนักวิชาการผู้ปราดเปรื่อง สามารถรอบรู้ปฏิบัติได้ทุกเรื่อง…จัดการดินให้เหมาะสมกับชนิดพืช พืชหลายชนิดสามารถปลูกได้ดีในดินกรด ถ้ามีการปรับปรุงดิน เพื่อยกระดับความเป็นกรดด่าง ก็อาจจะทำให้ต้นทุนการผลิตพืชสูงขึ้น
  4. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านบริหารจัดการทั้งระบบ จะเห็นว่าจากการจัดทำโครงการเกษตรแปลงใหญ่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบความรับผิดชอบ ด้านจัดการดินให้กับกรมพัฒนาที่ดินด้านพันธุ์ ด้านเขตกรรม ด้านการอารักขาพืช ให้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร ด้านการตลาดและการจำหน่าย มอบให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ นอกจากนั้น มอบให้หัวหน้าส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นผู้จัดการโครงการ จากโครงการเกษตรแปลงใหญ่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาบูรณาการ บริหารจัดการร่วมกัน ข้อเท็จจริงการทำการเกษตรไม่สามารถจ้างนักวิชาการแต่ละด้านได้ แต่ผู้จัดการโครงการจะต้องเป็นผู้รอบรู้ทุกด้านตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ที่เรามักเรียกว่า “Smart officer” หรือนักวิชาการผู้ปราดเปรื่อง สามารถรอบรู้ปฏิบัติได้ทุกเรื่อง
  5. ขาดการสนับสนุน ส่งเสริมอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องและทั่วถึงการด?ำเนินการจะคล้อยตามผู้กำหนดนโยบาย รัฐมนตรี) มากกว่าจะดำเนินการตามนโยบาย เมื่อมีการเปลี่ยนผู้บริหาร นโยบายก็หายจะเห็นได้จากมาตรฐานการผลิต GAP ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นมาตรฐานการผลิตที่ดีต่อเกษตรกร ต่อผู้บริโภค ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่นโยบายนั้นขาดการส่งเสริม ผลักดันอย่างจริงจังเปลี่ยนอธิบดี เปลี่ยนรัฐมนตรี นโยบายนี้ก็จางหายไป GAPมีการด?ำเนินการมากว่า 15 ปี แต่มีเกษตรกรที่ผ่านมาตรฐานการผลิตไม่ถึง 1 ล้านราย ทั้งๆ ที่เกษตรกรไทยมีมากกว่า 5.5 ล้านราย และสังคมส่วนใหญ่ที่เป็นผู้บริโภคยังไม่รู้ว่า GAP คืออะไร? ดีอย่างไร?

สรุป : ปัญหาของภาครัฐค่อนข้างมาก ทั้ง ๆ ในเรื่องปรับการวิจัยสู่เทคโนโลยีที่สะดวกใช้ พร้อมทั้งต้องมีการเผยแพร่เทคโนโลยีนวัตกรรม ให้ทั่ว ทั้งสามารถเข้าใช้ได้สะดวก ที่สำคัญประการสุดท้าย คือการพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารจัดการที่รอบรู้ และ…ผู้จัดการโครงการจะต้องเป็นผู้รอบรู้ทุกด้านตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ที่เรามักเรียกว่า “Smart officer” หรือนักวิชาการผู้ปราดเปรื่อง สามารถรอบรู้ปฏิบัติได้ทุกเรื่อง…มีประสบการณ์ในทุกด้าน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จปัญหาของเกษตรกร ประการแรกจำนวนเกษตรกรที่มีจำนวนมากกว่า 5.5 ล้านครัวเรือน หรือมากกว่า 20 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 30-40 ของประชากร ก็เป็นปัญหามากในการพัฒนาโดยสามารถจำแนกปัจจัยที่เกิดปัญหาการพัฒนาประกอบด้วย

  1. เกษตรกรขาดความรู้ โดยเฉลี่ยเกษตรกรไทยมีการศึกษาน้อยทำให้การปรับใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ลำบากและยากมากกว่าปกติการถ่ายทอดและพัฒนาองค์ความรู้สำหรับเกษตรกรจะต้องปรับให้เหมาะสมกับสถานะภาพของเกษตรกร
  2. เกษตรกรปกติมีพื้นที่ถือครองน้อยกว่า 25 ไร่ ต่อครัวเรือนนับว่าพื้นที่ถือครองน้อยมากไม่เหมาะสมกับการจัดหาและซื้อเครื่องจักรกล และเทคโนโลยี ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงเพราะใช้แรงงานมนุษย์เป็นส่วนใหญ่
  3. เกษตรกรขาดเงินทุนและการเข้าถึงแหล่งทุน หลายท่านอาจกล่าวว่ามีแหล่งทุนมากมาย จริงอยู่แหล่งทุนมีมากแต่การเข้าถึงแหล่งทุนมีปัญหา เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มีหนี้นอกระบบเป็นส่วนใหญ่ การเข้าถึงแหล่งทุนของทางราชการ หรือแหล่งทุนในระบบมีปัญหา เพราะหลักทรัพย์อยู่ในมือของนายทุนนอกระบบ ดังนี้รัฐต้องเร่งรีบแก้ไข มิฉะนั้นที่ดินก็จะตกอยู่ในมือของนายทุน ท?ำให้เกษตรกรเปลี่ยนฐานะเป็นลูกจ้างนายทุน ท?ำให้ช่องว่างระหว่างคนมีและคนจนห่างกันมากขึ้น
  4. เกษตรกรยังขาดความรู้ด้านดิจิทัล ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีของทางราชการสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ แต่ไม่ถึงมือเกษตรกรดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีของทางราชการสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ แต่ไม่ถึงมือเกษตรกร ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีสู่ระบบใด ๆ ก็ตามต้องเป็นระบบที่เกษตรกรยอมรับและสะดวกในการเข้าถึง

