1. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ค. 63)
– สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจำนวน 447 แห่ง (ขนาดใหญ่ 35 แห่ง ขนาดกลาง 412 แห่ง) มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 31,779 ล้าน ลบ.ม. (42% ของความจุอ่างฯ) ปริมาณน้ำใช้การได้ 8,136 ล้าน ลบ.ม. (16% ของความจุน้ำใช้การ)
– อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่าง 30 จำนวน ภูมิพล สิริกิติ์ แม่งัดสมบูรณ์ชล แม่กวงอุดมธารา กิ่วคอหมา แควน้อยบำรุงแดน แม่มอก ห้วยหลวง น้ำพุง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำปาว ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง สิรินธร ป่าสักชลสิทธิ์ ทับเสลา กระเสียว ศรีนครินทร์ วชิราลงกรณ์ ขุนด่านปราการชล คลองสียัด บางพระ ประแสร์ นฤบดินทรจินดา แก่งกระจานและปราณบุรี
2. สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ค. 63)
ปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 7,460 ล้าน ลบ.ม. (30% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 764 ล้าน ลบ.ม. (4% ของความจุน้ำใช้การ)
3. ผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนปี 2562/63 (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ค. 63)
– ทั้งประเทศ แผนการจัดสรรน้ำ 11,975 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 5,628 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 47
– เจ้าพระยา แผนการจัดสรรน้ำ 3,250 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 1,994 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 61
4. แผน-ผลการเพาะปลูกข้าวนาปี 2562/63 ในเขตชลประทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ก.ค. 63)
– ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 16.79 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 6.97 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 42 ของแผนฯ เก็บเกี่ยวแล้ว – ล้านไร่
– ลุ่มเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 8.10 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 2.63 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 32 ของแผนฯ เก็บเกี่ยวแล้ว – ล้านไร่
5. คุณภาพน้ำ กรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำในคลองพระยาบรรลือ 84 เครื่อง และคลองพระพิมล 18 เครื่อง รวม 102 เครื่อง เร่งการระบายน้ำที่ผันมาจากแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำท่าจีนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อช่วยในการผลักดันลิ่มความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่สามารถสูบมาใช้ในการผลิตน้ำประปา ปัจจุบันค่าความเค็มสูงสุดของวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 อยู่ที่ 0.29 กรัม/ลิตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการผลิตน้ำประปา (ค่ามาตรฐานในการผลิตน้ำประปาไม่เกิน 0.5 กรัม/ลิตร)
6. มาตรการลดผลกระทบ จากสถานการณ์ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีน้อยในปีนี้ กรมชลประทานได้มีมาตรการเพื่อช่วยลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นโดย
6.1 บริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่ชลประทาน โดยใช้ระบบชลประทาน ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
6.2 ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้กับทุกภาคส่วนถึงเรื่องสถานการณ์น้ำที่มีในปัจจุบัน เพื่อให้เกษตรกรรับรู้ถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากการขาดแคลนน้ำและความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตร
6.3 สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือในเรื่องของการอุปโภค-บริโภค ไม้ผล และไม้ยืนต้น
6.4 จ้างแรงงานภาคเกษตรเพื่อซ่อมแซมปรับปรุงบำรุงรักษาอาคารชลประทาน
6.5 มอบหมายเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดในทุกพื้นที่
7. ผลการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำเพื่อช่วยเหลือภัยแล้ง ปี 2562/63 กรมชลประทาน (วันที่ 3 กรกฎาคม – 9 กรกฎาคม 2563)
กรมชลประทานเตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยแล้งในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 จำนวน 1,935 เครื่อง ปัจจุบันช่วยเหลือรถบรรทุกน้ำ จำนวน 26 คัน รวมปริมาณน้ำ 754,000 ลิตร เครื่องสูบน้ำ จำนวน 77 เครื่อง และเครื่องจักรสนับสนุนอื่นๆ จำนวน 145 หน่วย (ข้อมูลจากสำนักงานชลประทาน/โครงการชลประทาน)
…………………………………………………