รายงานสถานการณ์น้ำ โดยศูนย์ปฏิบัติการณ์น้ำอัจฉริยะ

1. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 6 ต.ค.63)

– สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจำนวน 447 แห่ง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 41,627 ล้าน ลบ.ม.
(55% ของความจุอ่างฯ) ปริมาณน้ำใช้การได้ 17,698 ล้าน ลบ.ม. (34% ของความจุน้ำใช้การ)

– อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่าง จำนวน 10 แห่ง คือ ภูมิพล แม่มอก อุบลรัตน์
ลำแชะ ลำนางรอง กระเสียว ศรีนครินทร์ วชิราลงกรณ คลองสียัด และบางพระ

– ปริมาณน้ำไหลลงอ่างและระบาย ของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง (1 พ.ค.63 – ปัจจุบัน) ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 16,074.59 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจากอ่าง 9,19 ล้าน ลบ.ม.

2. สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) (ข้อมูล ณ วันที่ 6 ต.ค.63)

– ปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 11,663 ล้าน ลบ.ม.(47% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 4,967 ล้าน ลบ.ม. (27% ของความจุน้ำใช้การ)

– ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 45 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจากอ่าง 9.02 ล้าน ลบ.ม.

3. ผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนปี 2563 (ข้อมูล ณ วันที่ 6 ต.ค.63)

– ทั้งประเทศ แผนการจัดสรรน้ำ 11,975 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 12,010 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 100

– เจ้าพระยา แผนการจัดสรรน้ำ 3,250 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 3,553 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 109

4. แผน-ผลการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2563 ในเขตชลประทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย.63)

– ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 16.79 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 13.76 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 82 ของแผน

– ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 8.1 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 6.06 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 75 ของแผน

– การเพาะปลูกพื้นที่ลุ่มต่ำบางระกำ เพาะปลูกแล้ว 265,000 ไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 265,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 100 ของพื้นที่เพาะปลูก

5. คุณภาพน้ำ วันที่ 7 ต.ค. 63 เวลา 05.00 น. : แม่น้ำเจ้าพระยา สถานีประปาสำแล จ.ปทุมธานี (ปกติ) สถานีสะพานพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี (ปกติ)
แม่น้ำบางปะกง สถานีบางกระเจ็ด (ปกติ) แม่น้ำท่าจีน สถานีปากคลองจินดา (ปกติ) และ แม่น้ำแม่กลอง สถานีปากคลองดำเนินสะดวก (ปกติ)

6. กิจกรรมและการให้ความช่วยเหลือของกรมชลประทาน

นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านบำรุงรักษา) รักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยนายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดี ในฐานะโฆษกกรมชลประทาน ประชุมติดตามสถานการณ์ตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่องหย่อมความกดอากาศต่ำ กำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในวันที่ 7-9 ตุลาคม 2563 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ โดย กรมชลประทาน ได้เตรียมความพร้อมให้โครงการชลประทานเฝ้าระวังติดตามปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง รวมทั้งกำจัดวัชพืชไม่ให้กีดขวางทางน้ำ อีกทั้งให้จัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ ประจำไว้ในพื้นที่เสี่ยงแล้ว ทั้งนี้จากการติดตามสถานการณ์น้ำของเขื่อนขุนด่านปราการชล ได้สั่งการให้ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่จากส่วนความปลอดภัยเขื่อนของกรมชลประทาน ลงพื้นที่ไปตรวจสอบสภาพความมั่นคงของเขื่อนขุนด่านฯอย่างละเอียด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทุกภาคส่วนว่า เขื่อนขุนด่านปราการชล ยังมีความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย และสามารถเก็บกักน้ำเพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งหน้านี้อย่างเต็มศักยภาพ

– โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบรรลือ สำนักงานชลประทานที่ 11 ดำเนินการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา ณ ปตร.คลองลําลี หมู่ที่ 8 ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องน้ำให้กับประชาชน และเป็นการ
เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

– โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชัณสูตร สำนักงานชลประทานที่ 12 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ โดยใช้เครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง สูบน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร ช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งคลี อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

– โครงการจ้างแรงงานชลประทาน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ 2563 แผนจำนวน 88,838 คน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ปัจจุบัน ณ วันที่ 30 กันยายน  2563 จ้างแรงงานไปแล้ว 91,159 คน คิดเป็นร้อยละ 61

………………………………………………………………..