…การแก้ไขอีกวิธีหนึ่งที่กำลังแพร่หลายในต่างประเทศ คือตั้งองค์กรมาให้บริการด้านการเกษตร หรือที่เรียกว่า เกษตรบริการ (Agricultural Services Provider)” คือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการกลุ่มเกษตร…

สรุป : ปัญหาเกษตรกร นอกจากจะเป็นปัญหาที่เกิดจากตัวเกษตรกรเองแล้ว ปัญหาด้านเศรษฐสังคมของเกษตรกรก็เป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐหรือราชการจะต้องคำนึงถึงและจะต้องปรับแก้ด่วนเพื่อทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และผันตัวเองเข้าสู่ขบวนการ“ประเทศไทย หรือไทยแลนด์ 4.0” ได้อย่างมีประสิทธิภาพจากปัญหาทั้งภาคราชการ และปัญหาของเกษตรกร ล้วนมีผลต่อการขับเคลื่อนระบบเกษตรกรรมไทย ผันตัวสู่ “เกษตรกรรมยุคไทยแลนด์ 4.0” ทั้งสิ้น การปรับปรุงและพัฒนาในส่วนราชการอาจใช้เวลาไม่มากนัก แต่การพัฒนาภาคเกษตรกร ที่มีประชากรจำนวนมากนับเป็นเรื่องใหญ่ ที่จะสามารถแก้ปัญหาและข้อจำกัด ในเวลาจำกัดได้ยกตัวอย่าง การแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรที่ทางราชการกำลังแก้ไขอยู่ก็มีข้อจำกัด ที่กำ หนดกรอบหนี้ไว้อาจไม่สอดคล้องกับหนี้สินของเกษตรกรทีมีอยู่วิธีการแก้ไขเพื่อให้การพัฒนาเกษตรกรรมสมัยเก่า ๆ เข้าสู่“เกษตรกรรม ยุคไทยแลนด์ 4.0” ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ำลังดำเนินการอยู่ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนขบวนการผลิตแบบแยกส่วน ต่างคนต่างทำ เป็นการผลิตแบบมีส่วนร่วมเป็นเกษตรกรรมในระบบเครือข่าย หรือเกษตรแปลงใหญ่ ซึ่งการดำเนินการยังอยู่ในวงแคบ และมีปัญหาด้านการจัดการการแก้ไขอีกวิธีหนึ่งที่กำลังแพร่หลายในต่างประเทศ คือตั้งองค์กรมาให้บริการด้านการเกษตร หรือที่เรียกว่า เกษตรบริการ(Agricultural Services Provider)” คือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการกลุ่มเกษตร หรือเกษตรกรที่ร่วมเข้าโครงการผลิตแบบเครือข่าย (Agricultural Network)องค์การนี้จะให้บริการอะไร?ให้บริการที่องค์กรจะเข้าดำเนินการจะเริ่มตั้งแต่ วางระบบการผลิตที่สอดคล้องกับตลาด

ทั้งนี้อาจจะเป็นการผลิตในรูป…การแก้ไขอีกวิธีหนึ่งที่กำลังแพร่หลายในต่างประเทศ คือตั้งองค์กรมาให้บริการด้านการเกษตร หรือที่เรียกว่า “เกษตรบริการ(Agricultural Services Provider)” คือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการกลุ่มเกษตร…พันธะสัญญา (Contract Farming) ที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผลเป็นที่ยอมรับของ ผู้ซื้อและเกษตรกร แทนการเกษตรแบบมีพันธะสัญญาที่เกษตรกรเสียเปรียบบริการขั้นตอนต่อจากการวางแผนการผลิต คือดำเนินการเตรียมดิน ปรับปรุงดินให้สอดคล้องกับชนิดพืช มีการเขตกรรมที่ถูกต้องตามหลักวิชากร ตั้งแต่ ไถพรวน ปลูกพืช มีการใช้พันธุ์เหมาะสม การบริการดูแลหลังการปลูก จะเป็นเรื่องการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำอย่างถูกต้อง ตามอายุพืชที่เหมาะสมตามคำแนะนำ ก่อนใส่ปุ๋ยจะมีการกำจัดวัชพืชโดยวิธีกล เพื่อลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชการป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีการใช้สารเคมีที่ทางราชการอนุญาต และใช้ในเงื่อนเวลาที่เหมาะสม ไม่มีผลตกค้างในผลิตผล เพื่อทำให้ผลผลิตได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับขอบผู้บริโภคการบริการด้านการเก็บเกี่ยว ก็จะต้องมีเครื่องจักรกลเก็บเกี่ยวที่มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดความเสียหายกับผลผลิตน้อยที่สุดโดยทุกขั้นตอนที่ให้บริการจะเน้นการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมเครื่องจักรกล มากที่สุด เพื่อลดปัญหาแรงงานที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ทำให้การผลิตใน “ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0” มีต้นทุนต่ำ มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

องค์กร เกษตรบริการ” นี้ควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากภาคราชการ โดยการบริการจะคิดราคาต่ำอย่างไรก็ได้ เพราะเป็นการดำเนินการขององค์กร ที่ไม่ใช่ส่วนราชการ องค์กรนี้จะขาดทุนปีละ 100,000 ล้านบาท แล้วเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีการกินอยู่ดีขึ้น และไม่มีปัญหาการผลิตแล้วขาดทุน “เกษตรกร”ก็จะมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามนโยบายของทางราชการภายใน 20 ปี ได้อย่างถาวร ยั่งยืน ดีกว่าแจกเงินหรือไปช่วยเหลือเกษตรกร จนมีผลกระทบต่อสนธิสัญญาการค้าโลก (WTO) ในอนาคต