GDP กับดัชนีวัดความก้าวหน้า ของประเทศ โดย สายธาร อุทกนิมิตร

หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า GDP

GDP คืออะไร? …มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชนตัวเล็ก ๆ อย่างเราแค่ไหนกัน… GDP ย่อมาจาก Gross Domestic Product หรือผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศ เป็นมูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ GDP ได้มาจากการบริโภค การลงทุน การใช้จ่ายของภาครัฐ บวกกับตัวเลขของการส่งออกสินค้าและบริการ ลบตัวเลขของสินค้าและบริการที่นำเข้ามาด้วย โดยไม่ว่าผลผลิตนั้นจะเป็นผลผลิตที่ได้จากทรัพยากรภายในหรือภายนอกประเทศ

GDP ยังสามารถใช้วัดมาตรฐานค่าครองชีพของประชาชนในประเทศนั้น ๆ ได้อีกด้วย ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ BOTจะประมาณการล่วงหน้า และจะประกาศออกมาให้ประชาชนทั่วไปทราบเป็นรายไตรมาส

ภาพจาก China Internet Watch

การวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสามารถวัดได้ 2 วิธี

  1. การวัดรายจ่าย (Expenditure Approach) ที่จ่ายให้สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

GDP = รายจ่ายเพื่อบริโภค + รายจ่ายเพื่อการลงทุน +รายจ่ายของรัฐบาล + รายจ่ายสุทธิของต่างประเทศที่ซื้อสินค้าผลิต

ในประเทศ

  1. การวัดรายได้ (Resource Cost – Income Approach)ที่ได้จากการขายสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

GDP = ค่าจ้างและเงินเดือนลูกจ้าง + รายได้เจ้าของธุรกิจ ส่วนตัว + กำไรของบริษัท (รายได้ผู้ถือหุ้น) + ดอกเบี้ย (รายได้เจ้า หนี้) + ค่าเช่า (รายได้เจ้าของสินทรัพย์) + ภาษีธุรกิจทางอ้อม + ค่า เสื่อมราคา + รายได้สุทธิของคนต่างชาติในประเทศ

เนื่องจากวิธีการวัด GDP ด้วยรายจ่ายเป็นวิธีที่พื้นฐานที่สุด ในการวัด ดังนั้นจึงใช้สมการในการคำนวนดังนี้

C หรือ Consumption คือ มูลค่าการบริโภคของภาคเอกชน (Private Consumption) ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลแทบทั้งหมด เช่น ค่าเช่า ค่ายา แต่ไม่รวมการซื้อบ้านหลังใหม่

I หรือ Investment คือ การลงทุนของธุรกิจในสินค้าทุนเช่น การก่อสร้างเหมืองแร่ใหม่ การซื้อซอฟต์แวร์ การซื้ออุปกรณ์

เครื่องจักร ส?ำหรับโรงงาน เป็นต้น การใช้จ่ายโดยครัวเรือนเพื่อซื้อ

ภาพและข้อมูลจาก Money Channel

ธนาคารโลก (World Bank) มีการคาดการณ์ไว้ว่า GDP ของ ประเทศไทยในปี 2560 จะขยายตัวเพิ่มเป็น 3.2% จากเดิม 3.1% ส่วน การส่งออกโต 1% พร้อมมีคำแนะนำให้ประเทศไทยปฏิรูปภาคบริการ ให้ดียิ่งขึ้นเพื่อผลักดันเศรษฐกิจให้โตได้ตามศักยภาพโดยไม่ต่ำกว่า 4% ธนาคารโลกได้มีการปรับการคาดการณ์การเติบโต ของเศรษฐกิจไทย หรือ GDP ปี 2560 เป็น 3.2% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตได้เพียง 3.1% เท่านั้นโดยได้รับปัจจัยหนุนจากการบริโภค การลงทุนของภาคเอกชนในประเทศและการใช้จ่ายภาครัฐ ประกอบกับความสำเร็จในการเริ่มโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่จะช่วยดึงดูดเงินลงทุนจากภาคเอกชนและเสริมสร้างภาพลักษณ์ทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น นอกจากนี้ภาคการท่องเที่ยวยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่องส่วนภาคการเกษตรเริ่มฟื้นตัวหลังผ่านพ้นสถานการณ์ภัยแล้งสำหรับการค้าและการส่งออกในปี 2560 ธนาคารโลกยังคาดการณ์อีกว่า จะสามารถขยายตัวได้ประมาณ 1% จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ โดยจะเห็นการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3และไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมา และเชื่อว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องไปจนถึงปี 2560 แต่ยังต้องระมัดระวัง เนื่องจากปัจจุบันยังมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายการค้าของประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากกรณีอังกฤษออกจากสหภาพยุโรปประเทศไทยจำเป็นต้องหาปัจจัยใหม่มาขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคบริการเพื่อช่วยให้ประเทศได้หลุดพ้นจากการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศมีรายได้สูง ควรปฏิรูปภาคบริการให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น โดยเน้นการพัฒนาด้านบริการให้มาเป็นปัจจัยหลักใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และช่วยผลักดันให้สัดส่วนของภาคบริการไม่ต่ำกว่า 70% ของGDP ทั้งหมดจะส่งผลให้ GDP ของประเทศไทยเติบโตได้เต็มประสิทธิภาพหรือเติบโตไม่ต่ำกว่า 4% แน่นอน