SACICT ก้าวสู่ปีที่ 16 อย่างมั่นคง มุ่งมั่นเป็นศูนย์กลางด้านงานศิลปหัตถกรรมไทย ส่งเสริมให้เกิดความนิยมในชีวิตประจำวัน

SACICT หรือ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ดำเนินภารกิจสำคัญในการอนุรักษ์ ส่งเสริมให้เกิดการสืบสาน และต่อยอดภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทยมาตลอดระยะเวลา 15 ปี ของการดำเนินงาน และทำหน้าที่เป็นผู้ชี้ทางและสร้างโอกาสให้แก่ผู้ทำงานศิลปหัตถกรรม เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและขยายตลาดผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยให้เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้อย่างกว้างขวาง

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในรอบปี 2561 SACICT ได้ดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ “หัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบัน” หรือ Today Life’s Crafts เพื่อสร้าง การรับรู้ในคุณค่าความงามของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยว่าสามารถประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันได้เสมอ โดยให้ความสำคัญต่อการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ การเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ผู้ทำงานหัตถศิลป์ หรือ Smart Craft  การพัฒนางานศิลปหัตถกรรมด้วยความคิดสร้างสรรค์ให้มีความร่วมสมัยและเหมาะสมกับการใช้งาน หรือ Craft Studio และการสร้างความนิยมและเพิ่มช่องทางการเข้าถึง  งานศิลปหัตถกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดหรือ Craft Society

ในการดำเนินงานทั้ง 3 ด้านนี้ SACICT ให้ความสำคัญต่อการสร้างคุณค่าและค้นหาอัตลักษณ์            ที่โดดเด่นของทักษะฝีมือจากภูมิปัญญา รวมถึงการแลกเปลี่ยน ต่อยอดองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆที่ทำให้งานศิลปหัตถกรรมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการใช้งาน ในชีวิตประจำวันได้อย่างกลมกลืนสร้างความคุ้นเคย ความน่าจดจำในงานหัตถศิลป์ไทย และยังเป็นแรงบันดาลใจในการร่วมต่อยอดให้งานหัตถศิลป์ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมไทยต่อไป

ตลอดปี 2561 SACICT ได้ริเริ่มโครงการและกิจกรรมใหม่ๆ ขึ้นมากมาย อาทิ- กิจกรรม “ของรัก ของหวง : หัตถกรรมล้ำค่า รักษาไว้ให้ถึง ลูกหลาน” โดยเชิญชวนนักสะสม งานหัตถศิลป์รุ่นใหม่ๆ นำผลิตภัณฑ์ที่สะสมออกมาจัดแสดงร่วมกับผลงานสะสมของครูฯ

– การ Audition เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ผลิต ได้มีโอกาสพัฒนาผลงานตนเองสู่ระดับสากล โดยมีโอกาสนำเสนอผลงานหัตถศิลป์จากสมาชิกผ่านการ Audition ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร อาทิ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด บริษัท คิง พาวเวอร์ จำกัด และศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์

– โครงการครูพบครู เชื่อมโยงในวัฒนธรรมพื้นถิ่นระหว่างครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรมต่างถิ่น ที่ทำงานหัตถศิลป์ประเภทเดียวกัน หรือมีรากฐานคล้ายคลึงกัน        เพื่อยกระดับทักษะฝีมือครูผู้สืบสาน

– การรวบรวมครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรมจาก                ทั่วทุกภูมิภาคของไทยไว้มากที่สุด กว่า 150 ราย โดยนำมาจัดแสดงผลงานและจำหน่ายพร้อมกันที่      งานอัตลักษณ์แห่งสยาม

– CRAFTS BANGKOK เป็นงานที่ SACICT พัฒนาจากการจัดงานเทศกาลนวัตศิลป์นานาชาติ (IICF)  โดยปรับชื่องานและรูปแบบให้สอดคล้องกับแนวโน้มของตลาด และผู้บริโภคในปัจจุบันโดยนำเสนอแนวคิด Social Craft Network ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางด้านงานหัตถกรรมในหลากหลายสาขาเพื่อร่วมกันต่อยอดและส่งเสริมงานหัตถกรรม

– SACICT เพลิน Craft เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อสร้างการเรียนรู้งานหัตถกรรมในรูปแบบใหม่ที่เชิญชวน      ให้ผู้ที่ชื่นชอบ และผู้ที่สนใจงานหัตถศิลป์ได้มีโอกาสลงมือทำงานหัตถกรรมผ่านการ Workshop งานหัตถกรรมที่หลายหลาย ตามแนวคิด CRAFT THERAPY

– งาน “ชีวิตใหม่ ใต้ร่มพระบารมี” เป็นงานที่ริเริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเทิดพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และสมเด็จ          พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9

– SACICT CRAFT Fair เป็นการจัดงานครั้งแรก เพื่อสร้างการรับรู้ในงานหัตถศิลป์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย    ในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ไปสู่การทำงานร่วมกับเครือข่ายที่มีฐานลูกค้าใหม่ๆ เช่น The Mall บางแค และโคราช

– การลงนามความร่วมมือกับ 2 หน่วยงานสำคัญ ได้แก่ National Taiwan Craft Research and Development Institute (NTCRI) ไต้หวัน และ Ateliers D’Art de France สาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อขยายขอบเขตความร่วมมือในการพัฒนางานหัตถกรรมระหว่างประเทศ

– การพัฒนาเวปไซต์องค์กร โดยเพิ่มส่วนตลาดการค้า Online และ Mobile Application อาทิ SACICT Catalog  เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลสินค้า โปรโมชั่นพิเศษ ให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

– การจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรตามเส้นทางสืบทอดตำแหน่ง หรือ Carrier Path

– การนำระบบ Office Automation มาใช้ในการบริหารงานตามนโยบายรัฐบาล และรองรับ                การขับเคลื่อนองค์กรสู่ SACICT 4.0

และในปี 2562 SACICT ยังคงทำหน้าที่เป็นเข็มทิศชี้นำทางให้กับงานหัตถศิลป์ไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมก้าวสู่การเป็นองค์กรระดับประเทศที่เต็มเปี่ยมไปด้วยองค์ความรู้และเป็นศูนย์กลางด้านงานหัตถศิลป์ไทยทั้งแบบดั้งเดิมและร่วมสมัยให้กับผู้ที่สนใจในงานหัตถศิลป์ กลุ่มสมาชิกและผู้ประกอบการงานหัตถศิลป์ในประเทศไทย โดยจะมุ่งเน้นโครงการสำคัญต่างๆ ดังนี้

– พัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านงานหัตถกรรมให้อยู่ในระบบ Archive เพื่อรองรับทิศทางการพัฒนาหน่วยงานภาครัฐให้เป็นหน่วยงานที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อการศึกษาค้นคว้าได้อย่างทั่วถึงและง่ายดายมากยิ่งขึ้น

– พัฒนาศักยภาพและบ่มเพาะกลุ่มช่างหัตถศิลป์และผู้ประกอบการในวงการหัตถศิลป์ โดยเน้น            การอบรมทักษะด้าน Retelling the Detailing

– การร่วมรังสรรค์งานหัตถศิลป์ โดยเน้นที่ product Flagship ที่เป็นงานไม้ และงานผ้าพื้นถิ่น              เน้นการพัฒนางานร่วมกับกลุ่มพันธมิตร เพื่อสร้างโอกาส สร้างชื่อเสียง และต่อยอดงานหัตถศิลป์ไทย    ในเชิงพาณิชย์ Craft Co-Creation เพื่อเป็นการลดต้นทุน เพิ่มการผลิต และสร้างวัสดุหรือวัตถุดิบใหม่  ขึ้นมาทดแทน ตลอดจนการส่งเสริมให้เกิดการสร้างแบรนด์

– การแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานหัตถศิลป์สู่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ การท่องเที่ยว อาหาร ศิลปะ แฟชั่น และอื่นๆ

– ส่งเสริมให้เกิดช่องทางการเข้าถึงงานหัตถศิลป์ไทยทั้งประเภทสินค้าและบริการ ในรูปแบบ Online และ Offline

ในฐานะที่เป็น SACICT CRAFT CENTER จึงขอให้ผู้สร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ไทยทุกคนเชื่อมั่นว่า ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT นี้ จะเป็นหน่วยงานที่ยืนหยัดและ      อยู่เคียงข้างเพื่อส่งเสริมและผลักดันงานหัตถศิลป์ฝีมือคนไทยสู่ตลาดในระดับสากลต่อไป

 

***********************************