ทส. เตรียมรับมืออทกภัยพร้อมให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ประชาชนผู้ประสบภัยทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

จากสถานการณ์ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของทุกภาคทั่วประเทศไทย และกรมอุตุนิยมวิทยาได้มี ประกาศ “พายุระดับ ๒ (ดีเปรสชัน ซินลาก: SINLAKU)” ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2563 ระบุว่า เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันที่ 9 ส.ค. 2563 พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน ซินลาก) มีศูนย์กลางอยู่ที่ อ.ปัว จ.น่าน ประเทศไทย มี ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กําลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ

คาดว่า พายุนี้จะอ่อนกําลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ (พายุระดับ 1) ในวันที่ 3 สิงหาคม 2563 อนึ่ง ร่องมรสุมกําลังแรงพาด ผ่านภาคเหนือเข้าสู่พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน ซินลาก) ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกําลังแรง

ทําให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ซึ่งอาจทําให้เกิดน้ําท่วมฉับพลันและน้ําป่าไหลหลาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดําเนินชีวิตของประชาชนสร้างความเสียหายกับชีวิต ทรัพย์สิน ความเป็นอยู่ และการประกอบ อาชีพของประชาชน รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัย

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากสถานการณ์ ดังกล่าว นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความห่วงใยต่อสวัสดิ์ ภาพของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ จึงได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัด ทส. ดําเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือ อุทกภัยและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเต็มกําลัง ดังนี้

1. กรมทรัพยากรน้ําและกรมทรัพยากรน้ําบาดาล จัดเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องสูบน้ําพร้อมท่อ ส่ง รถแจกจ่ายน้ําเคลื่อนที่ พร้อมกําลังพลเพื่อช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งจัดเตรียมน้ําสําหรับอุปโภค-บริโภคเพื่อ แจกจ่ายแก่ประชาชน

2. กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดเตรียมยานพาหนะ รถยนต์ และเรือ พร้อมกําลังพลสําหรับให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย

3. สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ จัดตั้งศูนย์ อํานวยการและประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยระดับพื้นที่ของ ทส. เพื่อประสานงานหน่วยงานใน สังกัด ทส. ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัด

4. กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 เฝ้าระวัง ติดตาม และประสานงานกับพื้นที่ในการจัดการขยะและแก้ไขปัญหาน้ําเสียจากน้ําท่วมขัง

ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ดังกล่าว สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์อํานวยการและประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยระดับพื้นที่ของ ทส. ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

นายจตุพร กล่าวเพิ่มเติมว่า จากเหตุการณ์ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ทําให้ พื้นที่จังหวัดเลยเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายอย่างมากและมีผู้ได้รับความเดือดร้อนเป็นจํานวนมาก กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดย สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเลย ได้ประสาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ ทส. และเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมดําเนินการให้ ความช่วยเหลือแก่ประชาชน บ้านสูบ ม.1 และหมู่ 4 ต.น้ําสวย อําเภอเมือง จังหวัดเลย

โดยนําน้ำดื่มสะอาดและอาหารไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัย และนํากําลังพลลงพื้นที่ไปทําความสะอาดบ้านเรือน วัด โรงเรียน สถานที่ราชการ เก็บขยะที่ลอยมากับน้ำ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนโดยเร่งด่วน

…………………………………………………..