สกสว. เสนอความก้าวหน้าการส่งเสริม ววน. ปี 2563 หนุนไทยขึ้นอันดับ 36 ดัชนีชี้วัดผู้นำนวัตกรรมโลก

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)  จัดประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 ณ ตึกบัญชาการ ทําเนียบรัฐบาล โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมด้วย ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ทำหน้าที่รองประธานที่ประชุม โดยการประชุมครั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้ร่วมนำเสนอถึงความคืบการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี 2563 ล่าสุดการจัดอันดับความสามารถด้านนวัตกรรมโดยสำนักข่าวบลูมเบิร์กในชื่อ “ดัชนีผู้นำด้านนวัตกรรม” (Bloomberg Innovation Index) ในปีนี้ไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 36 ขยับขึ้นมาจากปีที่แล้ว ที่อยู่ในอันดับที่ 40 ส่วนผู้นำด้านนวัตกรรมของโลกในปีนี้ คือประเทศเกาหลีใต้

สำหรับความก้าวหน้าการส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในปี 2563 กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) โดยที่ผ่านมา สกสว. ได้จัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานในระบบ ววน. นําไปใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของประเทศ บนฐานของความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยกองทุนได้รับจัดสรรงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และมีผลสําเร็จที่ผ่านมางบประมาณด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้นําไปใช้ตอบโจทย์ของการพัฒนากําลังคน เศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างตรงตามเป้าหมาย โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศเผชิญกับวิกฤติ โควิด-19 อาทิ ได้มีการสร้างสรรค์ผลงานการพัฒนาหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อใช้ ในอุตสาหกรรมการผลิตและตรวจสอบคุณภาพหน้ากากอนามัย การผลิตชุดตรวจเชื้อโควิด-19 โดยวิธี Real- TimeRT-PCRจากน้ำลายซึ่งลดขั้นตอนการตรวจและทําให้ตรวจได้ในจํานวนที่มากขึ้น การวิจัย เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือต่อการระบาดของโรคโควิด-19 ในด้านวัสดุและเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) เครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลสนาม ห้องตรวจแยกแรงดันลบ ฯลฯ การพัฒนาศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติจนได้รับการรับรองมาตรฐานสากลด้าน การดูแล การเลี้ยง และใช้สัตว์ทดลอง ทําให้ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานสําหรับการวิจัยและทดสอบยา และวัคซีนอย่างครบถ้วนและเป็นที่น่าเชื่อถือ

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และปีงบประมาณ 2564 กองทุนส่งเสริม ววน. กําหนดแผนงานและ เป้าหมายซึ่งผ่านการพิจารณาของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ มุ่งเน้น การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้จริง และเพิ่มขีดความสามารถของภาค การผลิตและบริการบนรากฐานของการพึ่งพาตนเองแบบยั่งยืน สามารถใช้แก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อ การพัฒนาสังคมอย่างมีนัยสําคัญและสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีรองรับการดํารงชีวิตในวิถีใหม่ (New Normal) ทั้งนี้ การดําเนินงานจะให้ความสําคัญกับการบรรลุผลลัพธ์ที่มีคุณค่าตามเป้าหมาย ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน และเน้นแนวการพัฒนาที่มี “คน” เป็นศูนย์กลาง เพราะคน เป็นหัวใจสําคัญของทุกเรื่อง โดยกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจําปี งบประมาณ 2563 และ 2564 ได้รับการพิจารณาให้สอดรับกับแผนด้านวิทยาศาสตร์ฯ จะมีบทบาทสําคัญ อย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของประเทศให้บรรลุตามเป้าหมายในการแก้ไขปัญหา และขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในเรื่องที่มีความสําคัญ ประกอบด้วย

(1) การแก้ปัญหาโควิด19

(2) การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน

(3) การแก้ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

(4) การสร้างเศรษฐกิจฐานราก

ทางด้าน ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) กล่าวว่า ปัจจุบันการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมนั้น ไม่ได้หยุดอยู่ที่งานวิจัย แต่ยังมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ อย่างเช่นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 กองทุนส่งเสริม ววน. ได้ร่วมทำงานกับกระทรวงสาธารณสุข ในส่วนการวิจัยและพัฒนาวัคซีน เพื่อให้การดำเนินงานภาพรวมของประเทศเป็นไปอย่างมีเอกภาพ ทางกระทรวง อว. จึงทำหน้าที่เป็นเบื้องหลังในการให้การสนับสนุน โดยเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตนักวิจัยไทยจะสามารถผลิตวัคซีนได้เองในประเทศ นอกจากนี้ยังมีการดำเนินงานในลักษณะที่กลับคืนสู่สังคมผ่านการอบรมฝึกทักษะ การจ้างงาน ตัวอย่างเช่น โครงการ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ส่วนการเสนองบประมาณกองทุนส่งเสริม ววน. ในปี 2564 ถึงแม้จะมีตัวเลขเพิ่มขึ้น แต่จำนวนที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นงบประมาณเพื่อการลงทุนไม่ใช่รูปแบบงบประมาณรายจ่าย ซึ่งเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการที่ภาครัฐลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน