พด. เร่งขับเคลื่อนนโยบายปลูกข้าวโพดหลังนา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2561 นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3,4 และ5 ได้ร่วมประชุมหารือติดตามโครงการสานพลังประชารัฐหลังฤดูทำนาในพื้นที่ภาคอีสาน ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร เพื่อสร้างความเข้าใจนโยบายกระทรวงในการดำเนินโครงการในระดับพื้นที่

ให้เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินร่วมกับทีมงานของจังหวัดตั้งแต่กระบวนการสร้างความรู้ สร้างความเข้าใจให้แก่เกษตรกร และบทบาทสนับสนุนของภาครัฐ และเอกชน โดยให้ความสำคัญในการใช้แผนที่ในการสนับสนุนการทำงานกับ 5 เสือ เพื่อบริหารพื้นที่การเพาะปลูก การจัดการระหว่างปลูก และรวบรวมผลผลิต

เกษตรจังหวัดสกลนคร ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมในการขับเคลื่อนโครงการควรมีการวางแผนการทำงานล่วงหน้า เพื่อวางแผนการปลูกพืชหมุนเวียนหลังการปลุกพืชหลัก และให้ความสำคัญในเรื่องของการตลาด เนื่องจากโครงการมาช้า

เปิดเวทีให้สถานีพัฒนาที่ดินแต่ละจังหวัดนำเสนอผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคให้ที่ประชุมรับทราบเพื่อร่วมกันหาแนวทางการแก้ไข ทั้งนี้ในเขตภาคอีสานพบปัญหาบางพื้นที่ประสบภัยแล้ง และชลประทานไม่สามารถปล่อยน้ำเพื่อทำการเกษตรให้แก่เกษตรกรได้ เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอ

ให้ใช้แผนที่เป็นหลักในการดำเนินงานโครงการ โดยเฉพาะแผนที่พื้นฐานข้อมูลดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน สื่อสารกับหน่วยงานอื่นๆ ที่ร่วมบูรณาการเพื่อความชัดเจนในการลงพื้นที่ และการวางแผนในการทำงานขับเคลื่อนโครงการนี้ผ่านกลไกของคณะทำงานระดับจังหวัด หรือ OT

ให้เพิ่มช่องทางการสื่อสารความชัดเจนของโครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกร ซึ่งในการจัดทำโครงการนี้ต้องการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและให้ร่วมวิเคราะห์ รับฟัง ปัญหาจากสภาพพื้นที่ พร้อมแสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อปัดความเสี่ยงที่นำไปสู่การไม่ประสบความสำเร็จของโครงการ

ประโยชน์ที่ได้จากโครงการสามารถนำไปจัดทำโครงการฟื้นฟูดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียน (Cropping pattern) ซึ่งสอดคล้องกับหลักวิชาการพัฒนาที่ดินที่ไม่สนับสนุนการปลุกพืชชนิดเดียวซ้ำๆ ในพื้นที่เดียว

ให้ สพด. ประสานการทำงานกับ สพข. อย่างใกล้ชิดในกรณีที่พบปัญหาในพื้นที่ เพื่อแสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป

ทั้งนี้ขอให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ให้ความสำคัญกับการตรวจติดตามงานของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการนำแผนที่มาใช้ในการประกอบการรายงาน และใช้เป็นกรอบแนวคิดในการใช้ที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