โรคเริม งูสวัด แมลงกัดต่อย..บรรเทาด้วย “พญายอ”

พญายอ หรือพญาปล้องทอง หรือเสลดพังพอนตัวเมีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Clinacanthus nutans (Burm. f.) Lindau HC วงศ์ ACANTHACEAE และยังมีชื่ออื่นๆ ตามแต่ละท้องถิ่น ได้แก่) ผักมันไก) ผักลิ้นเขียดและพญาปล้องคำ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นและกิ่งก้านเกลี้ยงเป็นมัน สูงประมาณ 3 เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงตรงกันข้าม รูปขอบขนานหรือขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 7-9 เซนติเมตร โคน ใบมน ปลายใบแหลม ก้านใบยาว 0.5 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด กลีบดอกสีส้มแดงเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 2 ปาก ยาว 3-4 เซนติเมตร ไม่ติดฝัก

สรรพคุณแผนโบราณ ใบพญายอ ใช้บรรเทาอาการอักเสบจากพิษแมลงกัดต่อย เช่น ตะขาบ แมงป่อง ผึ้ง ต่อ แตน เป็นต้น (1)

สารสำคัญ ใบพญายอประกอบด้วยสารออกฤทธิ์สำคัญ ได้แก่ สารกลุ่ม monoglycosyl diglycerides,glycoglycerolipids และอนุพันธ์ของ chlorophylls (2-4)

การศึกษาทางคลินิก มีรายงานระบุว่าครีมสารสกัดพญายอ มีผลในการบรรเทาอาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเริม (Herpes simplex) พบว่าแผลของผู้ป่วยที่ใช้ครีมพญายอตกสะเก็ดได้เร็วกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก(5) และยังพบว่ามีผลในการบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคเริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ ชนิดเป็นซ้ำได้(6) รวมทั้งมีผลในการบรรเทาอาการของผูป่วยที่ติดเชื้อไวรัสงูสวัด (Varicella zoster; H. zoster) โดยพบว่าครีมพญายอช่วยลดระยะเวลาการตกสะเก็ดของแผลได้เร็วกว่า และลดอาการปวดได้ดีกว่ากลุ่มยาหลอก (7) ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา สารสกัดใบพญายอมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเริมในหลอดทดลอง (8-10) และตำรับยาครีมพญายอมีฤทธิ์ช่วยในการสมานแผลได้(11) วิธีการเตรียมอย่างง่าย ใช้ใบสด ตำขยี้ทาบริเวณที่มีอาการผื่นคัน และแมลงกัดต่อย (12)

ข้อบ่งใช้ สำหรับรักษากลุ่มอาการทางผิวหนัง ตามข้อมูลการใช้ สมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

ยาพญายอ ตัวยาสำคัญ สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของใบพญายอแห้ง โดยมีปริมาณแตกต่างกันตามรูปแบบยาดังนี้

– ยาครีม ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์  (95 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอร้อยละ 4-5 โดยน้ำหนัก (w/w)

– สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์(70 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอในกลีเซอรีนร้อยละ 2.5-4 โดยน้ำหนัก (w/w)

– ยาโลชัน ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอร้อยละ 1.25 โดยน้ำหนัก (w/w)

– ยาขี้ผึ้ง ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (95 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอ ร้อยละ 4-5 โดยน้ำหนัก (w/w)

– ยาทิงเจอร์ ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอสด ร้อยละ 10 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร (w/v)

ข้อบ่งใช้

– ยาครีม บรรเทาอาการของเริมและงูสวัด

– สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) รักษาแผลในปาก (aphthous ulcer) แผลจากการฉายรังสีและเคมีบำบัด

– ยาโลชั่น บรรเทาอาการผดผื่นคัน ลมพิษ ตุ่มคัน

– ยาขี้ผึ้ง บรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมจากแมลงกัดต่อย

– ยาทิงเจอร์ บรรเทาอาการของเริม และงูสวัด

ขนาดและวิธีใช้

ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 5 ครั้ง (13)

เอกสารอ้างอิง

  1. นันทวัน บุณยะประภัศร อรนุช โชคชัยเจริญพร (บรรณาธิการ). สมุนไพรไม้พื้นบ้าน เล่ม 3. กรุงเทพฯ:

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2542.

