รายงานสถานการณ์น้ำ วันที่ 5 ม.ค.64

  1. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 5 ม.ค.64)
  • สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจำนวน 447 แห่ง ฯ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกัน 46,738 ล้าน ลบ.ม.
    (61% ของความจุอ่างฯ) ปริมาณน้ำใช้การได้ 22,807 ล้าน ลบ.ม. (44% ของความจุน้ำใช้การ)
  • อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของน้ำใช้การ จำนวน 3 แห่ง คือ ภูมิพล แม่มอก และวชิราลงกรณ
  • ปริมาณน้ำไหลลงอ่างและระบาย ช่วงฤดูแล้ง ปี 2563/64 ของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง (1 พ.ย.63 – ปัจจุบัน) ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 3,859.89 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจากอ่าง 3,416.05 ล้าน ลบ.ม.
  1. สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) (ข้อมูล ณ วันที่ 5 ม.ค.64)
  • ปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 11,751 ล้าน ลบ.ม. (47% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 5,055 ล้าน ลบ.ม.(28% ของความจุน้ำใช้การ)
  • ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 59 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจากอ่าง 26.82 ล้าน ลบ.ม.
  1. ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2563/64 (ข้อมูล ณ วันที่ 5 ม.ค. 64)
  • ทั้งประเทศ (1 พ.ย. 63 – 30 เม.ย. 64) แผนการจัดสรรน้ำ 16,674 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 5,096 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 31 ของแผนฯ
  • เจ้าพระยา (1 พ.ย. 63 – 30 เม.ย. 64) แผนการจัดสรรน้ำ 4,000 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 1,412 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 35 ของแผนฯ
  • แม่กลอง (1 ม.ค. 64 – 30 มิ.ย. 64) แผนการจัดสรรน้ำ 3,000 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 92 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 3 ของแผนฯ
  1. 4. แผนผลการเพาะปลูกข้าว (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ธ.ค.63)

การเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2563

  • ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 16.79 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 14.41 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 86 ของแผน เก็บเกี่ยวแล้ว 13.56 ล้านไร่
  • ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 8.1 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 6.39 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 79 ของแผน เก็บเกี่ยวแล้ว 6.11 ล้านไร่

การเพาะปลูกข้าวนาปรัง ปี 2563/64

  • ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง 1.63 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 705 ล้านไร่ แยกเป็น เพาะปลูกในแผน 0.748 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 45.89 ของแผน และเพาะปลูกนอกแผน 1.957 ล้านไร่
  • ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง – ล้านไร่ (รณรงค์งดทำนาต่อเนื่องในฤดูแล้ง ปี 2563/64) ยังคงมีการเพาะปลูก 1.957 ล้านไร่
  1. คุณภาพน้ำ วันที่ 6 ม.ค. 64 เวลา 05.00 น. : แม่น้ำเจ้าพระยา สถานีประปาสำแล จ.ปทุมธานี (ปกติ) สถานีสะพานพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี (ปกติ)
    แม่น้ำบางปะกง
    สถานีบางกระเจ็ด (ปกติ) แม่น้ำท่าจีน สถานีปากคลองจินดา (ปกติ) และ แม่น้ำแม่กลอง สถานีปากคลองดำเนินสะดวก (ปกติ)

6.กิจกรรมและการให้ความช่วยเหลือของกรมชลประทาน

  • โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพลายชุมพล สำนักงานชลประทานที่ 3 ดำเนินการขุดลอกวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำ บริเวณคลองระบายน้ำ 1-30L-1R ในเขตพื้นที่ ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ
  • โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางพลวง สำนักงานชลประทานที่ 9 ลงพื้นที่รับฟังปัญหาและร่วมแก้ไขการรับน้ำเข้าพื้นที่ เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้ง ในพื้นที่หมู่ที่ 7,8,9 และ 10 ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางเลน สำนักงานชลประทานที่ 13 นำเรือนวัตกรรมลงพื้นที่กำจัดผักตบชวาและสิ่งกีดขวางในคลองส่งน้ำ
    และระบายน้ำ ๔ขวา-นครชัยศรี ในเขตพื้นที่ตำบลหินมูล อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ
  • โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแก่งกระจาน สำนักงานชลประทานที่ 14 ดำเนินการกำจัดวัชพืชในลำห้วยแม่ประจันต์ ณ บริเวณฝายคุ้งตะเคียน ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ
  • โครงการชลประทานนราธิวาส สำนักงานชลประทานที่ 17 ดำเนินการกำจัดวัชพืชบริเวณคลองระบายน้ำพรุบาเจาะ ตำบลโคกเคียน
    อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เพื่อกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ และเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ ตลอดจนทำให้น้ำสามารถระบายออกจากพื้นที่ได้เร็วขึ้น

——————