กระทรวง อว. ร่วมกับภาคีเครือข่าย แถลงความสําเร็จ “ร่วมมือ ร้อยใจ รอดภัยแล้ง”

Featured Video Play Icon

วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ชั้น 3 อาคารอุดมศึกษา 1 สํานักงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนศรีอยุธยา ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบัน สารสนเทศทรัพยากรน้ํา (องค์การมหาชน) เอสซีจี มูลนิธิบัวหลวง และธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) จัดแถลง ความสําเร็จ “ร่วมมือ ร้อยใจ รอดภัยแล้ง” โครงการแก้ปัญหาภัยแล้งที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมมือกัน สนับสนุนให้ชุมชนลุกขึ้นแก้ปัญหาภัยแล้งด้วยตนเอง โดยน้อมนําแนวพระราชดําริมาเป็นแนวทางบริหารจัดการน้ําของ ชุมชน จนสามารถรอดพ้นภัยแล้งในปี 2563 ซึ่งรุ่นแรงที่สุดในรอบ 40 ปีได้

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธาน กรรมการกิตติมศักดิ์สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ํา เปิดเผยว่า สภาพฝนปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากในอดีตมากทําให้ มีความเสี่ยงในการเกิดน้ําท่วมและขาดแคลนน้ําเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะปีนี้ ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง รุนแรงมากที่สุดในรอบหลายสิบปี หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน จึงได้ร่วมมือกันสนับสนุนให้ชุมชนลุกขึ้น แก้ปัญหาภัยแล้งด้วยตนเอง โดยน้อมนําแนวพระราชดําริและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการน้ําของชุมชน เริ่มจากความเข้าใจ สภาพพื้นที่ ปริมาณน้ําที่มีน้ําที่ต้องการใช้ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับปริมาณน้ําอย่างสมดุล และต้องเข้าถึงความรู้ในการบริหารจัดการน้ํา ซึ่งมีทีมงานของมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และ สสน. ร่วมค้นหาชุมชนที่มีศักยภาพเป็นพี่เลี้ยงให้ความรู้ ด้านการบริหารจัดการน้ําและการใช้เทคโนโลยีมาช่วยวางแผนพัฒนาแหล่งน้ํา และยังร่วมกับเอสซีจี มูลนิธิบัวหลวงและ ธนาคารกรุงเทพ สนับสนุนการพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ํา ช่วยให้ชุมชนแก้ภัยแล้งได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน

“ในวันนี้มีหลายชุมชนที่เป็นตัวอย่างการจัดการน้ําตามแนวพระราชดําริ และเป็นบทพิสูจน์ความสําเร็จจากการ น้อมนําหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทําให้ชุมชนลุกขึ้นมาพึ่งพาตนเองรู้จักหาความรู้ในการบริหารจัดการน้ํา ลงมือทําจนสําเร็จได้ เป็นการสร้างหนทางรอดภัยแล้ง ได้ด้วยตนเอง” ดร.สุเมธ กล่าว

นางวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อํานวยการ Enterprise Brand Management Office เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจี ได้น้อมนําแนวพระราชดําริการบริหารจัดการน้ํา ด้วยการสร้างฝายชะลอน้ํา ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมรอบโรงงาน ปูนลําปาง ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าและคืนสมดุลสู่ระบบนิเวศ พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมชักชวนชุมชนร่วมสร้าง ฝายชะลอน้ํา ทั้งได้ร่วมมือกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ํา (องค์การ มหาชน) ส่งเสริมชุมชนเรียนรู้การบริหารจัดการน้ําอย่างยั่งยืน ตลอดระยะเวลา 13 ปี ที่เอสซีจีและเครือข่ายได้ทํางานด้านการจัดการน้ําร่วมกัน ก่อเกิดผลสําเร็จที่เป็นรูปธรรม ฝายชะลอน้ําที่ได้สร้างไปแล้วซึ่งจะครบ 100,000 ฝาย ในปลายปีนี้ ได้เปลี่ยนแปลงป่าที่แห้งแล้ง ให้เป็นป่าเขียวขจี มีความอุดมสมบูรณ์ และมีปริมาณน้ํามากพอสําหรับทําเกษตร มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ชุมชนมีความเข้มแข็ง ร่วมกันดูแลชุมชนให้ยั่งยืนพัฒนาต่อยอดเป็นการสร้างรายได้ต่างๆ อาทิ โฮมสเตย์ วิสาหกิจชุมชน รวมถึงการขายออนไลน์ ชาวบ้าน จึงไม่ต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดไปทํางานในเมือง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม จากปัญหาภัยแล้งที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เอสซีจีจึงได้สานต่อแนวทางดังกล่าวสู่โครงการ “เอสซีจี ร้อยใจ 108 ชุมชน รอดภัยแล้ง” เพื่อส่งเสริมให้ 108 ชุมชนที่ประสบภัยแล้ง ลุกขึ้นมาร่วมมือกันแก้ภัยแล้งด้วยตัวเอง ด้วยการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสํารวจและจัดทําแหล่งน้ําในพื้นที่ โดยมีชุมชนแกนนําของอุทกพัฒน์ฯ และ เอสซีจีร่วมเป็นพี่เลี้ยง ภายในระยะเวลา 2 ปี ในงบประมาณ 30 ล้านบาท กว่า 3 เดือนที่ได้เริ่มดําเนินโครงการฯ ทีมงาน ได้เข้าไปส่งเสริม 56 ชุมชน ในจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง ทําให้มีน้ําสํารองสามารถกระจายและแบ่งปันน้ําได้อย่างเพียงพอ ต่อความต้องการอุปโภค-บริโภค ในช่วงหน้าแล้งนี้ |

“เมื่อนับรวมตั้งแต่ปีที่เอสซีจีได้เริ่มโครงการบริหารจัดการน้ําถึงปัจจุบัน มีชุมชนสามารถเอาชนะภัยแล้งนําไปสู่ การบริหารจัดการน้ําอย่างยั่งยืนรวม 70 ชุมชน 16,200 ครัวเรือน ใน 28 จังหวัด มีปริมาณกักเก็บน้ํารวมถึง 26.4 ล้าน ลบ.ม. และมีพื้นที่เกษตรที่ได้รับประโยชน์รวม 45,300 ไร่ ปัจจัยความสําเร็จเกิดจากคนในชุมชนใช้หลัก “ความรู้ คู่คุณธรรม” มีความรักและสามัคคี ลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหาร่วมกัน และมีคุณธรรมแบ่งปันใช้น้ําอย่างเป็นธรรม รวมถึงการ ความรู้ผสานการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อแก้ภัยแล้ง ที่สําคัญคนในชุมชนยังเป็นพี่เลี้ยง เผื่อแผ่ แบ่งปันความรู้ และ ประสบการณ์การบริหารจัดการน้ํา เพื่อสร้างแรงบันดาลใจไปยังชุมชนต่างๆ อย่างกว้างขวาง ” นางวีนัส กล่าว

สําหรับผลความสําเร็จในการแก้ภัยแล้งปี 2563 ภายใต้โครงการเอสซีจีร้อยใจ 108 ชุมชน รอดภัยแล้ง และโครงการบัวหลวงร่วมชุมชนแก้ภัยแล้ง ดําเนินการรวม 78 ชุมชน ใน 27 จังหวัด พื้นที่การเกษตร 10,223 ไร่ มีปริมาณน้ําเพิ่มขึ้นกว่า 10 ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งเป็นน้ําเพื่อการเกษตร 1.22 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ําบริโภค 0.3 ล้านลูกบาศก์เมตร และอุปโภค 8.57 ล้านลูกบาศก์เมตร มีผู้รับประโยชน์ 13,618 ครัวเรือน หรือ 42,414 ราย