วันพุธที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๓ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จัดโครงการมอบตราสัญลักษณ์ผู้ผลิตที่มีมาตรฐานปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณที่ ๙๖.๕% โดยมีเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ดร. ธนกร วังบุญคงชนะ) เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมมอบใบประกาศเกียรติคุณให้กับผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ผลิตทองรูปพรรณ พร้อมด้วยเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (พล.ต.ต.ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดโครงการฯ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องระบุข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าประเภททองรูปพรรณ โดยมีรายละเอียดชื่อประเภท หรือชนิดของทองรูปพรรณ ในกรณีที่เป็นทองรูปพรรณที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วยชื่อ และสถานที่ประกอบการหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้ผลิตเพื่อขายหรือของผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อขายแล้วแต่กรณีปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณ
โดยระบุหน่วยเป็นกะรัตหรือเปอร์เซ็นต์ หรือร้อยละ หรือใช้สัญลักษณ์ K หรือ % แทนก็ได้ น้ำหนักทองรูปพรรณ ระบุหน่วยเป็นกรัม หรือใช้สัญลักษณ์ ก หรือ g แทนก็ได้ และราคาให้ระบุเป็นเงินสกุลไทย และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นหรือใช้สัญลักษณ์ของสกุลเงินแทนก็ได้ และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ ๒) กำหนดให้ระบุราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณขั้นต่ำ ตามที่สมาคมค้าทองคำประกาศ โดยผู้ประกอบการจะต้องระบุข้อมูลดังกล่าวที่ตรงต่อความเป็นจริง ไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความข้าใจผิดในสาระสำคัญของสินค้า แต่จากการกำหนดให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณนั้น พบว่าผู้ผลิตจะมีวิธีการผลิตที่หลากหลายเป็นผลให้ทองรูปพรรณมีปริมาณความบริสุทธิ์แตกต่างกัน ประกอบกับได้มีผู้บริโภคร้องเรียนเกี่ยวกับการรับซื้อคืนทองรูปพรรณที่ไม่ตรงกับข้อความบนฉลากสินค้า
ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าว สคบ.จึงร่วมกับสมาคมค้าทองคำจัดทำโครงการจัดระเบียบปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณที่ ๙๕% ขึ้น โดยได้ดำเนินการมาแล้ว ๔ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๖ และครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑ มีอายุการให้การรับรอง ๒ ปี
โดยได้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างทองรูปพรรณจากโรงงานผู้ผลิตทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ไปทำการตรวจสอบด้วยวิธีเอ็กชเรย์ (x-ay) และหลอมละลาย (fire assay) เพื่อตรวจสอบหาปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณที่สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ และกำหนดเกณฑ์มาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณหลังหลอมละลาย โดยกำหนดให้ทองรูปพรรณที่มีน้ำหนักตั้งแต่ ๑๐ กรัมขึ้นไปต้องมีปริมาณความบริสุทธิ์หลังหลอมละลายไม่ต่ำกว่า ๙๓.๕ % และทองรูปพรรณที่มีน้ำหนักต่ำกว่า ๑๐ กรัมต้องมีปริมาณความบริสุทธิ์หลังหลอมละลายไม่ต่ำกว่า ๙๒.๕ % จากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่าผู้ผลิตทองรูปพรรณมีการผลิตทองรูปพรรณเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