  1. Kongkaew C, Chaiyakunapruk N. Efficacy of Clinacanthus nutans extracts in patients with

herpes infection: systematic review and meta-analysis of randomised clinical trials.

Complement Ther Med 2011;19(1):47-53.

  1. Janwitayanuchit W, Suwanborirux K, Patarapanich C, Pummangura S, Lipipun V, Vilaivan
  2. Synthesis and anti-herpes simplex viral activity of monoglycosyl diglycerides.

Phytochemistry 2003;64(7):1253-64.

  1. Sakdarat S, Shuyprom A, Pientong C, Ekalaksananan T, Thongchai S. Bioactive

constituents from the leaves of Clinacanthus nutans Lindau. Bioorg Med Chem.

2009;17(5):1857-60.

  1. Jayavasu C, Balachandra K, Sangkitporn S, Maharongrengrat A, Thawatsupha P, Bunjob

M, et al. Clinical trial in the treatment of genital herpes patients with Clinacanthus

nutans extract. Com Dis J 1992;18(3):152-61.

  1. สมชาย แสงกิจพร, เครือวัลย์ พลจันทร, ปราณี ธวัชสุภา, มาลี บรรจบ, ปราณี ชวลิตธำรง. การรักษา

ผู้ป่วยโรคเริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ ชนิดเป็นซ้ำด้วยยาจากสารสกัดของใบพญายอ. วารสารกรมการแพทย์

1993;18(5):226-31.

  1. Sangkitporn S, Chaiwat S, Balachandra K, Na-Ayudhaya TD, Bunjob M, Jayavasu C.

Treatment of Herpes zoster with Clinacanthus nutans (bi phaya yaw) extract. J Med

Assoc Thai 1995;78(11):624-7.

  1. Alam A, Ferdosh S, Ghafoor K, Hakim A, Juraimi AS, Khatib A, et al. Clinacanthus nutans:

a review of the medicinal uses, pharmacology and phytochemistry. Asian Pac J Trop

Med 2016;9(4):402-9.

  1. Pongmuangmul S, Phumiamorn S, Sanguansermsri P, Wongkattiya N, Fraser IH,

Sanguansermsri D. Anti-herpes simplex virus activities of monogalactosyl diglyceride and

digalactosyl diglyceride from Clinacanthus nutans, a traditional Thai herbal medicine.

Asian Pac J Trop Biomed 2016;6(3):192–7.

  1. Kunsorn P, Ruangrungsi N, Lipipun V, Khanboon A, Rungsihirunrat K, Chaijaroenkul W. The

identities and anti-herpes simplex virus activity of Clinacanthus nutans and

Clinacanthus siamensis. Asian Pac J Trop Biomed 2013;3(4):284-90.

  1. Aslam MS, Ahmad MS, Mamat AS, Ahmad MZ, Salam F. Antioxidant and wound healing

activity of polyherbal fractions of Clinacanthus nutans and Elephantopus scaber. Evid

Based Complement Alternat Med 2016;2016:1-15.

  1. ปัจจุบัน เหมหงษา, พรรณี ลิ้มสวัสดิ์, รุจินาถ อรรถสิษฐ, อรุณลักษณ์ รัตนสาลี, บรรณาธิการ. สมุนไพร

ในงานสาธารณสุขมูลฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน;

2542.

  1. บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2559 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบคนเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2560]; จาก:

http://www.lpnh.go.th/newlp/wpcontent/uploads/2013/10/nlem2016_announcement_r

atchakitcha120459_20160412.pdf

 

ขอบคุณข้อมูลจาก MED HERB GURU โดยธิดารัตน์ จันทร์ดอน สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์     มหาวิทยาลัยมหิดล