ซินเจนทา ใช้โอกาส “วันอาหารโลก” ชื่นชมและขอบคุณ เกษตรกรไทยทุกคน ผู้ผลิตอาหารเลี้ยงคนทั้งโลก และอยู่เบื้องหลังการขจัดความอดอยาก หิวโหย พร้อมเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่คู่กับเกษตรกรไทย นำนวัตกรรม เทคโนโลยี และความรู้ด้านการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างถูกต้อง มาช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน เสริมศักยภาพการบริหารจัดการฟาร์ม เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตอาหารเลี้ยงดูประชากรที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
อาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิต หมอพืช วัชรีภรณ์ พันธุ์ภูมิพฤกษ์ บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด หรือ ซินเจนทา กล่าวเนื่องใน วันอาหารโลก ประจำปี พ.ศ. 2561 ว่า “ซินเจนทา ในฐานะเป็นองค์กรชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์พืช และส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้เกิดความยั่งยืน มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานสนับสนุนเกษตรกรให้สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอต่อความต้องการ และต้องทำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าอาหารที่บริโภคนั้นมีความปลอดภัย ตั้งแต่ระบบการผลิตวัตถุดิบจากแปลงเกษตรกร จนถึงอาหารที่ถูกคัดสรรมาอยู่บนโต๊ะ ด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ตลอดห่วงโซ่อาหาร”
ปัจจุบัน ผู้บริโภคมีความกังวลใจเรื่องสารตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร แต่เมื่อนำหลักวิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานของ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD มาประเมินความเสี่ยงร่วมกับการบริโภคอาหารแต่ละชนิดในแต่ละวันตลอดชั่วอายุขัยของคนไทยแล้ว พบว่าค่ามาตรฐาน MRLs หรือ ค่าปริมาณสารตกค้างสูงสุดที่สามารถมีได้ กำหนดไว้ต่ำกว่าจุดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็น 100 เท่าในผู้ใหญ่ และ 1,000 เท่าในเด็ก
กรณีที่พบว่า ผลผลิตมีสารตกค้างเกินค่า MRLs ต้องพิจารณาเพิ่มเติมว่า ค่าตัวเลขที่เกินนั้น เกินจุดที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ และบริโภคผลผลิตนั้นซ้ำหรือต่อเนื่องทุกวันหรือไม่ ทั้งนี้ สามารถนำตัวเลขที่ตรวจพบมาวิเคราะห์และพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับในประเทศไทย ก็มีหน่วยงานภาครัฐที่คอยติดตาม กำกับ ดูแล เฝ้าระวัง พืชผัก อาหาร ผลไม้ และประเมินความเสี่ยงต่อการบริโภคของคนไทยอย่างใกล้ชิด รวมทั้งพบว่า ปัจจุบัน ยังสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย เช่นเดียวกับเวทีระดับโลก คณะทำงานร่วมระหว่าง องค์กรอนามัยโลก (WHO) และ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน เพื่อสร้างความไว้วางใจระหว่างผู้คนในสังคมและวิทยาศาสตร์
ขณะเดียวกัน การให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ปลูกในการใช้สารฯ อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยสูงสุด เป็นวิธีการปฏิบัติที่ทุกประเทศทั่วโลกยอมรับว่า จะช่วยลดปริมาณการใช้สารฯ ลดความเสี่ยงและอันตรายต่าง ๆ รวมถึง จะช่วยลดความกังวลของผู้บริโภคได้ด้วย
“ซินเจนทา พร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าอย่างสร้างสรรค์กับทุกภาคส่วน เพื่อใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสนับสนุนเป้าหมายของการสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยทางอาหาร ควบคู่ไปกับการช่วยเหลือเกษตรกร และส่งเสริมภาคการเกษตรของไทยให้เข้มแข็งต่อไป ดังคำกล่าวขององค์การสหประชาชาติ ที่กล่าวว่า “We can’t have a secure future of food if we don’t support our farmers. They are our hero” เกษตรกร คือ วีรบุรษตัวจริงของวันอาหารโลก” หมอพืช วัชรีภรณ์ กล่าวสรุป