ผัก รักษ์โลก

ทำงานอะไรอยู่ ผมถามลูกศิษย์ที่เคยสอนและไม่ได้ติดต่อกัน มานานหลายปี ส่วนตัวผมเองก็เลิกอาชีพสอนหนังสือไปหลายปีเช่นกัน “หนูไปปลูกผักอินทรีย์ขายที่วังน้ำเขียวค่ะ” เป็นคำตอบที่ผมค่อนข้างแปลกใจว่าลูกศิษย์ที่จบจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานศึกษาที่แวดล้อมด้วยความเจริญในยุคสมัยใหม่จะกลับไปเป็นเกษตรกร หนูหนีพ่อไปทำตั้งแต่เรียนจบ พ่อหนูไม่อยากให้หนูเป็นเกษตรกร เพราะงานหนัก จนกว่าจะหาเงินได้แต่ละบาทต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ แถมยังตายผ่อนส่ง เพราะใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช ควบคุมโรค และแมลงอยู่ด้วย แต่หนูอยากเป็นเกษตรกร หนูจึงสมัครเข้าร่วม โครงการผลิใบต้นกล้าการเกษตร” ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร (สปก.) ให้ทุนเริ่มต้นให้กับบัณทิตจบใหม่ให้ลองไปทำอาชีพเกษตรกรพร้อมกับจัดสรรที่ทำกินและที่พักให้ด้วยทุนเริ่มต้น 10,000 บาท

  

เกศวรางค์ เชื้อหมอ หรือ เกศ ก็ได้เริ่มชีวิตของการเป็นเกษตรกรหลังเรียนจบ ปลูกผักอินทรีย์คือสิ่งที่เกศ เลือก เพราะที่วังน้ำเขียวอากาศดี และผักอายุสั้นสามารถเก็บเกี่ยวได้หลายรอบในหนึ่งปี และไม่ไกลจากเมืองใหญ่แหล่งของลูกค้าเกศวรางค์ เป็นคนจังหวัดน่าน เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงการประกอบอาชีพของพ่อแม่ และคนในชุมชน ในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร อย่างแปลกใจ พื้นที่ป่าที่เคยเขียวชอุ่มเมื่อครั้งเยาว์วัยกลับถูกแทนที่ด้วยไร่ข้าวโพดปีแล้วปีเล่า จนป่าที่อุดมสมบูรณ์กลับกลายเป็นไร่ข้าวโพดกว้างไกล สุดลูกหูลูกตา และยังมีการใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชกันอย่างมากมาย จนเป็นาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งของคนในจังหวัดน่าน ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ด้วยความตั้งใจที่จะประกอบอาชีพเกษตรกร เกศวรางค์ จึงตั้งใจว่าจะปลูกผักอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมี ในการควบคุมและกำจัดโรคและแมลงจะทำได้ไหมและในที่สุดเธอสามารถทำได้ ด้วยพื้นที่ ที่ได้รับการจัดสรรเพียงผักรักษ์โลก 2 ไร่ เธอจึงได้ทำการเกษตรแบบประณีต ด้วยตัวคนเดียวซึ่งเธอบอกว่าทำได้ไหว ดูแลผักได้ ซึ่งแตกต่างจากการทำไร่ข้าวโพดของพ่อที่ใช้พื้นที่เป็นร้อยไร่ เพื่อที่จะให้มีรายได้ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ แต่เกศใช้พื้นที่เพียงสองไร่ แต่ได้รายได้มากกว่าการปลูกข้าวโพดร้อยไร่และยิ่งดีกว่าที่ไม่ได้สัมผัสกับสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อทั้งตัวเองและสิ่งแวดล้อม และผู้บริโภคนอกจากปลูกขายเองแล้วหนูยังช่วยรับซื้อผักของเกษตรกรไร่ใกล้เคียงกันไปช่วยขายให้ด้วยที่กรุงเทพ ซึ่งในทุกวันอังคารเกศ จะเหมารถตู้เพื่อบรรทุกผักจากไร่ที่วังน้ำเขียวไปขายยังตลาดนัดตรงลานจอดรถติดกับศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนำผักไปส่งลูกค้าประจำอีกหลายบ้านในคราวเดียวกัน หนูช่วยรับซื้อเพราะไม่อยากให้เขาถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง เพราะหนูรู้ว่ากว่าจะปลูกผักขึ้นมาได้แต่ละต้นไม่ใช่ของง่าย เพราะเราไม่มีตัวช่วยอย่างสารเคมี ชนิดต่าง ๆ หนูอยากเรียนรู้การปลูกผัก การทำการตลาดจากผักที่วังน้ำเขียวเพื่อไปเป็นต้นแบบการทำเกษตรที่น่าน บ้านเกิดหนูค่ะหนูไม่อยากให้วงจรการเกษตรแบบเชิงเดี่ยวใช้พื้นที่และสารเคมีเยอะเกิดขึน้ ที่บ้านหนูอย่างไม่มที่สิ้นสุด หนูอยากกลับ ไปทำ เกษตรแบบรัก ษ์โลก ทั้งรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ป้องกันสิ่งแวดล้อม และผลิตของที่ไม่ปนเปื้อนสารเคมีให้กับผู้บริโภคปัจจุบันเกศวรางค์ยังคงเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการปลูกผักและช่องทางการจำหน่ายผลิตผลด้วยตนเอง เพื่อรอคอยการกลับไปขยายผลที่น่านบ้านเกิด หากท่านสนใจจะเยี่ยมชมสวนผักหรือติดต่อซื้อผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์ ติดต่อเกศวรางค์ได้ที่ Line id katewarang1992 หรือโทรศัพท์ 0896369360

หนึ่งกำลังใจและการสนับสนุนจากพวกเราคือหนึ่งกำลังใจ และแรงผลักดันที่จะช่วยให้เธอก้าวต่อไป กับลูกพระเกี้ยวที่เปื้อนดินแต่จิตใจช่างกล้าแกร่งและงดงามคนนี้

 

โดย  ดร. สุบิน หินจันทร์