รายชื่อร้านผู้ผลิต ประจำปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕ | |
ลำดับ | บริษัท |
๑. | บริษัท ห้างขายทองจินฮั้วเฮง จำกัด |
๒. | บริษัท ห้างขายทอง โต๊ะกังเยาวราช จำกัด |
๓. | บริษัท เลี่ยงเส็งเฮงพาณิชย์ จำกัด |
๔. | ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างค้าทองยู่หลงกิมกี่ |
๕. | บริษัท จูเจียบเซ้ง จำกัด |
๖. | บริษัท หลูชั่งเฮงเฮงฮวด จำกัด |
๗. | บริษัท เล่งหงษ์ จำกัด |
๘. | บริษัท ซินคีเชียงค้าส่ง จำกัด |
๙. | บริษัท ห้างขายทองทองใบเยาวราช (1988) จำกัด |
๑๐. | บริษัท ค้าทองโซวเซ่งเฮง จำกัด |
๑๑. | บริษัท แม่ทองสุก โกลด์สมิท จำกัด |
๑๒. | บริษัท ห้างขายทองเลี่ยงเซ่งเฮง จำกัด |
๑๓. | บริษัท ห้างทอง จิ้นไถ่เฮง จำกัด |
๑๔. | บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) |
๑๕. | บริษัท ห้างทอง เจียบเซ่งเฮง จำกัด |
๑๖. | บริษัท ไฟน์โกลด์ จำกัด |
๑๗. | บริษัท ทอง 24 กะรัต จำกัด |
๑๘. | บริษัท ห้างทองลายกนก จำกัด |
๑๙. | บริษัท เจริญช่างทอง จำกัด |
๒๐. | บริษัท แต้จิบฮุย จำกัด |
๒๑. | บริษัท วิทเฮงหลี 2003 จำกัด |
๒๒. | บริษัท ห้างขายทองฮั่วเซ่งเฮง จำกัด |
๒๓. | บริษัท ห้างทองซินเจี้ยเชียง จำกัด |
๒๔. | บริษัท ห้างทองน่ำเชียง จำกัด |
๒๕. | บริษัท บ้านช่างทอง จำกัด |
๒๖. | บริษัท ห้างทอง คุณฮั้ว (หล่อ) จำกัด |
๒๗. | บริษัท เพชรทองคำ โกลด์ท็อป จำกัด |
๒๘. | บริษัท ห้างทองทองสวย จำกัด |
๒๙. | บริษัท ห้างค้าทอง หลูชั้งฮวด (2498) จำกัด |
๓๐. | บริษัท ประพันธ์ (กิมฮวด) จำกัด |
๓๑. | บริษัท สยามโกลด์แกลอรี่ จำกัด |
๓๒. | ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทองเล้งหงษ์ |
๓๓. | บริษัท ห้างค้าทองหลูยู่ฮวด จำกัด |
๓๔. | บริษัท ไดนามิค ดี-พลัส จำกัด |
๓๕. | บริษัท ห้างทองบ้วนฮั่วล้ง (2490) จำกัด |
๓๖. | ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างทองย่งฮะฮวดซุ่นกี่ |
๓๗. | บริษัท ห้างทองชั้งเซ้ง จำกัด |
๓๘. | บริษัท ห้างขายทอง ทองใบเยาวราช (สี่แยกวัดตึก) จำกัด |
๓๙. | บริษัท ห้างขายทองโง้วชั้งเซ้ง จำกัด |
๔๐. | บริษัท ชมพู (บ้วนหลี) จำกัด |
๔๑. | บริษัท ห้างทองไท้เส็งเฮง จำกัด |
๔๒. | ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างทองเคว่งหลี |
๔๓. | บริษัท ห้างขายทองอั้งเซ่งเฮง จำกัด |
๔๔. | ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างทองพุดเซ้ง |
๔๕. | บริษัท ขายทองแต้จิ้งเส็ง พาณิชย์ จำกัด |
๔๖. | บริษัท จินชอง จำกัด |
๔๗. | บริษัท ห้างทอง จิบฮุย จำกัด |
๔๘. | บริษัท ห้างทอง ลี้น่ำฮวด จำกัด |
๔๙. | บริษัท ห้างทองเจี๊ยฮั้ว จำกัด |
๕๐. | บริษัท ทองไพโรจน์ จำกัด |
๕๑. | ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างทองก้วยเซ่งเฮง |
๕๒. | บริษัท ห้างทองหยงเตียน จำกัด |
๕๓. | บริษัท ทองเปียเซ้ง จำกัด |
๕๔. | บริษัท ที.พี.เอช (2004) จำกัด |
๕๕. | บริษัท ห้างขายทองนำเกียเฮง จำกัด |
๕๖. | บริษัท ทองเล่งหงษ์กรุ๊ป จำกัด |
๕๗. | บริษัท ชายน์นิ่งโกลด์ จิวเวลรี่ จำกัด |
๕๘. | บริษัท โกลด์สยาม จำกัด |
๕๙. | บริษัท ห้างทองเอ็งฮงฮวด จำกัด |
๖๐. | บริษัท วายแอลจี พรีเชียส จำกัด |
๖๑. | บริษัท ห้างขายทองโง้วกิ้มเล้ง จำกัด |
๖๒. | บริษัท บางกอกแอสเสย์ ออฟฟิส จำกัด |
๖๓. | บริษัท ไอริส โกลด์ จำกัด |
๖๔. | บริษัท โกลบอล ริช กรุ๊ป จำกัด |
๖๕. | บริษัท เอ็ดดี้โกลด์ พราว1 จำกัด |
………………………………………………………