ศูนย์แบบจำลองคุณภาพอากาศ และภูมิศาสตร์สารสนเทศ กรมควบคุมมลพิษ ขอรายงานผลคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กด้วยแบบจำลอง WRF-chem ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณ 7.00 น. ระหว่างวันที่ 12 – 14 มกราคม 2564

โดยมีรายละเอียด ดังนี้

12 ม.ค. 64:
สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในภาพรวมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดในปริมณฑลมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับวันที่ 11 ม.ค. 64 แต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และไม่มีพื้นที่ที่มีแนวโน้มฝุ่นละอองขนาดเล็กในระดับที่ควรเฝ้าระวัง
13 ม.ค. 64:
สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในภาพรวมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดในปริมณฑลมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับวันที่ 12 ม.ค. 64 แต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และมีเพียงบางพื้นที่บริเวณกรุงธนเหนือที่มีแนวโน้มฝุ่นละอองขนาดเล็กในระดับที่ควรเฝ้าระวัง


14 ม.ค. 64:
สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในภาพรวมในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ปานกลางและอาจจะเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพในบางพื้นที่ โดยพื้นที่ที่มีแนวโน้มฝุ่นละอองขนาดเล็กในระดับที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ กรุงธนเหนือ/ใต้ กรุงเทพกลาง/ใต้ และกรุงเทพตะวันออก สำหรับจังหวัดในปริมณฑลภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี มีเพียงบางพื้นที่ในจังหวัดสมุทรสาครที่มีแนวโน้มฝุ่นละอองขนาดเล็กในระดับที่ควรเฝ้าระวัง

สรุป: ใน 72 ชม. ล่วงหน้า
ในช่วง 72 ชม. ล่วงหน้าภาพรวม กทม. และปริมลฑลอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
โดยในระหว่างวันที่ 12 – 13 ม.ค. 64 คุณภาพอากาศในพื้นที่ กทม. และจังหวัดปริมลฑลทั้งหมดมีแนวโน้มสูงขึ้นแต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยอาจจะพบฝุ่นละอองขนาดเล็กสูงขึ้นเพียงบางส่วนในพื้นที่ใน กทม. บริเวณกรุงธนเหนือ ในขณะที่วันที่ 14 ม.ค. 64 คุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ปานกลางและอาจจะเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพในบางพื้นที่ โดยอาจจะพบฝุ่นละอองขนาดเล็กสูงขึ้นในพื้นที่ กรุงธนเหนือ/ใต้ กรุงเทพกลาง/ใต้ และกรุงเทพตะวันออก สำหรับจังหวัดในปริมณฑลภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี มีเพียงบางพื้นที่ในจังหวัดสมุทรสาครที่มีแนวโน้มฝุ่นละอองขนาดเล็กในระดับที่ควรเฝ้าระวัง

ปัจจัยทางสภาพอุตุนิยมวิทยาในช่วงวันที่ 12-14 ม.ค. 64 มีสภาพที่เอื้อต่อการระบายฝุ่นของพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอยู่บ้าง ทั้งในแนวระนาบและแนวดิ่ง

ซึ่งความเร็วลมในแนวระนาบที่สูงขึ้นต่อเนื่องจากวันที่ 11 ม.ค. 64 และความเข้มของแสงอาทิตย์ที่มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นส่งผลให้ช่วงวันที่ 12ม.ค. ส่งผลให้ความสามารถในการระบายฝุ่นในแนวระนาบดีขึ้นบ้าง อย่างไรก็ตามสภาพอุตุนิยมวิทยาระหว่างวันที่ 13-14 มค 64 ความเร็วลมเริ่มจะลดลงต่ำอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับพลังงานไหลเวียนในการยกตัวที่ต่ำมาก และสภาพอากาศที่นิ่ง/จมตัว ซึ่งอาจส่งผลให้วันที่ 13-14 มค 64 เริ่มมีแนวโน้มที่สถานการณ์จะสูงขึ้นได้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินจากแบบจำลอง WRF-chem

ผลการคาดการณ์สถานการณ์ประมวลผลด้วย Super Computer ของ NECTEC/สวทช

———————–