ร่วมการประชุม 6th Asian Soil Partnership Meeting ผ่านระบบ Zoom Meeting

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 น. นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ในฐานะประธานสมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินแห่งเอเชีย (Asian Soil Partnership: ASP) พร้อมด้วย นางสาวภัทราภรณ์ โสเจยยะ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ผู้อำนวยการสำนัก/กอง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม 6th Asian Soil Partnership Meeting (ASP Meeting) ที่มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 5 กุมภาพันธ์ 2564 ร่วมกับประเทศสมาชิกจำนวน 24 ประเทศ ผ่านระบบ Zoom Meeting ณ ห้องประชุม 1214 ชั้น 2 อาคาร 6 ชั้น กรมพัฒนาที่ดิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

นางสาวเบญจพร ในฐานะประธาน ASP กล่าวว่า “แสดงความขอบคุณประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้และขอบคุณในความร่วมมือที่ผ่านมา อีกทั้งกล่าวแสดงความยินดีกับหน่วยงาน Indian Council of Agricultural Research – INDIAN INSTITUTE OF SOIL SCIENCE (ICAR-IISS) จากประเทศอินเดียที่ได้รับรางวัล King Bhumibol WSDA ซึ่งนับเป็นรางวัลที่สำคัญของโลก ในการสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของดินเพื่อความมั่นคงอาหารและการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก และแสดงความยินดีกับความสำเร็จของกลุ่มสมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินโลก (Global Soil Partnership: GSP) ในการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ SoilEX (โครงการต้นแบบการจัดการดินอย่างยั่งยืน) , SSM Protocol “

สำหรับวาระการประชุมมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

1. การนำเสนอแนวทางการดำเนินงาน GSP และงานที่กลุ่มฯ ให้ความสำคัญและต้องการผลักดัน

2. การรายงานผลการดำเนินงานและแผนการดำเนินงานของกลุ่ม ASP แต่ละประเทศในปีที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยได้รายงานผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

– การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสมกับศักยภาพ

– การดำเนินโครงการสำคัญ เช่น zoning by Agri-map การส่งเสริมเกษตรทฤษฏีใหม่เพื่อรองรับสถานการณ์โควิด เป็นต้น

– การจัดทำแผนที่ระดับประเทศด้านต่าง ๆ เช่น SOC map, Soil salinity map Soil erosion map และ Land degradation map เป็นต้น

– การเผยแพร่เอกสารของ GSP เป็นภาษาไทย เช่น กฎบัตรดินโลก ฉบับปรับปรุง แนวทางสำหรับการจัดการดินอย่างยั่งยืน หลักจรรยาบรรณสากลเพื่อการใช้และจัดการปุ๋ยอย่างยั่งยืน และคู่มือการดำเนินงานโครงการหมอดินอาสานานาชาติในระดับประเทศ

– การใช้ประโยชน์จาก SSM protocol ในการจัดทำ แปลงวิจัยเพื่อทดสอบรูปการจัดการดินอย่างยั่งยืนแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่มีการจัดการ รวมถึงการประเมินความเสื่อมโทรมของที่ดินเชื่อมโยง กับ SSM protocol

– Global Soil Doctor program โดยมีแผนจะส่งเสริมการจัดตั้งเครือข่ายหมอดินอาสาในอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

– การจัดทำ VDO การสอนวิเคราะห์ organic carbon ด้วยวิธี Walkley and Black Titration Method เพื่อเผยแพร่สู่นานาชาติ

– การเข้าร่วมจัดทำคู่มือวิเคราะห์ (SOP) Exchangeable acidity (Al and H) ในปี 2021

– การจัดตั้ง Thai Soil Laboratory Network (TSLAN)

– การรายงานการจัดงาน World Soil Day 2020 และ King Bhumibol World Soil Day Award 2020

3. การรายงานการดำเนินงานที่สำคัญของคณะทำงานสมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินโลกของทั้ง 5 สาขา (5 Pillars) ในปีที่ผ่านมา

4. รายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย (Center of Excellence for Soil Research in Asia: CESRA)

…………………