วว. ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบครบวงจร 3 ห้องปฏิบัติการเด่น ลดการแพร่ระบาดโควิด – 19

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ครบวงจร เพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ครอบคลุม 3 ห้องปฏิบัติการเด่น ได้แก่ บริการทดสอบห้องความดันลบสำหรับแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ บริการทดสอบหน้ากากอนามัยรองรับความต้องการภาคอุตสาหกรรม และระบบเฝ้าระวังการทดสอบระบบรางผ่านเครือข่าย smart  interactive  Laboratory มุ่งสร้างความเข้มแข็งผู้ประกอบการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

บริการทดสอบห้องความดันลบ สำหรับแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ ให้บริการ ดังนี้

ตรวจสอบคุณภาพอากาศ หาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ มาตรฐาน ISO 14698

วัดอัตราการไหลของอากาศที่ไหลผ่านพื้นที่ช่องระบายอากาศ โดยใช้เครื่องมือวัดความเร็วลม (Air Velocity  Meter)

วัดค่าความดันอากาศภายในห้อง เทียบกับความดันภายนอก (Differential Pressure)

วัดอุณหภูมิ (Temperature) และความชื้นสัมพัทธ์ (Relative humidity)

ตรวจวัดการรั่วไหล (leak test) ของอนุภาคออกจากห้องความดันลบ

วว. ได้ร่วมทดสอบห้องความดันลบ ณ โรงพยาบาลศิริราช และพร้อมให้บริการ/คำแนะนำปรึกษาแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ

บริการทดสอบหน้ากากอนามัย รองรับความต้องการภาคอุตสาหกรรม ดังนี้

ทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียว มอก.2424-2562 และ ASTM F2100

ทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หน้ากาก N95 ลดความเสี่ยงการติดเชื้อทางการแพทย์ มอก.2480-2562 และ ASTMF 2100 และ NIOSH 42  CFR  Part 84

1.คุณลักษณะทั่วไปทุกรายการและการทนแรงดึง

2.การทดสอบความแตกต่างความดัน

3.การทดสอบการต้านการซึมผ่านของเหลว

4.การทดสอบการลามไฟ

5.การทดสอบการแพ้ทางผิวหนัง

6.การทดสอบการระคายเคืองทางผิวหนัง

7.การรั่วของวาล์วระบายอากาศออก

ระบบเฝ้าระวังการทดสอบระบบราง ผ่านเครือข่าย smart interactive Laboratory ดังนี้

บริการลูกค้า คู่สัญญา ทั้งในและต่างประเทศ

ชม/ติดตามการทดสอบใน LAB แบบ real time ทางโทรศัพท์มือถือ

ลดค่าใช้จ่ายเดินทางของลูกค้า ลดความเสี่ยงการแพร่กระจายโควิด-19

ทั้งนี้  วว. มุ่งนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้าไปตอบโจทย์ แก้ปัญหาเบ็ดเสร็จครบวงจร (STI for Total Solution) ให้บริการด้านการวิจัยและพัฒนาแก่ผู้ประกอบการ ทั้งในระดับ SMEs ผู้ผลิตสินค้า OTOP วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนเกษตรกร ที่มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ต้องการเพิ่มมูลค่า หรือมีความต้องการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีรูปแบบและขั้นตอนการดำเนินงานที่ครอบคลุมตั้งแต่ การรับฟังแนวความคิดของผู้ประกอบการ (idea) การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาผลิตภัณฑ์