วันที่ 1 เมษายน 2564 เวลา 09.00 น นายเจริญ สีวาโย พัฒนาการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้นายวิทยา ชุมภูคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ร่วมประชุมคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน) ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
โดยมีนายปรีชา บัววิรัตน์เลิศ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน) พร้อมด้วยนายจิรชัย มูลทองโร่ย และผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน) ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประชุมติดตามหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงประเด็นสำคัญต่าง ๆ
ในการนี้นายวิทยา ชุมภูคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ได้นำเสนอข้อมูล และให้ข้อมูลการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา”พัฒนาชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ แก่คณะผู้ตรวจ ฯ ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการในพื้นที่ 4 อำเภอ 15 ตำบล 2,060 ครัวเรือน ได้แก่ อำเภอแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา อำเภอดอยเต่า อำเภอสารภี ประกอบด้วย 7 กิจกรรม (โครงการภายใต้กรอบนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตาม พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019)
หลังจากนั้น เวลา 13.00 น. คณะกรรมการฯได้ลงพื้นที่ อำเภอสารภีติดตามดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา”พัฒนาชุมชน พื้นที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายเลอยศ พุทธชิโนรสสกุล นายอำเภอสารภี ได้กล่าวต้อนรับคณะฯ นายชูชาติ บุญธรรม พัฒนาการอำเภอสารภี หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าพัฒนาชุมชนอำเภอสารภี นพต.สารภี และครัวเรือนเป้าหมาย โคก หนอง นา ให้ข้อมูล การดำเนินงาน ณ ศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชน (ศูนย์สารภี) ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี อำเภอสารภีมีครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household lab model for quality of life : HLM) จำนวน 34 ครัวเรือนและ พื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of Life : CLM) ระดับตำบล จำนวน 1 แห่ง และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) จำนวน 10 คน
ซึ่งได้ดำเนินพัฒนาพื้นที่ของตนเอง ด้วยวางแผน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ/ครัวเรือนต้นแบบ ในการทำงานตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ไปประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้สอดคล้องกับ พื้นที่ของตน เพื่อที่จะช่วยให้เกิดความยั่งยืน มั่นคง และสมดุลในระยะยาว ต่อไป
#สถานีข่าวพช เชียงใหม่CNS ทีมงานสารสนเทศ พช.เชียงใหม่ รายงาน