คุมเอง!! นอภ.ตะกั่วป่าสั่งปรับเกณฑ์การปฎิบัติด่านถาวรคัดกรองเชื้อร้ายโควิด-19 รอบคอบขึ้น แค่ไม่นานกรองกลุ่มเสี่ยงผ่านด่านจำนวนมาก

เมื่อวันที่ 16 มค.64 ผู้สื่อข่าวจังหวัดพังงารายงานว่า ที่บริเวณด่านตรวจคัดกรอง โควิด-19 ทับกำ ม.4 ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา มีรายงานว่าเมื่อช่วงบ่ายวานนี้ ว่าที่ ร.อ.พงศ์ศักดิ์ เวทยาวงศ์ นายอำเภอตะกั่วป่า พร้อมนายสมศักดิ์ ชูแสง ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง นายฐานันดร์ พรหมบุญแก้ว ปลัดอำเภอ ได้ไปเยี่ยมเยียนการปฏิบัติหน้าที่ประจำด่านตรวจถาวรแห่งโดยได้มีการให้ปรับปรุงระบบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ให้เข้มงวด กวดขันให้มากขึ้น โดยในช่วงระหว่างตรวจเยี่ยม จังหวัดพังงาได้ส่งช่างไปติดตั้งกล้อง วงจรปิด ณ ด่านตรวจถาวร จำนวน 2 ตัว เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่คัดกรองโควิด-19 มากขึ้น พร้อมทั้งติดตั้งเต้นท์เพิ่มพื้นที่การทำงานของ จนท.ทั้งติดตั้งเครื่องอุณหภูมิเทอร์โมสแกนวัดไข้แบบติดตั้งให้กลุ่มเสี่ยงสามารถเดินผ่านวัดได้ด้วยตัวเอง ลดความเสี่ยงของ จนท.ด้วยเพิ่มพื้นที่การบันทึกข้อมูลทามไลน์ผู้เดินทางข้ามจังหวัด กลุ่มเสี่ยงให้สะดวกกว้างขวางมากขึ้น อำนวยความสะดวกจัดชุดทำความสะอาด.เจลล้างมือ กำชับเรื่องการใส่หน้ากากอนามัย และการเส้นระยะห่าง ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อร้ายและมีรายงานว่าภายหลังการปรับปรุงเกณฑ์การตรวจคัดกรองใหม่ ทำให้การทำงานสะดวกมากขึ้นแล้ว ยังสามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางผ่านด่านได้เกือบ 100 คน จนชาวบ้านเริ่มส่งเสียงชมการทำงานของด่านคัดกรองแห่งนี้มากขึ้นแล้วที่ตั้งใจทำงานเพื่อชาวบ้านโดยก่อนหน้านี้ได้ชื่นชมระบบการตรวจคัดกรองโควิด-19 ที่ด่านรมณีย์ อ.กะปง ที่ จนท.ทุกฝ่ายร่วมกันทำงานอย่างเสียสละแม้ยังไม่มีนายอำเภอ มีแต่ปลัดอำเภออาวุโสควบคุมอำนวยความสะดวกด้านการทำงานจนได้รับคำชมว่าเจ๋งจริง ผ่านเกนฑ์ของคณะกรรมการโควิด-19 พังงา ที่มีผู้ว่าฯพังงาเป็นประธาน

ชาวพังงาจึงขอขอบคุณนายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พล.ต.ต.มนต์ชัย ศรีประเสริฐ ผบก.ภ.จว.พังงานายอำเภอทุกอำเภอ ผู้กำกับการทุก สภ. จนท.คนคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงคณะกรรมการศูนย์โควิดพังงา ช่วยดำเนินการปรับปรุงด่านคัดกรองโควิด-19 ในพื้นที่ให้ได้มตรฐานเดียวกันและเชื่อว่าการคัดกรอง ป้องกันเชื้อร้ายโควิด-19 จะทำให้ไม่ผลกระทบต่อชีวิตของคนพังงาและคน จว.อื่น ล่าสุดมีคำสั่งจังหวัดพังงาที่ 146 /2564 เรื่อง สั่งปิดสถานที่ และกำหนดมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 15) ตามที่นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีการประกาศขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 9) ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคมw.ศ. 2564 จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 นั้นเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)ได้เกิดการระบาดแบบกลุ่มก้อนขึ้นในหลายจังหวัด ทำให้ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นการติดเชื้อภายในประเทศและผู้ป่วยสะสมเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ดังนั้น เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงปลอดภัยทางด้านสาธารณสุข ระบบเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดพังงา อาศัยอำนาจตามมาตรา 22 มาตรา 35 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2548 ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม
w.ศ.2563 ข้อ 7 (1) (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564 ข้อ 5 ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพังงา ในการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพังงา ครั้งที่ 3/2564 วันที่ 14 มกราคม 2564 จึงมีคำสั่งปิดสถานที่ และกำหนดมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2919 (COVID-19)

โดยมีข้อกำหนดต่างๆในรายละเอียดของคำสั่ง รวมถึงประเด็นข้อกำหนดขัอ 2.11 ให้อำเภอตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอทับปุด อำเภอคุระบุรี อำเภอกะปง และอำเภอเกาะยาว จัดให้มีจุดตรวจหรือจุดสกัดผู้ที่เดินทางเข้ามาในขตพื้นที่จังหวัดพังงา เว้นแต่ อำเภอเมือง และอำเภอท้ายเหมือง ให้พิจารณาการตั้งจุดตรวจหรือจุดสกัดผู้ที่เดินทางเข้ามาในเขตพื้นที่จังหวัดพังงา ตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งให้ทุกอำเภอพิจารณาการตั้งจุดตรวจหรือจุดสกัดสำหรับผู้ที่เดินทางออกจากจังหวัดพังงา ตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจหรือจุดสกัดปฏิบัติ ดังนี้

(1) ตรวจวัดอุณหภูมิและสังเกตุอาการของผู้เดินทางทุกคน

(2) สอบถามเหตุผลความจำเป็นและสถานที่ปลายทางจากผู้เดินทางให้ชัดเจน

(3) แนะนำ/ขอความร่วมมือ การติดตั้งและใช้งานระบบแอปพลิเคชั่น “หมอชนะ” ของผู้เดินทาง

(4) ตรวจสอบบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตนอื่น ๆ ของผู้เดินทางที่ทางราชการออกให้ ควบคู่กับเอกสารรับรองความจำเป็นที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือเอกสารรับรองการปฏิบัติหน้าที่ที่ออกโดยผู้ประกอบการ นายจ้าง บริษัทหัวหน้าหน่วยงานของรัฐแล้วแต่กรณี

(5) ลงบันทึกข้อมูลผู้เดินทางผ่านจุดตรวจหรือจุดสกัดในสมุดบันทึกหรือระบบบันทึกข้อมูลทั้งนี้กรณีบุคคลซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วน หากมีความล่าช้าอาจจะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือเกิดความเสียหายร้ายแรงให้พิจารณายกเว้นตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าว โดยให้มีการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติไว้เป็นหลักฐานส่วนรายละเอียดข้อกำหนดอื่นๆสามารถดูได้จากประกาศของจังหวัดพังงาฉบับที่ 15
………………..
ภาพ ขอบคุณภาพจากอำเภอตะกั่วป่าบางส่วน
นายพงษ์ศักดิ์ ประทีป /โกอู๋@นักข่าวอาวุโสจังหวัดพังงา